What causes the free mind? (1)
English translation by Bhikkhu Sujato
At Savatthi. “Bhikkhus, a bhikkhu sees as impermanent form which is actually impermanent: that is his right view. Seeing rightly, he experiences revulsion. With the destruction of delight comes the destruction of lust; with the destruction of lust comes the destruction of delight. With the destruction of delight and lust the mind is liberated and is said to be well liberated.
“A bhikkhu sees as impermanent feeling which is actually impermanent … perception which is actually impermanent … volitional formations which are actually impermanent … consciousness which is actually impermanent: that is his right view…. With the destruction of delight and lust the mind is liberated and is said to be well liberated.”
… “Bhikkhus, attend carefully to form. Recognize the impermanence of form as it really is. When a bhikkhu attends carefully to form and recognizes the impermanence of form as it really is, he experiences revulsion towards form. With the destruction of delight comes the destruction of lust; with the destruction of lust comes the destruction of delight. With the destruction of delight and lust the mind is liberated and is said to be well liberated.
“Bhikkhus, attend carefully to feeling … to perception … to volitional formations … to consciousness…. With the destruction of delight and lust the mind is liberated and is said to be well liberated.”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ1 จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นสัญญาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง … ภิกษุเห็นสังขารอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นวิญญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย … เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย …
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/63/103.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//63
https://etipitaka.com/read/pali/17/63
1 นันทิ = ความยินดี, ความพอใจ, ความเพลิดเพลิน