Dakkhiṇāvibhaṅgasutta (The purifying a religious donation.)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying in the land of the Sakyans, near Kapilavatthu in the Banyan Tree Monastery.
Then Mahāpajāpati Gotamī approached the Buddha bringing a new pair of garments. She bowed, sat down to one side, and said to the Buddha, “Sir, I have spun and woven this new pair of garments specially for the Buddha. May the Buddha please accept this from me out of compassion.”
When she said this, the Buddha said to her, “Give it to the Saṅgha, Gotamī. When you give to the Saṅgha, both the Saṅgha and I will be honored.”
For a second time …
For a third time, Mahāpajāpatī Gotamī said to the Buddha, “Sir, I have spun and woven this new pair of garments specially for the Buddha. May the Buddha please accept this from me out of compassion.”
And for a third time, the Buddha said to her, “Give it to the Saṅgha, Gotamī. When you give to the Saṅgha, both the Saṅgha and I will be honored.”
When he said this, Venerable Ānanda said to the Buddha, “Sir, please accept the new pair of garments from Mahāpajāpatī Gotamī. Sir, Mahāpajāpatī was very helpful to the Buddha. As his aunt, she raised him, nurtured him, and gave him her milk. When the Buddha’s birth mother passed away, she nurtured him at her own breast.
And the Buddha has been very helpful to Mahāpajāpatī. It is owing to the Buddha that Mahāpajāpatī has gone for refuge to the Buddha, the teaching, and the Saṅgha. It’s owing to the Buddha that she refrains from killing living creatures, stealing, committing sexual misconduct, lying, and taking alcoholic drinks that cause negligence. It’s owing to the Buddha that she has experiential confidence in the Buddha, the teaching, and the Saṅgha, and has the ethics loved by the noble ones. It’s owing to the Buddha that she is free of doubt regarding suffering, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation. The Buddha has been very helpful to Mahāpajāpatī.”
“That’s so true, Ānanda. When someone has enabled you to go for refuge, it’s not easy to repay them by bowing down to them, rising up for them, greeting them with joined palms, and observing proper etiquette for them; or by providing them with robes, almsfood, lodgings, and medicines and supplies for the sick.
When someone has enabled you to refrain from killing, stealing, sexual misconduct, lying, and alcoholic drinks that cause negligence, it’s not easy to repay them …
When someone has enabled you to have experiential confidence in the Buddha, the teaching, and the Saṅgha, and the ethics loved by the noble ones, it’s not easy to repay them …
When someone has enabled you to be free of doubt regarding suffering, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation, it’s not easy to repay them by bowing down to them, rising up for them, greeting them with joined palms, and observing proper etiquette for them; or by providing them with robes, almsfood, lodgings, and medicines and supplies for the sick.
Ānanda, there are these fourteen religious donations to individuals. What fourteen? One gives a gift to the Realized One, the perfected one, the fully awakened Buddha. This is the first religious donation to an individual. One gives a gift to a Buddha awakened for themselves. This is the second religious donation to an individual. One gives a gift to a perfected one. This is the third religious donation to an individual. One gives a gift to someone practicing to realize the fruit of perfection. This is the fourth religious donation to an individual. One gives a gift to a non-returner. This is the fifth religious donation to an individual. One gives a gift to someone practicing to realize the fruit of non-return. This is the sixth religious donation to an individual. One gives a gift to a once-returner. This is the seventh religious donation to an individual. One gives a gift to someone practicing to realize the fruit of once-return. This is the eighth religious donation to an individual. One gives a gift to a stream-enterer. This is the ninth religious donation to an individual. One gives a gift to someone practicing to realize the fruit of stream-entry. This is the tenth religious donation to an individual. One gives a gift to an outsider who is free of sensual desire. This is the eleventh religious donation to an individual. One gives a gift to an ordinary person who has good ethical conduct. This is the twelfth religious donation to an individual. One gives a gift to an ordinary person who has bad ethical conduct. This is the thirteenth religious donation to an individual. One gives a gift to an animal. This is the fourteenth religious donation to an individual.
Now, Ānanda, gifts to the following persons may be expected to yield the following returns. To an animal, a hundred times. To an unethical ordinary person, a thousand. To an ethical ordinary person, a hundred thousand. To an outsider free of sensual desire, 10,000,000,000. But a gift to someone practicing to realize the fruit of stream-entry may be expected to yield incalculable, immeasurable returns. How much more so a gift to a stream-enterer, someone practicing to realize the fruit of once-return, a once-returner, someone practicing to realize the fruit of non-return, a non-returner, someone practicing to realize the fruit of perfection, a perfected one, or a Buddha awakened for themselves? How much more so a Realized One, a perfected one, a fully awakened Buddha?
But there are, Ānanda, seven religious donations bestowed on a Saṅgha. What seven? One gives a gift to the communities of both monks and nuns headed by the Buddha. This is the first religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift to the communities of both monks and nuns after the Buddha has finally become extinguished. This is the second religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift to the Saṅgha of monks. This is the third religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift to the Saṅgha of nuns. This is the fourth religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift, thinking: ‘Appoint this many monks and nuns for me from the Saṅgha.’ This is the fifth religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift, thinking: ‘Appoint this many monks for me from the Saṅgha.’ This is the sixth religious donation bestowed on a Saṅgha. One gives a gift, thinking: ‘Appoint this many nuns for me from the Saṅgha.’ This is the seventh religious donation bestowed on a Saṅgha.
In times to come there will be members of the spiritual family merely by virtue of wearing ocher cloth around their necks; but they are unethical and of bad character. People will give gifts to those unethical people in the name of the Saṅgha. Even then, I say, a religious donation bestowed on the Saṅgha is incalculable and immeasurable. But I say that there is no way a personal offering can be more fruitful than one bestowed on a Saṅgha.
Ānanda, there are these four ways of purifying a religious donation. What four? There’s a religious donation that’s purified by the giver, not the recipient. There’s a religious donation that’s purified by the recipient, not the giver. There’s a religious donation that’s purified by neither the giver nor the recipient. There’s a religious donation that’s purified by both the giver and the recipient.
And how is a religious donation purified by the giver, not the recipient? It’s when the giver is ethical, of good character, but the recipient is unethical, of bad character.
And how is a religious donation purified by the recipient, not the giver? It’s when the giver is unethical, of bad character, but the recipient is ethical, of good character.
And how is a religious donation purified by neither the giver nor the recipient? It’s when both the giver and the recipient are unethical, of bad character.
And how is a religious donation purified by both the giver and the recipient? It’s when both the giver and the recipient are ethical, of good character. These are the four ways of purifying a religious donation.”
That is what the Buddha said. Then the Holy One, the Teacher, went on to say:
“When an ethical person with trusting heart
gives a proper gift to unethical persons,
trusting in the ample fruit of deeds,
that offering is purified by the giver.
When an unethical and untrusting person,
gives an improper gift to ethical persons,
not trusting in the ample fruit of deeds,
that offering is purified by the receivers.
When an unethical and untrusting person,
gives an improper gift to unethical persons,
not trusting in the ample fruit of deeds,
I declare that gift is not very fruitful.
When an ethical person with trusting heart
gives a proper gift to ethical persons,
trusting in the ample fruit of deeds,
I declare that gift is abundantly fruitful.
But when a passionless one gives to the passionless
a proper gift with trusting heart,
trusting in the ample fruit of deeds,
that’s truly the best of material gifts.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่งในที่สมควร พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด.
เมื่อพระนางทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า โคตมี เธอจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อเธอถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นการได้บูชาทั้งเราและสงฆ์.
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด.
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาค ก็ได้ตรัสกับพระนางปชาบดีโคตรมีว่า โคตมี เธอจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อเธอถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นการได้บูชาทั้งเราและสงฆ์.
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด.
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาค ก็ได้ตรัสกับพระนางปชาบดีโคตรมีว่า โคตมี เธอจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อเธอถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นการได้บูชาทั้งเราและสงฆ์.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงมีอุปการะมากแก่พระผู้มีพระภาค พระนางเป็นพระมาตุจฉา (น้า หรือป้า) ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้ทรงบำรุงเลี้ยงดู ให้พระผู้มีพระภาคเสวยน้ำนม แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางอาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ พระนางอาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต เป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พระนางอาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว พระนางอาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงได้เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยในเหตุให้เกิดทุกข์ หมดความสงสัยในความดับของทุกข์ หมดความสงสัยในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของทุกข์ ภันเต แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ดังนี้.
อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เราไม่กล่าวการกระทำเหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม การถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยากับอุปกรณ์ที่ใช้รักษาโรค) บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต เป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เราไม่กล่าวการกระทำเหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม การถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เราไม่กล่าวการกระทำเหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม การถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยในเหตุให้เกิดทุกข์ หมดความสงสัยในความดับของทุกข์ หมดความสงสัยในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของทุกข์ เราไม่กล่าวการกระทำเหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม การถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.
อานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายเจาะจงบุคคล) มี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ1 นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
ให้ทานในอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
ให้ทานในสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
ให้ทานในโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑
ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.
อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิกทั้ง ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณานับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในโสดาบัน ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในสกทาคามี ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในอนาคามี ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ ไม่ต้องกล่าวถึงการให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.
อานนท์ ก็ทักษิณาที่ให้แล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
เผดียงสงฆ์ (แจ้งต่อสงฆ์) ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.
อานนท์ ก็ในกาลอันเป็นอนาคต จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะ (จีวร) พันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น อานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทาน ว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายใดๆ เลย.
อานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ
อานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก และไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก และบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในข้อนี้ทายกมีศีล มีกัลยาณธรรม (ธรรมงาม) ส่วนปฏิคาหก เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป อานนท์ อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในข้อนี้ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป ส่วนปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อานนท์ อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.
อานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก และไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในข้อนี้ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป ส่วนปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเป็นบาป อานนท์ อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.
อานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก และบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อานนท์ อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก.
อานนท์ อย่างนี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.
ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์
ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่ามีผลไพบูลย์
ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ
ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.
-บาลี อุปริ. ม. 14/456/706.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//456
https://etipitaka.com/read/pali/14/456
1 บาลีฉบับภาษาอังกฤษเป็น ปจฺเจกพุทฺเธ