A fool’s suffering.
English translation by Bhikkhu Sujato
“These are the three characteristics, signs, and manifestations of a fool. What three? A fool thinks poorly, speaks poorly, and acts poorly. If a fool didn’t think poorly, speak poorly, and act poorly, then how would the astute know of them, ‘This fellow is a fool, a bad person’? But since a fool does think poorly, speak poorly, and act poorly, then the astute do know of them, ‘This fellow is a fool, a bad person’.
A fool experiences three kinds of suffering and sadness in the present life.
Suppose a fool is sitting in a council hall, a street, or a crossroad, where people are discussing what is proper and fitting. And suppose that fool is someone who kills living creatures, steals, commits sexual misconduct, lies, and uses alcoholic drinks that cause negligence. Then that fool thinks, ‘These people are discussing what is proper and fitting. But those bad things are found in me and I am seen in them!’ This is the first kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Furthermore, a fool sees that the kings have arrested a bandit, a criminal, and subjected them to various punishments—whipping, caning, and clubbing; cutting off hands or feet, or both; cutting off ears or nose, or both; the ‘porridge pot’, the ‘shell-shave’, the ‘demon’s mouth’, the ‘garland of fire’, the ‘burning hand’, the ‘grass blades’, the ‘bark dress’, the ‘antelope’, the ‘meat hook’, the ‘coins’, the ‘caustic pickle’, the ‘twisting bar’, the ‘straw mat’; being splashed with hot oil, being fed to the dogs, being impaled alive, and being beheaded. Then that fool thinks, ‘The kinds of deeds for which the kings inflict such punishments— those things are found in me and I am seen in them! If the kings find out about me, they will inflict the same kinds of punishments on me!’ This is the second kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Furthermore, when a fool is resting on a chair or a bed or on the ground, their past bad deeds—misconduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. It is like the shadow of a great mountain peak in the evening as it settles down, rests down, and lays down upon the earth. In the same way, when a fool is resting on a chair or a bed or on the ground, their past bad deeds—misconduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. Then that fool thinks, ‘Well, I haven’t done good and skillful things that keep me safe. And I have done bad, violent, and depraved things. When I depart, I’ll go to the place where people who’ve done such things go.’ They sorrow and wail and lament, beating their breasts and falling into confusion. This is the third kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Having done bad things by way of body, speech, and mind, when their body breaks up, after death, they’re reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.
And if there’s anything of which it may be rightly said that it is utterly unlikable, undesirable, and disagreeable, it is of hell that this should be said. So much so that it’s not easy to give a simile for how painful hell is.”
When he said this, one of the mendicants asked the Buddha, “But sir, is it possible to give a simile?”
“It’s possible,” said the Buddha.
“Suppose they arrest a bandit, a criminal and present him to the king, saying, ‘Your Majesty, this is a bandit, a criminal. Punish him as you will.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the morning with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told. Then at midday the king would say, ‘My men, how is that man?’ ‘He’s still alive, Your Majesty.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the midday with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told. Then late in the afternoon the king would say, ‘My men, how is that man?’ ‘He’s still alive, Your Majesty.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the late afternoon with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told.
What do you think, mendicants? Would that man experience pain and distress from being struck with three hundred spears?”
“Sir, that man would experience pain and distress from being struck with one spear, let alone three hundred spears!”
Then the Buddha, picking up a stone the size of his palm, addressed the mendicants, “What do you think, mendicants? Which is bigger: the stone the size of my palm that I’ve picked up, or the Himalayas, the king of mountains?”
“Sir, the stone you’ve picked up is tiny. Compared to the Himalayas, it doesn’t count, it’s not worth a fraction, there’s no comparison.”
“In the same way, compared to the suffering in hell, the pain and distress experienced by that man due to being struck with three hundred spears doesn’t count, it’s not worth a fraction, there’s no comparison
The wardens of hell punish them with the five-fold crucifixion. They drive red-hot stakes through the hands and feet, and another in the middle of the chest. And there they feel painful, sharp, severe, acute feelings—but they don’t die until that bad deed is eliminated.
The wardens of hell throw them down and hack them with axes. …
They hang them upside-down and hack them with hatchets. …
They harness them to a chariot, and drive them back and forth across burning ground, blazing and glowing. …
They make them climb up and down a huge mountain of burning coals, blazing and glowing. …
The wardens of hell turn them upside down and throw them into a red-hot copper pot, burning, blazing, and glowing. There they’re seared in boiling scum, and they’re swept up and down and round and round. And there they feel painful, sharp, severe, acute feelings—but they don’t die until that bad deed is eliminated.
The wardens of hell toss them in the Great Hell. Now, about that Great Hell:
‘Four are its corners, four its doors,
neatly divided in equal parts.
Surrounded by an iron wall,
of iron is its roof.
The ground is even made of iron,
it burns with fierce fire.
The heat forever radiates
a hundred leagues around.’
I could tell you many different things about hell. So much so that it’s not easy to completely describe the suffering in hell. …
ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ คนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว มักทำการกระทำที่ชั่ว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคำพูดที่ชั่ว และทำการกระทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัปบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว และมักทำการกระทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัปบุรุษ.
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมได้รับทุกขโทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี นั่งริมถนนก็ดี นั่งริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขา ถ้าคนพาลมักเป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขานั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๑ ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นพระราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ
๑) โบยด้วยแส้บ้าง
๒) โบยด้วยหวายบ้าง
๓) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
๔) ตัดมือบ้าง
๕) ตัดเท้าบ้าง
๖) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
๗) ตัดหูบ้าง
๘) ตัดจมูกบ้าง
๙) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
๑๐) ลงโทษด้วยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง
๑๑) ลงโทษด้วยวิธี ขอดสังข์บ้าง
๑๒) ลงโทษด้วยวิธี ปากราหูบ้าง
๑๓) ลงโทษด้วยวิธี มาลัยไฟบ้าง
๑๔) ลงโทษด้วยวิธี คบมือบ้าง
๑๕) ลงโทษด้วยวิธี ริ้วส่ายบ้าง
๑๖) ลงโทษด้วยวิธี นุ่งเปลือกไม้บ้าง
๑๗) ลงโทษด้วยวิธี ยืนกวางบ้าง
๑๘) ลงโทษด้วยวิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ดบ้าง
๑๙) ลงโทษด้วยวิธี เหรียญกษาปณ์บ้าง
๒๐) ลงโทษด้วยวิธี แปรงแสบบ้าง
๒๑) ลงโทษด้วยวิธี กางเวียนบ้าง
๒๒) ลงโทษด้วยวิธี ตั่งฟางบ้าง
๒๓) ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ บ้าง
๒๔) ให้สุนัขทึ้งบ้าง
๒๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง
๒๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใด พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง … ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้วสั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง … ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๒ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทำไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทำไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่ความร้าย ทำแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ความร้าย และความเลว เป็นกำหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ำครวญ ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๓ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจโดยส่วนเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้ แม้จะเปรียบอุปมาถึงความทุกข์ในนรก ก็ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย.
ภันเต อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่
ภิกษุทั้งหลาย อาจเปรียบได้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแด่พระราชาว่า “ข้าแต่เทวะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์โปรดลงอาชญาตามที่พระราชประสงค์เถิด” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเช้า ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร” พวกราชบุรุษทูลว่า “ข้าแต่เทวะ ยังมีชีวิตอยู่อย่างเดิม” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลากลางวัน” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร” พวกราชบุรุษทูลว่า “ข้าแต่เทวะ ยังมีชีวิตอยู่อย่างเดิม” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเย็น” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเย็น.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม จะได้รับทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงนั้นเป็นเหตุบ้างหรือไม่.
ภันเต บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็ได้รับทุกขโทมนัสเพราะเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ จะกล่าวไปไยถึงการถูกแทงด้วยหอกตั้งสามร้อยเล่ม.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนขนาดใหญ่กว่ากัน.
ภันเต แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เมื่อเปรียบเทียบกับภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกขโทมนัสที่บุรุษกำลังได้รับเพราะการถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ เมื่อเปรียบเทียบกับทุกข์ในนรก ก็ยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านิรยบาลจะทำการลงโทษคนพาลนั้น ด้วยวิธีที่ชื่อว่าเครื่องผูก ๕ อย่าง คือ เอาตะปูเหล็กแดงร้อนตอกที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ท่ามกลางอก เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นขึงพืด แล้วเอาผึ่งถาก เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่กรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้หัวห้อยลง แล้วเอามีดเฉือน …
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเทียมรถ แล้วพาแล่นไปมาบนแผ่นดินซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง …
เหล่านิรยบาลจะไล่ต้อนคนพาลนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วงบ้าง …
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้หัวห้อยลง แล้วโยนลงในหม้อเหล็กแดงซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง เขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น เมื่อเขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองอยู่ จะลอยขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง จมลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง ไปตามขวางครั้งหนึ่งบ้าง เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่ายนิรยบาลจะโยนคนพาลนั้นเข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั้นมี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งออกเป็นห้องๆ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นล้วนเป็นเหล็ก ซึ่งไฟลุกโชนประกอบด้วยเปลว แผ่ไปไกลร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวถึงความทุกข์ในนรก ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย. …
-บาลี อุปริ. ม. 14/311/468.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//311
https://etipitaka.com/read/pali/14/311
* หมายเหตุ
๑.หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือ ให้ต่อยกระบานศีศะเลิกออกเสียแล้ว เอาคิมคีบก้อนเหลกแดงใหญ่ใส่ลง ให้มันสะหมองศีศะพลุ่งฟู่ขึ้น ดั่งม่อเคี่ยวน้ำส้มพะอูม
๒.ขอดสังข์ คือ ให้ตัดแต่หนังจำระเบื้องหน้า ถึงไพรปากเบื้องบนทังสองข้างเปนกำหนด ถึงหมวกหูทังสองข้างเปนกำหนด ถึงเกลียวฅอชายผมเบื้องหลังเปนกำหนด แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทังสิ้น เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคนโยกถอนคลอนสั่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้ว เอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์
๓.ปากราหู คือ เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้แล้วตามประทีปไว้ในปาก ไนยหนึ่งเอาปากสิ่วอันคมนั้น แสะแหวะผ่าปากจนหมวกหูทั้งสองข้าง แล้วเอาฃอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเตมปาก
๔.มาลัยไฟ คือ เอาผ้าชุ่มน้ำมันพันให้ทั่วกายแล้วเอาเพลิงจุด
๕.คบมือ คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือสิ้นทัง ๑๐ นิ้วแล้วเอาเพลิงจุด
๖.ริ้วส่าย คือ เชือดเนื้อให้เปนแร่ง เปนริ้ว อย่าให้ขาด ให้เนื่องด้วยหนังตั้งแต่ใต้ฅอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำให้เดิรเหยียบย่ำริ้วเนื้อ ริ้วหนังแห่งตนให้ฉุดคร่าตีจำให้เดิรไปจนกว่าจะตาย
๗.นุ่งเปลือกไม้ คือ เชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเปนแร่ง เป็นริ้ว แต่ใต้ฅอลงมาถึงเอวแล้วเชือดแต่เอวให้เปนแร่ง เปนริ้วลงมาถึงข้อเท้า กระทำเนื้อเบื้องบนนั้นให้เปนริ้วตกปกคลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้าคากรอง
๘.ยืนกวาง คือ เอาห่วงเหลกสวมข้อสอกทังสองข้อเฃ่าทังสองข้างให้หมั้นแล้วเอาหลักเหลกสอดลงในวงเหลกแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงลนให้รอบตัวกว่าจะตาย
๙.เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือ เอาเบดใหญ่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วกาย เพิกหนังเนื้อแลเอนน้อยใหญ่ ให้หลุดขาดออกมากว่าจะตาย
๑๐.เหรียญกษาปณ์ คือ ให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกมาจากกาย แต่ทิละตำลึงกว่าจะสิ้นมังสะ
๑๑.แปรงแสบ คือ ให้แล่สับฟันทั่วกาย แล้วเอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขุดเซาะหนังแลเนื้อแลเอนน้อยใหญ่ ให้ลอกออกมาให้สิ้น ให้อยู่แต่ร่างกระดูก
๑๒.กางเวียน คือ ให้นอนลงโดยข้างๆ หนึ่งแล้ว ให้เอาหลาวเหลกตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดิน แล้วจับเท้าทังสองหันเวียนไปดังบุทคลทำบังเวียน
๑๓.ตั่งฟาง คือ ทำมิให้เนื้อพังหนังขาด เอาลูกศีลาบดทุบกระดูกให้แหลกย่อยแล้วรวบผมเข้าทังสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเปนกองเปนลอม แล้วพับห่อเนื้อหนังกับทังกระดูกนั้นทอดวางไว้ ทำดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งไว้เชดเท้า
๑๔.ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ คือ เคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วรดสาดลงมาแต่ศีศะกว่าจะตาย
๑๕.ให้สุนัขทึ้ง คือ ให้กักขังสูนักขร้ายทังหลายไว้ ให้อดอาหารหลายวันให้เตมหยาก แล้วปล่อยออกให้กัดทึ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า
ที่มา : กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๔ (พิมพ์ตามต้นฉบับกฎหมายตราสามดวง ฉบับหลวง) หมวด พระไอยการกระบดศึก พิมพ์ครั้งที่ ๒ สำนักพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๖