The teaching on burning.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I will teach you an exposition of the teaching on burning. Listen …
And what is the exposition of the teaching on burning?
You’d be better off mutilating your eye faculty with a red-hot iron nail, burning, blazing and glowing, than getting caught up in the features by way of the details in sights known by the eye. For if you die at a time when your consciousness is still tied to gratification in the features or details, it’s possible you’ll go to one of two destinations: hell or the animal realm. I speak having seen this drawback.
You’d be better off mutilating your ear faculty with a sharp iron spike …
You’d be better off mutilating your nose faculty with a sharp nail cutter …
You’d be better off mutilating your tongue faculty with a sharp razor …
You’d be better off mutilating your body faculty with a sharp spear, burning, blazing and glowing, than getting caught up in the features by way of the details in touches known by the body. For if you die at a time when your consciousness is still tied to gratification in the features or details, it’s possible you’ll go to one of two destinations: hell or the animal realm. I speak having seen this drawback.
You’d be better off sleeping. For I say that sleep is useless, fruitless, and unconsciousness for the living. But while you’re asleep you won’t fall under the sway of such thoughts that would make you create a schism in the Saṅgha. I speak having seen this drawback.
A noble disciple reflects on this: ‘Forget mutilating the eye faculty with a red-hot iron nail, burning, blazing and glowing! I’d better focus on the fact that the eye, sights, eye consciousness, and eye contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by eye contact is also impermanent.
Forget mutilating the ear faculty with a sharp iron spike, burning, blazing and glowing! I’d better focus on the fact that the ear, sounds, ear consciousness, and ear contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by ear contact is also impermanent.
Forget mutilating the nose faculty with a sharp nail cutter, burning, blazing and glowing! I’d better focus on the fact that the nose, smells, nose consciousness, and nose contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by nose contact is also impermanent.
Forget mutilating the tongue faculty with a sharp razor, burning, blazing and glowing! I’d better focus on the fact that the tongue, tastes, tongue consciousness, and tongue contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by tongue contact is also impermanent.
Forget mutilating the body faculty with a sharp spear, burning, blazing and glowing! I’d better focus on the fact that the body, touches, body consciousness, and body contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by body contact is also impermanent.
Forget sleeping! I’d better focus on the fact that the mind, thoughts, mind consciousness, and mind contact are impermanent. And the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by mind contact is also impermanent.’
Seeing this, a learned noble disciple grows disillusioned with the eye, sights, eye consciousness, and eye contact. And they become disillusioned with the painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by eye contact. They grow disillusioned with the ear … nose … tongue … body … mind … painful, pleasant, or neutral feeling that arises conditioned by mind contact.
Being disillusioned, desire fades away. When desire fades away they’re freed. When they’re freed, they know they’re freed.
They understand: ‘Rebirth is ended, the spiritual journey has been completed, what had to be done has been done, there is no return to any state of existence.’
This is the exposition of the teaching on burning.”
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย ชื่ออาทิตตปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายชื่ออาทิตตปริยายนั้นเป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือดวงตา ถูกแทงด้วยหลาวเหล็ก ที่ร้อนจัด มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว ยังดีกว่า ส่วนการถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) หรือถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) ในรูปที่เห็นด้วยตานั้นไม่ดีเลย วิญญาณอันติดพันด้วยความยินดีในการรวบถือทั้งหมด หรือติดพันด้วยความยินดีในการแยกถือเป็นส่วนๆ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาละในสมัยนั้น เขาพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันนี้เอง.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือหู ถูกเกี่ยวด้วยขอเหล็กที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว ยังดีกว่า ส่วนการถือเอาโดยนิมิต หรือถือเอาโดยอนุพยัญชนะในเสียงที่ได้ยินด้วยหูนั้นไม่ดีเลย วิญญาณอันติดพันด้วยความยินดีในการรวบถือทั้งหมด หรือติดพันด้วยความยินดีในการแยกถือเป็นส่วนๆ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาละในสมัยนั้น เขาพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันนี้เอง.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือจมูก ถูกคว้านด้วยมีดที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว ยังดีกว่า ส่วนการถือเอาโดยนิมิต หรือถือเอาโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกนั้นไม่ดีเลย วิญญาณอันติดพันด้วยความยินดีในการรวบถือทั้งหมด หรือติดพันด้วยความยินดีในการแยกถือเป็นส่วนๆ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาละในสมัยนั้น เขาพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันนี้เอง.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือลิ้น ถูกเฉือนด้วยมีที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว ยังดีกว่า ส่วนการถือเอาโดยนิมิต หรือถือเอาโดยอนุพยัญชนะในรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นนั้นไม่ดีเลย วิญญาณอันติดพันด้วยความยินดีในการรวบถือทั้งหมด หรือติดพันด้วยความยินดีในการแยกถือเป็นส่วนๆ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาละในสมัยนั้น เขาพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันนี้เอง.
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือกาย ถูกแทงด้วยหอกที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว ยังดีกว่า ส่วนการถือเอาโดยนิมิต หรือถือเอาโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วย (ผิว) กายนั้นไม่ดีเลย วิญญาณอันติดพันด้วยความยินดีในการรวบถือทั้งหมด หรือติดพันด้วยความยินดีในการแยกถือเป็นส่วนๆ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาละในสมัยนั้น เขาพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันนี้เอง.
ภิกษุทั้งหลาย การนอนหลับยังดีกว่า แม้เราจะกล่าวว่า การนอนหลับเป็นโทษสำหรับผู้มีชีวิตอยู่ เป็นความไร้ผลสำหรับผู้มีชีวิตอยู่ เป็นความเขลาของผู้มีชีวิตอยู่ ก็จริง แต่เพราะการตื่น ที่เป็นไปด้วยความนึกคิดอันเลวทราม อาจทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้นั้นไม่ดีเลย ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเห็นโทษอันต่ำทรามอย่างนี้สำหรับผู้มีชีวิตอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อินทรีย์คือดวงตา ถูกแทงด้วยหลาวเหล็ก ที่ร้อนจัด มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว จงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ตาไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
อินทรีย์คือหู ถูกเกี่ยวด้วยขอเหล็กที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว จงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า หูไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
อินทรีย์คือจมูก ถูกคว้านด้วยมีดที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว จงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จมูกไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
อินทรีย์คือลิ้น ถูกเฉือนด้วยมีดที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว จงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ลิ้นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
อินทรีย์คือกาย ถูกแทงด้วยหอกที่คม มีไฟติดลุกโพลง โชติช่วงแล้ว จงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
การนอนหลับจงยกไว้ก่อน เอาเถอะ เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรม ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่า ธรรมปริยายชื่ออาทิตตปริยาย.
-บาลี สฬา. สํ. 18/210/303.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//210
https://etipitaka.com/read/pali/18/210