The death is not a bad one. (2)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying in the land of the Sakyans, near Kapilavatthu in the Banyan Tree Monastery. Then Mahānāma the Sakyan went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
“Sir, this Kapilavatthu is successful and prosperous and full of people, with cramped cul-de-sacs. In the late afternoon, after paying homage to the Buddha or an esteemed mendicant, I enter Kapilavatthu. I encounter a stray elephant, horse, chariot, cart, or person. At that time I lose mindfulness regarding the Buddha, the teaching, and the Saṅgha. I think: ‘If I were to die at this time, where would I be reborn in my next life?’”
“Do not fear, Mahānāma, do not fear! Your death will not be a bad one; your passing will not be a bad one. A noble disciple who has four things slants, slopes, and inclines towards extinguishment. What four? It’s when a noble disciple has experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha … And they have the ethical conduct loved by the noble ones … leading to immersion.
Suppose there was a tree that slants, slopes, and inclines to the east. If it was cut off at the root where would it fall?”
“Sir, it would fall in the direction that it slants, slopes, and inclines.”
“In the same way, a noble disciple who has four things slants, slopes, and inclines towards extinguishment.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิโครธาราม เขตนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้ทูลว่า
ภันเต นครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมากมาย คับคั่งไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ก็ได้พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่าน ขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า หากในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายะของเราจะเป็นอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่ากลัวเลย มหานาม อย่ากลัวเลย มหานาม การตายของท่านจักไม่ต่ำทราม การกระทำกาละของท่านจักไม่เลวทราม มหานาม อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานโดยแท้ ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
มหานาม อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม.
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท (จากตัณหา) เป็นศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
มหานาม เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปทางทิศปราจีน โน้มไปทางทิศปราจีน โอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้น เมื่อถูกตัดที่โคน มันจะล้มไปทางไหน.
ภันเต มันก็จะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไป โน้มไป โอนไป.
มหานาม ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานโดยแท้.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/465/1510.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//465
https://etipitaka.com/read/pali/19/465