Benefits of following the teaching by ear, reinforcing by recitation, examining by the mind, and well comprehending theoretically.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, you can expect four benefits when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically. What four?
Take a mendicant who memorizes the teaching—statements, songs, discussions, verses, inspired exclamations, legends, stories of past lives, amazing stories, and classifications. They’ve followed those teachings by ear, reinforced them by recitation, examined them by the mind, and well comprehended them theoretically. But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. Being happy there, passages of the teaching come back to them. Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. This is the first benefit you can expect when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically.
Take another mendicant who memorizes the teaching—statements, songs, discussions, verses, inspired exclamations, legends, stories of past lives, amazing stories, and classifications. They’ve followed those teachings by ear, reinforced them by recitation, examined them by the mind, and well comprehended them theoretically. But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. Though they’re happy there, passages of the teaching don’t come back to them. However, a mendicant with psychic powers, who has achieved mastery of the mind, teaches Dhamma to the assembly of gods. They think: ‘I used to lead the spiritual life in this same teaching and training.’ Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. Suppose a person was skilled in the sound of drums. While traveling along a road they hear the sound of drums. They wouldn’t have any doubts or uncertainties about whether that was the sound of drums or not. They’d just conclude, ‘That’s the sound of drums.’ In the same way, take another mendicant who memorizes the teaching … But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. … Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. This is the second benefit you can expect when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically.
Take another mendicant who memorizes the teaching—statements, songs, discussions, verses, inspired exclamations, legends, stories of past lives, amazing stories, and classifications. They’ve followed those teachings by ear, reinforced them by recitation, examined them by the mind, and well comprehended them theoretically. But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. But passages of the teaching don’t come back to them when they’re happy, nor does a mendicant with psychic powers … teach Dhamma to the assembly of gods. However, a god teaches Dhamma to the assembly of gods. They think: ‘I used to lead the spiritual life in this same teaching and training.’ Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. Suppose a person was skilled in the sound of horns. While traveling along a road they hear the sound of horns. They wouldn’t have any doubt about whether that was the sound of horns or not. They’d just conclude, ‘That’s the sound of horns.’ In the same way, take another mendicant who memorizes the teaching … But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. … Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. This is the third benefit you can expect when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically.
Take another mendicant who memorizes the teaching—statements, songs, discussions, verses, inspired exclamations, legends, stories of past lives, amazing stories, and classifications. They’ve followed those teachings by ear, reinforced them by recitation, examined them by the mind, and well comprehended them theoretically. But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. But passages of the teaching don’t come back to them when they’re happy, and neither a mendicant with psychic powers … nor a god teaches Dhamma to the assembly of gods. But a being who has been reborn spontaneously reminds another such being: ‘Do you remember, good sir? Do you remember where we used to lead the spiritual life?’ He says: ‘I remember, good sir, I remember!’ Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. Suppose there were two friends who had played together in the sand. Some time or other they’d meet. And one friend would say to the other: ‘Do you remember this, friend? Do you remember that, friend?’ They’d say: ‘I remember, friend, I remember!’ In the same way, take another mendicant who memorizes the teaching … But they die unmindful and are reborn in one of the orders of gods. … Memory comes up slowly, but then that being quickly reaches distinction. This is the fourth benefit you can expect when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically.
You can expect these four benefits when the teachings have been followed by ear, reinforced by recitation, examined by the mind, and well comprehended theoretically.”
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงหมู่เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ประการที่ ๑.
๒) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงหมู่เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท1 เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ชำนาญต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล เมื่อได้ยินเสียงกลอง เขาย่อมไม่มีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงว่า ใช่เสียงกลองหรือไม่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความมั่นใจว่า ใช่เสียงกลองทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น … สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ประการที่ ๒.
๓) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงหมู่เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ชำนาญต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล เมื่อได้ฟังเสียงสังข์ เขาย่อมไม่มีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงว่า ใช่เสียงสังข์หรือไม่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความมั่นใจว่า ใช่เสียงสังข์ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น … สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ประการที่ ๓.
๔) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงหมู่เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นิรทุกข์ย่อมระลึกได้หรือไม่ว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นิรทุกข์ เราระลึกได้ท่านผู้นิรทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายสองคนเคยเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกถึงการกระทำนี้ได้หรือไม่ เขากล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น … สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ขณะนั้น สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ประการที่ ๔.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อานิสงส์แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้ ๔ ประการ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/251/191.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//251
https://etipitaka.com/read/pali/21/251
1 บริษัท = หมู่, คณะ