Four kinds of overflowing merit that are incalculable and immeasurable. (3)
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these four kinds of overflowing merit, overflowing goodness that nurture happiness. What four? It’s when a noble disciple has experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha …
Furthermore, a noble disciple is wise. They have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. This is the fourth kind of overflowing merit, overflowing goodness that nurtures happiness. These are the four kinds of overflowing merit, overflowing goodness that nurture happiness.
When a noble disciple has these four kinds of overflowing merit and goodness, it’s not easy to measure how much merit they have by saying that this is the extent of their overflowing merit, overflowing goodness that nurtures happiness. It’s simply reckoned as an incalculable, immeasurable, great mass of merit.”
That is what the Buddha said. Then the Holy One, the Teacher, went on to say:
“One who desires merit, grounded in the skillful,
develops the path to realize the deathless.
Once they’ve reached the heart of the teaching,
delighting in ending,
they don’t tremble at the approach
of the King of Death.”
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการเหล่านี้ อันนำความสุขมาให้ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในกรณีนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๑ อันนำความสุขมาให้.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว เป็นสิ่งที่จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๒ อันนำความสุขมาให้.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๓ อันนำความสุขมาให้.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลประการที่ ๔ อันนำความสุขมาให้.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการ อันนำความสุขมาให้.
ภิกษุทั้งหลาย การถือประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการเหล่านี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศลนี้ นับว่าเป็นกองบุญใหญ่ที่ไม่อาจนับได้ ไม่อาจประมาณได้.
ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งอยู่ในกุศล ย่อมเจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตะ
ผู้นั้นบรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ)
ย่อมไม่หวั่นไหวในเมื่อมัจจุราชมาถึง.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/507/1615.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//507
https://etipitaka.com/read/pali/19/507