Seeing the six external sights as suffering, rebirth will be ended. (2)
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, sights are suffering. The cause and condition that gives rise to sights is also suffering. Since sights are produced by what is suffering, how could they be happiness?
Sounds …
Smells …
Tastes …
Touches …
Thoughts are suffering. The cause and condition that gives rise to thoughts is also suffering. Since thoughts are produced by what is suffering, how could they be happiness?
Seeing this, a learned noble disciple grows disillusioned with sights, sounds, smells, tastes, touches, and thoughts. Being disillusioned, desire fades away. When desire fades away they’re freed. When they’re freed, they know they’re freed.
They understand: ‘Rebirth is ended, the spiritual journey has been completed, what had to be done has been done, there is no return to any state of existence.’”
ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
เสียงเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้เสียงเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ เสียงที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
กลิ่นเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้กลิ่นเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ กลิ่นที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
รสเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รสเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รสที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้โผฏฐัพพะเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เกิดจากสิ่งเป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
ธรรมเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้ธรรมเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ ธรรมที่เกิดจากสิ่งเป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรม เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี สฬา. สํ. 18/164/225.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//164
https://etipitaka.com/read/pali/18/164