Speech that has four factors is well spoken, not poorly spoken.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!” “Venerable sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, speech that has four factors is well spoken, not poorly spoken. It’s blameless and is not criticized by sensible people. What four? It’s when a mendicant speaks well, not poorly; they speak on the teaching, not against the teaching; they speak pleasantly, not unpleasantly; and they speak truthfully, not falsely. Speech with these four factors is well spoken, not poorly spoken. It’s blameless and is not criticized by sensible people.” That is what the Buddha said. Then the Holy One, the Teacher, went on to say:
“Good people say that well-spoken words are foremost;
second, speak on the teaching, not against it;
third, speak pleasantly, not unpleasantly;
and fourth, speak truthfully, not falsely.”
Then Venerable Vaṅgīsa got up from his seat, arranged his robe over one shoulder, raised his joined palms toward the Buddha, and said, “I feel inspired to speak, Blessed One! I feel inspired to speak, Holy One!” “Then speak as you feel inspired,” said the Buddha. Then Vaṅgīsa extolled the Buddha in his presence with fitting verses:
“Speak only such words
that do not hurt yourself
nor harm others;
such speech is truly well spoken.
Speak only pleasing words,
words gladly welcomed.
Pleasing words are those
that bring nothing bad to others.
Truth itself is the undying word:
this is an eternal truth.
Good people say that the teaching and its meaning
are grounded in the truth.
The words spoken by the Buddha
for realizing the sanctuary, extinguishment,
for the attainment of vision,
this really is the best kind of speech.”
ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้
๑) กล่าวแต่วาจาที่เป็นสุภาษิตเท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่เป็นทุพาษิต
๒) กล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม
๓) กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักเท่านั้น ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก
๔) กล่าวแต่วาจาที่เป็นจริงเท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่เป็นเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน.
สัปบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม เป็นที่สอง
บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นจริง ไม่พึงกล่าววาจาเท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้.
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ.
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุทำให้ตนเองเดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต.
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชอบ
ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น พึงพูดแต่วาจาอันเป็นที่รัก.
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของเก่า
สัปบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเป็นวาจาเกษมเพื่อให้บรรลุนิพพาน
เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย.
-บาลี สคาถ. สํ. 15/277/738.
https://84000.org/tipitaka/pali/?15//277, https://etipitaka.com/read/pali/15/277