The development of the faculties, the supreme development of the faculties in the training of the noble one, the practicing trainee, and the noble one with developed faculties.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Kajaṅgalā in a bamboo grove.
Then the brahmin student Uttara, a pupil of the brahmin Pārāsariya, approached the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side. The Buddha said to him, “Uttara, does Pārāsariya teach his disciples the development of the faculties?”
“He does, Master Gotama.”
“But how does he teach it?”
“Master Gotama, it’s when the eye sees no sight and the ear hears no sound. That’s how Pārāsariya teaches his disciples the development of the faculties.”
“In that case, Uttara, a blind person and a deaf person will have developed faculties according to what Pārāsariya says. For a blind person sees no sight with the eye and a deaf person hears no sound with the ear.” When he said this, Uttara sat silent, embarrassed, shoulders drooping, downcast, depressed, with nothing to say.
Knowing this, the Buddha addressed Venerable Ānanda, “Ānanda, the development of the faculties taught by Pārāsariya is quite different from the supreme development of the faculties in the training of the Noble One.”
“Now is the time, Blessed One! Now is the time, Holy One. Let the Buddha teach the supreme development of the faculties in the training of the Noble One. The mendicants will listen and remember it.”
“Well then, Ānanda, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” Ānanda replied. The Buddha said this:
“And how, Ānanda, is there the supreme development of the faculties in the training of the Noble One? When a mendicant sees a sight with their eyes, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a person with good sight might open their eyes then shut them; or might shut their eyes then open them. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding sights known by the eye.
Furthermore, when a mendicant hears a sound with their ears, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a strong person can effortlessly snap their fingers. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding sounds known by the ear.
Furthermore, when a mendicant smells an odor with their nose, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a drop of water would roll off a gently sloping lotus leaf, and would not stay there. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding smells known by the nose.
Furthermore, when a mendicant tastes a flavor with their tongue, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a strong person who’s formed a glob of spit on the tip of their tongue could easily spit it out. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding tastes known by the tongue.
Furthermore, when a mendicant feels a touch with their body, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a strong person can extend or contract their arm. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding touches known by the body.
Furthermore, when a mendicant knows a thought with their mind, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They understand: ‘Liking, disliking, and both liking and disliking have come up in me. That’s conditioned, coarse, and dependently originated. But this is peaceful and sublime, namely equanimity.’ Then the liking, disliking, and both liking and disliking that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. It’s like how a strong person could let two or three drops of water fall onto an iron cauldron that had been heated all day. The drops would be slow to fall, but they’d quickly dry up and evaporate. Such is the speed, the swiftness, the ease with which any liking, disliking, and both liking and disliking at all that came up in them cease, and equanimity becomes stabilized. In the training of the Noble One this is called the supreme development of the faculties regarding thoughts known by the mind. That’s how there is the supreme development of the faculties in the training of the Noble One.
And how are they a practicing trainee? When a mendicant sees a sight with their eyes, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They are horrified, repelled, and disgusted by that. When they hear a sound with their ears … When they smell an odor with their nose … When they taste a flavor with their tongue … When they feel a touch with their body … When they know a thought with their mind, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. They are horrified, repelled, and disgusted by that. That’s how they are a practicing trainee.
And how are they a noble one with developed faculties? When a mendicant sees a sight with their eyes, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. If they wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive and the unrepulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive and the repulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate staying equanimous, mindful and aware, rejecting both the repulsive and the unrepulsive,’ that’s what they do.
When they hear a sound with their ear … When they smell an odor with their nose … When they taste a flavor with their tongue … When they feel a touch with their body … When they know a thought with their mind, liking, disliking, and both liking and disliking come up in them. If they wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive and the unrepulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive and the repulsive,’ that’s what they do. If they wish: ‘May I meditate staying equanimous, mindful and aware, rejecting both the repulsive and the unrepulsive,’ that’s what they do. That’s how they are a noble one with developed faculties.
So, Ānanda, I have taught the supreme development of the faculties in the training of the Noble One, I have taught the practicing trainee, and I have taught the noble one with developed faculties.
Out of compassion, I’ve done what a teacher should do who wants what’s best for their disciples. Here are these roots of trees, and here are these empty huts. Practice absorption, Ānanda! Don’t be negligent! Don’t regret it later! This is my instruction to you.”
That is what the Buddha said. Satisfied, Venerable Ānanda was happy with what the Buddha said.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้น อุตตรมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่งในที่สมควร.
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงอินทรีย์ภาวนาแก่สาวกทั้งหลายหรือไม่.
พระโคดมผู้เจริญ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงอินทรีย์ภาวนาแก่สาวกทั้งหลายอยู่.
อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงอินทรีย์ภาวนาแก่สาวก แสดงอย่างไร.
พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงอินทรีย์ภาวนาแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยตา อย่าได้ยินเสียงด้วยหู.
อุตตระ เมื่อเป็นอย่างนี้ คนที่มีอินทรีย์ภาวนาแล้ว ตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดย่อมไม่เห็นรูปด้วยตา และคนหูหนวกย่อมไม่ได้ยินเสียงด้วยหู.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้แล้ว อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ ได้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงอินทรีย์ภาวนาแก่สาวกทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัยเป็นอย่างอื่น.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นการสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนบุรุษมีตาดี ลืมตาแล้วหลับตา หรือ หลับตาแล้วลืมตา (กะพริบตา) อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุใด ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งรูปที่เห็นด้วยตา.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนบุรุษที่แข็งแรงดีดนิ้วมือได้โดยไม่ลำบาก อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุใด ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งเสียงที่ได้ยินด้วยหู.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัวที่ลาดเอียง ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปแม้น้อยหนึ่ง อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุใด ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนบุรุษที่แข็งแรงตะล่อมก้อนน้ำลายไว้ที่ปลายลิ้นแล้วถ่มออกไปได้โดยไม่ลำบาก อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งรสที่รู้ได้ด้วยลิ้น.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางผิวหนัง) ด้วยกายแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนบุรุษที่แข็งแรงเหยียดแขนที่งอ หรืองอแขนที่เหยียดได้โดยไม่ลำบาก อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุใด ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ ก็สิ่งนั้น เป็นของปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยเหตุปัจจัยแล้วเกิดขึ้น ยังมีสิ่งนั้นที่สงบระงับและประณีต นั่นคือ อุเบกขา เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป ส่วนอุเบกขายังดำรงอยู่ อานนท์ เปรียบเหมือนบุรุษที่แข็งแรงเอาหยดน้ำสองหรือสามหยดใส่ลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดอยู่ตลอดทั้งวัน น้ำที่หยดลงยังช้าไป ที่แท้หยดน้ำนั้นจะระเหยแห้งไปเร็วพลันทันที อานนท์ ฉันใดก็ฉันนั้น ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดี ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุใด ย่อมดับไปเร็วพลันทันทีโดยไม่ลำบาก ส่วนอุเบกขายังคงดำรงอยู่ อานนท์ นี้เรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่งธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ.
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล.
อานนท์ ก็เสขปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของพระเสขะ) เป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อภิกษุได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อภิกษุได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อภิกษุได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชัง ความชอบใจก็ดี ความไม่ชอบใจก็ดี หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจก็ดีที่เกิดขึ้นแล้ว.
อานนท์ เสขปฏิปทา เป็นอย่างนี้แล.
อานนท์ ก็อินทรีย์ภาวนาขั้นอริยะเป็นอย่างไร คือ อานนท์ ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุรู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ความชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือความไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น หรือทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นหากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงมีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งนั้นๆ อยู่ได้ หากหวังว่า เราพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้นๆ มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้.
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาขั้นอริยะ เป็นอย่างนี้แล.
อานนท์ อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย เราก็ได้แสดงแล้ว เสขปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว อินทรีย์ภาวนาขั้นอริยะ เราก็ได้แสดงแล้ว.
อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์แล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้ที่ร้อนใจในภายหลังเลย นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
-บาลี อุปริ. ม. 14/541/853.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//541
https://etipitaka.com/read/pali/14/541