The Buddha has a gradual process in teaching and training. (Gaṇakamoggallānasutta)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in the Eastern Monastery, the stilt longhouse of Migāra’s mother. Then the brahmin Moggallāna the Accountant went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“Master Gotama, in this stilt longhouse we can see gradual progress down to the last step of the staircase. Among the brahmins we can see gradual progress in learning the chants. Among archers we can see gradual progress in archery. Among us accountants, who earn a living by accounting, we can see gradual progress in mathematics. For when we get an apprentice we first make them count: ‘One one, two twos, three threes, four fours, five fives, six sixes, seven sevens, eight eights, nine nines, ten tens.’ We even make them count up to a hundred. Is it possible to similarly describe a gradual training, gradual progress, and gradual practice in this teaching and training?”
“It is possible, brahmin. Suppose a deft horse trainer were to obtain a fine thoroughbred. First of all he’d make it get used to wearing the bit. In the same way, when the Realized One gets a person for training they first guide them like this: ‘Come, mendicant, be ethical and restrained in the monastic code, conducting yourself well and seeking alms in suitable places. Seeing danger in the slightest fault, keep the rules you’ve undertaken.’
When they have ethical conduct, the Realized One guides them further: ‘Come, mendicant, guard your sense doors. When you see a sight with your eyes, don’t get caught up in the features and details. If the faculty of sight were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, practice restraint, protect the faculty of sight, and achieve restraint over it. When you hear a sound with your ears … When you smell an odor with your nose … When you taste a flavor with your tongue … When you feel a touch with your body … When you know a thought with your mind, don’t get caught up in the features and details. If the faculty of mind were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, practice restraint, protect the faculty of mind, and achieve its restraint.’
When they guard their sense doors, the Realized One guides them further: ‘Come, mendicant, eat in moderation. Reflect properly on the food that you eat: ‘Not for fun, indulgence, adornment, or decoration, but only to sustain this body, to avoid harm, and to support spiritual practice. In this way, I shall put an end to old discomfort and not give rise to new discomfort, and I will live blamelessly and at ease.’
When they eat in moderation, the Realized One guides them further: ‘Come, mendicant, be committed to wakefulness. Practice walking and sitting meditation by day, purifying your mind from obstacles. In the evening, continue to practice walking and sitting meditation. In the middle of the night, lie down in the lion’s posture—on the right side, placing one foot on top of the other—mindful and aware, and focused on the time of getting up. In the last part of the night, get up and continue to practice walking and sitting meditation, purifying your mind from obstacles.’
When they are committed to wakefulness, the Realized One guides them further: ‘Come, mendicant, have mindfulness and situational awareness. Act with situational awareness when going out and coming back; when looking ahead and aside; when bending and extending the limbs; when bearing the outer robe, bowl and robes; when eating, drinking, chewing, and tasting; when urinating and defecating; when walking, standing, sitting, sleeping, waking, speaking, and keeping silent.’
When they have mindfulness and situational awareness, the Realized One guides them further: ‘Come, mendicant, frequent a secluded lodging—a wilderness, the root of a tree, a hill, a ravine, a mountain cave, a charnel ground, a forest, the open air, a heap of straw.’ And they do so.
After the meal, they return from almsround, sit down cross-legged with their body straight, and establish mindfulness right there. Giving up desire for the world, they meditate with a heart rid of desire, cleansing the mind of desire. Giving up ill will and malevolence, they meditate with a mind rid of ill will, full of compassion for all living beings, cleansing the mind of ill will. Giving up dullness and drowsiness, they meditate with a mind rid of dullness and drowsiness, perceiving light, mindful and aware, cleansing the mind of dullness and drowsiness. Giving up restlessness and remorse, they meditate without restlessness, their mind peaceful inside, cleansing the mind of restlessness and remorse. Giving up doubt, they meditate having gone beyond doubt, not undecided about skillful qualities, cleansing the mind of doubt.
They give up these five hindrances, corruptions of the heart that weaken wisdom. Then, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, they enter and remain in the first absorption, which has the rapture and bliss born of seclusion, while placing the mind and keeping it connected. As the placing of the mind and keeping it connected are stilled, they enter and remain in the second absorption, which has the rapture and bliss born of immersion, with internal clarity and confidence, and unified mind, without placing the mind and keeping it connected. And with the fading away of rapture, they enter and remain in the third absorption, where they meditate with equanimity, mindful and aware, personally experiencing the bliss of which the noble ones declare, ‘Equanimous and mindful, one meditates in bliss.’ Giving up pleasure and pain, and ending former happiness and sadness, they enter and remain in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness.
That’s how I instruct the mendicants who are trainees—who haven’t achieved their heart’s desire, but live aspiring to the supreme sanctuary. But for those mendicants who are perfected—who have ended the defilements, completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own goal, utterly ended the fetters of rebirth, and are rightly freed through enlightenment—these things lead to blissful meditation in the present life, and to mindfulness and awareness.”
When he had spoken, Moggallāna the Accountant said to the Buddha, “When his disciples are instructed and advised like this by Master Gotama, do all of them achieve the ultimate goal, extinguishment, or do some of them fail?”
“Some succeed, while others fail.”
“What is the cause, Master Gotama, what is the reason why, though extinguishment is present, the path leading to extinguishment is present, and Master Gotama is present to encourage them, still some succeed while others fail?”
“Well then, brahmin, I’ll ask you about this in return, and you can answer as you like. What do you think, brahmin? Are you skilled in the road to Rājagaha?”
“Yes, I am.”
“What do you think, brahmin? Suppose a person was to come along who wanted to go to Rājagaha. He’d approach you and say: ‘Sir, I wish to go to Rājagaha. Please point out the road to Rājagaha.’ Then you’d say to them: ‘Here, mister, this road goes to Rājagaha. Go along it for a while, and you’ll see a certain village. Go along a while further, and you’ll see a certain town. Go along a while further and you’ll see Rājagaha with its delightful parks, woods, meadows, and lotus ponds.’ Instructed like this by you, they might still take the wrong road, heading west. But a second person might come with the same question and receive the same instructions. Instructed by you, they might safely arrive at Rājagaha. What is the cause, brahmin, what is the reason why, though Rājagaha is present, the path leading to Rājagaha is present, and you are there to encourage them, one person takes the wrong path and heads west, while another arrives safely at Rājagaha?”
“What can I do about that, Master Gotama? I am the one who shows the way.”
“In the same way, though extinguishment is present, the path leading to extinguishment is present, and I am present to encourage them, still some of my disciples, instructed and advised like this, achieve the ultimate goal, extinguishment, while some of them fail. What can I do about that, brahmin? The Realized One is the one who shows the way.”
When he had spoken, Moggallāna the Accountant said to the Buddha, “Master Gotama, there are those faithless people who went forth from the lay life to homelessness not out of faith but to earn a livelihood. They’re devious, deceitful, and sneaky. They’re restless, insolent, fickle, scurrilous, and loose-tongued. They do not guard their sense doors or eat in moderation, and they are not committed to wakefulness. They don’t care about the ascetic life, and don’t keenly respect the training. They’re indulgent and slack, leaders in backsliding, neglecting seclusion, lazy, and lacking energy. They’re unmindful, lacking situational awareness and immersion, with straying minds, witless and stupid. Master Gotama doesn’t live together with these.
But there are those gentlemen who went forth from the lay life to homelessness out of faith. They’re not devious, deceitful, and sneaky. They’re not restless, insolent, fickle, scurrilous, and loose-tongued. They guard their sense doors and eat in moderation, and they are committed to wakefulness. They care about the ascetic life, and keenly respect the training. They’re not indulgent or slack, nor are they leaders in backsliding, neglecting seclusion. They’re energetic and determined. They’re mindful, with situational awareness, immersion, and unified minds; wise, not stupid. Master Gotama does live together with these.
Of all kinds of fragrant root, spikenard is said to be the best. Of all kinds of fragrant heartwood, red sandalwood is said to be the best. Of all kinds of fragrant flower, jasmine is said to be the best. In the same way, Master Gotama’s advice is the best of contemporary teachings.
Excellent, Master Gotama! Excellent! As if he were righting the overturned, or revealing the hidden, or pointing out the path to the lost, or lighting a lamp in the dark so people with good eyes can see what’s there, Master Gotama has made the Teaching clear in many ways. I go for refuge to Master Gotama, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งในที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏว่ามีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ แม้ในโครงสร้างของบันไดชั้นล่าง พระโคดมผู้มีเจริญ แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏว่ามีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องการเล่าเรียน พระโคดมผู้เจริญ แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏว่ามีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องการใช้อาวุธ พระโคดมผู้เจริญ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ ก็ปรากฏว่ามีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว ในเบื้องต้น ก็จะให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้าหก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ดแปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย พระโคดมผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ พระองค์สามารถหรือไม่หนอ ที่จะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับเหมือนอย่างนั้น.
พราหมณ์ ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับได้เหมือนกัน พราหมณ์ เปรียบเหมือนผู้ชำนาญในการฝึกม้า ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว ในเบื้องต้น ย่อมฝึกให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงฝึกอย่างอื่นๆ ให้ยิ่งขึ้นไป พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกมาแล้ว ในเบื้องต้น ตถาคตย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
พราหมณ์ เมื่อใดภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ เธอเห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือตา ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา เธอฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือหู ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือหู ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือหู เธอรู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจมูก ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือจมูก ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจมูก เธอรู้รสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือลิ้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือลิ้น ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือลิ้น เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือกาย ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือกาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือกาย เธอรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือใจ ถึงความสำรวมอินทรีย์คือใจ.
พราหมณ์ เมื่อใดภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ คือ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคอาหาร มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อประเทืองผิว มิใช่เพื่อจะตกแต่ง แต่บริโภคเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยหวังว่า จักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ทำเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ ความที่ร่างกายไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจักมีแก่เรา.
พราหมณ์ เมื่อใดภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะแล้ว ตถาคต ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือ ตลอดทั้งวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยาม (ยามต้น) แห่งราตรี ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดมัชฌิมยาม (ยามกลาง) แห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้น ตลอดปัจฉิมยาม (ยามปลาย) แห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง.
พราหมณ์ เมื่อใดภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ เป็นผู้รู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
พราหมณ์ เมื่อใดภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า มาเถิด ภิกษุ เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่าง มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า นี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.
พราหมณ์ ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า คำสอนที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
พราหมณ์ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกโมคคัลลานะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ทุกๆ รูปได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ หรือว่าบางพวกไม่ได้บรรลุ.
พราหมณ์ สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ.
พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่นิพพานก็ยังตั้งอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังตั้งอยู่ พระโคดมผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่ แต่สาวกของพระโคดมผู้เจริญ ที่พระโคดมกล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกได้บรรลุ อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ.
พราหมณ์ เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร จงตอบอย่างนั้น พราหมณ์ ท่านจักสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทางไปสู่เมืองราชคฤห์มิใช่หรือ.
ใช่แล้ว พระโคดมผู้เจริญ.
พราหมณ์ มีบุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหาท่านและกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด ดังนี้ ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า มาเถิดท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นครู่หนึ่งแล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นครู่หนึ่งจักเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ จักเห็นป่าอันน่ารื่นรมย์ จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ของเมืองราชคฤห์ ดังนี้ บุรุษนั้นอันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงกันข้ามไป ต่อมา มีบุรุษคนที่สอง ผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหาท่านและกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด ดังนี้ ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า มาเถิดท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นครู่หนึ่งแล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นครู่หนึ่งจักเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ จักเห็นป่าอันน่ารื่นรมย์ จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ของเมืองราชคฤห์ ดังนี้ บุรุษนั้นอันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี พราหมณ์ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอกก็ยังตั้งอยู่ แต่ทำไมบุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.
พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น.
พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น ที่นิพพานก็ยังตั้งอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่ แต่สาวกแม้เรากล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ พราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไรได้เล่า เพราะเราเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ไม่มีศรัทธา มีความเลี้ยงชีวิตเป็นข้อประสงค์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเหลวไหล เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพยิ่งในสิกขา มีความประพฤติเป็นไปเพื่อมักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางทราม ทอดธุระในความปวิเวก เกียจคร้าน ละเลยความเพียร มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวกและคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลเหล่านั้น.
ส่วนกุลบุตรทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้ศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนเจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตัว ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเหลวไหล เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น มุ่งความเป็นสมณะ มีความเคารพยิ่งในสิกขา มีความประพฤติไม่เป็นไปเพื่อมักมาก มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในทางทราม ไม่ทอดธุระในความปวิเวก เป็นผู้ปรารภความเพียร มีส่งตนไปในธรรม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวกและคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญ ย่อมอยู่ร่วมกับกุลบุตรเหล่านั้น.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบรรดารากไม้ที่มีกลิ่นหอม เขายกย่องว่ากฤษณาเป็นเลิศ บรรดาแก่นไม้ที่มีกลิ่นหอม เขายกย่องว่าแก่นจันทน์แดงเป็นเลิศ บรรดาดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม เขายกย่องว่าดอกมะลิเป็นเลิศ ฉันใดก็ฉันนั้น โอวาทของพระโคดมผู้เจริญ นับว่าเป็นเลิศกว่าอัชชธรรม1ทั้งหลาย.
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี อุปริ. ม. 14/81/93.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//81
https://etipitaka.com/read/pali/14/81
1 อัชชธรรม = ธรรมซึ่งมีอยู่ขณะนี้ หรือธรรมที่เผยแผ่กันอยู่ในทุกวันนี้