The reason why some people are regarded as furious or sweet-natured.
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Then the chief named Fury went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
“What is the cause, sir, what is the reason why some people are regarded as furious, while others are regarded as sweet-natured?”
“Take someone who hasn’t given up greed. So they get annoyed by others, and they show it. They’re regarded as furious. They haven’t given up hate. So they get annoyed by others, and they show it. They’re regarded as furious. They haven’t given up delusion. So they get annoyed by others, and they show it. They’re regarded as furious. This is the cause, this is the reason why some people are regarded as furious.
But take someone who has given up greed. So they don’t get annoyed by others, and don’t show it. They’re regarded as sweet-natured. They’ve given up hate. So they don’t get annoyed by others, and don’t show it. They’re regarded as sweet-natured. They’ve given up delusion. So they don’t get annoyed by others, and don’t show it. They’re regarded as sweet-natured. This is the cause, this is the reason why some people are regarded as sweet-natured.”
When he said this, the chief named Fury said to the Buddha, “Excellent, sir! Excellent! As if he were righting the overturned, or revealing the hidden, or pointing out the path to the lost, or lighting a lamp in the dark so people with good eyes can see what’s there, the Buddha has made the teaching clear in many ways. I go for refuge to the Buddha, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. From this day forth, may the Buddha remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
ครั้งนั้น นายบ้านนามว่าจัณฑะ (ดุร้าย) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีภาคแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในกรณีนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในกรณีนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม1.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า คามณี บุคคลบางคนในกรณีนี้ ยังละราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ยังละโทสะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.
คามณี นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในกรณีนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุร้าย.
คามณี อนึ่ง บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละราคะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นจึงถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.
คามณี นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในกรณีนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าจัณฑะได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี สฬา. สํ. 18/376/586.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//376
https://etipitaka.com/read/pali/18/376
1 แปลตามพระไตรปิฎกฉบับสมาคมบาลีปกรณ์