Giving up unskillful qualities competing against death.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, when mindfulness of death is developed and cultivated it’s very fruitful and beneficial. It culminates in the deathless and ends with the deathless.
And how is mindfulness of death developed and cultivated to be very fruitful and beneficial, to culminate in the deathless and end with the deathless? As day passes by and night draws close, a mendicant reflects: ‘I might die of many causes. A snake might bite me, or a scorpion or centipede might sting me. And if I died from that it would stop my practice. Or I might stumble off a cliff, or get food poisoning, or suffer a disturbance of bile, phlegm, or piercing winds. Or I might be attacked by humans or non-humans. And if I died from that it would stop my practice.’ That mendicant should reflect: ‘Are there any bad, unskillful qualities that I haven’t given up, which might be an obstacle to me if I die tonight?’
Suppose that, upon checking, a mendicant knows that there are such bad, unskillful qualities. Then in order to give them up they should apply outstanding enthusiasm, effort, zeal, vigor, perseverance, mindfulness, and situational awareness.
Suppose your clothes or head were on fire. In order to extinguish it, you’d apply intense enthusiasm, effort, zeal, vigor, perseverance, mindfulness, and situational awareness. In the same way, in order to give up those bad, unskillful qualities, that mendicant should apply outstanding enthusiasm …
But suppose that, upon checking, a mendicant knows that there are no such bad, unskillful qualities. Then that mendicant should meditate with rapture and joy, training day and night in skillful qualities.
Or else, as night passes by and day draws close, a mendicant reflects: ‘I might die of many causes. A snake might bite me, or a scorpion or centipede might sting me. And if I died from that it would stop my practice. Or I might stumble off a cliff, or get food poisoning, or suffer a disturbance of bile, phlegm, or piercing winds. Or I might be attacked by humans or non-humans. And if I died from that it would stop my practice.’ That mendicant should reflect: ‘Are there any bad, unskillful qualities that I haven’t given up, which might be an obstacle to me if I die today?’
Suppose that, upon checking, a mendicant knows that there are such bad, unskillful qualities. Then in order to give them up they should apply outstanding enthusiasm, effort, zeal, vigor, perseverance, mindfulness, and situational awareness.
Suppose your clothes or head were on fire. In order to extinguish it, you’d apply intense enthusiasm, effort, zeal, vigor, perseverance, mindfulness, and situational awareness. In the same way, in order to give up those bad, unskillful qualities, that mendicant should apply outstanding enthusiasm …
But suppose that, upon checking, a mendicant knows that there are no such bad, unskillful qualities. Then that mendicant should meditate with rapture and joy, training day and night in skillful qualities. Mindfulness of death, when developed and cultivated in this way, is very fruitful and beneficial. It culminates in the deathless and ends with the deathless.”
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืนเวียนมา ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูอาจฉกเราก็ได้ แมงป่องอาจต่อยเราก็ได้ ตะขาบอาจกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น ความตายก็จะมีแก่เรา นั่นเป็นอันตรายของเรา เราอาจพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วอาจไม่ย่อย น้ำดีอาจกำเริบ เสมหะอาจกำเริบ ลมมีพิษดังศาสตราของเราอาจกำเริบ พวกมนุษย์อาจทำร้ายเรา พวกอมนุษย์อาจทำร้ายเรา เพราะเหตุนั้น ความตายก็จะมีแก่เรา นั่นเป็นอันตรายของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งจะทำอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละลงไปในคืนนี้ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้มีอยู่ ภิกษุนั้น พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนคนมีไฟไหม้ที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะ เขาพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับไฟที่ไหม้เสื้อผ้าหรือไหม้ศีรษะนั้นเสีย.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะทำอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละลงไปในคืนนี้ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อกลางคืนสิ้นไป กลางวันเวียนมา ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูอาจฉกเราก็ได้ แมงป่องอาจต่อยเราก็ได้ ตะขาบอาจกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น ความตายก็จะมีแก่เรา นั่นเป็นอันตรายของเรา เราอาจพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วอาจไม่ย่อย น้ำดีอาจกำเริบ เสมหะอาจกำเริบ ลมมีพิษดังศาสตราของเราอาจกำเริบ พวกมนุษย์อาจทำร้ายเรา พวกอมนุษย์อาจทำร้ายเรา เพราะเหตุนั้น ความตายก็จะมีแก่เรา นั่นเป็นอันตรายของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งจะทำอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละลงไปในวันนี้ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้มีอยู่ ภิกษุนั้น พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนคนมีไฟไหม้ที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะ เขาพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับไฟที่ไหม้เสื้อผ้า หรือไหม้ศีรษะนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า อกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะทำอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละลงไปในวันนี้ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
-บาลี อฏฺฐก. อํ. 23/331/171.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//331,
https://etipitaka.com/read/pali/23/331