What to talk or not to talk?
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Rājagaha, in the Bamboo Grove, the squirrels’ feeding ground. Then Vassakāra the brahmin, a chief minister of Magadha, went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“Master Gotama, this is my doctrine and view: There’s nothing wrong with talking about what you’ve seen, saying: ‘So I have seen.’ There’s nothing wrong with talking about what you’ve heard, saying: ‘So I have heard.’ There’s nothing wrong with talking about what you’ve thought, saying: ‘So I have thought.’ There’s nothing wrong with talking about what you’ve known, saying: ‘So I have known.’”
“Brahmin, I don’t say you should talk about everything you see, hear, think, and know. But I also don’t say you should talk about nothing you see, hear, think, and know.
When talking about certain things you’ve seen, heard, thought, or known, unskillful qualities grow while skillful qualities decline. I say that you shouldn’t talk about those things. When talking about other things you’ve seen, heard, thought, or known, unskillful qualities decline while skillful qualities grow. I say that you should talk about those things.”
Then Vassakāra the brahmin, having approved and agreed with what the Buddha said, got up from his seat and left.
English translation by Ṭhānissaro Bhikkhu
I have heard that on one occasion the Blessed One was staying near Rājagaha in the Bamboo Forest, the Squirrels’ Sanctuary. Then Vassakāra the brahman, the minister to the king of Magadha, approached the Blessed One and, on arrival, exchanged courteous greetings with him. After an exchange of friendly greetings & courtesies, he sat to one side. As he was sitting there he said to the Blessed One: “I am of the view, of the opinion, that when anyone speaks of what he has seen, (saying,) ‘Thus have I seen,’ there is no fault in that. When anyone speaks of what he has heard, (saying,) ‘Thus have I heard,’ there is no fault in that. When anyone speaks of what he has sensed, (saying,) ‘Thus have I sensed,’ there is no fault in that. When anyone speaks of what he has cognized, (saying,) ‘Thus have I cognized,’ there is no fault in that.”
(The Blessed One responded:) “I do not say, brahman, that everything that has been seen should be spoken about. Nor do I say that everything that has been seen should not be spoken about. I do not say that everything that has been heard… everything that has been sensed… everything that has been cognized should be spoken about. Nor do I say that everything that has been cognized should not be spoken about.
“When, for one who speaks of what has been seen, unskillful qualities increase and skillful qualities decrease, then that sort of thing should not be spoken about. But when, for one who speaks of what has been seen, unskillful qualities decrease and skillful qualities increase, then that sort of thing should be spoken about.
“When, for one who speaks of what has been heard… what has been sensed… what has been cognized, unskillful qualities increase and skillful qualities decrease, then that sort of thing should not be spoken about. But when, for one who speaks of what has been cognized, unskillful qualities decrease and skillful qualities increase, then that sort of thing should be spoken about.”
Then Vassakāra the brahman, delighting & rejoicing in the Blessed One’s words, got up from his seat and left.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น วัสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้ามีถ้อยคำและความเห็นอย่างนี้ว่า
๑) ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่ตนได้เห็นว่า ข้าพเจ้าได้เห็นมาอย่างนี้ โทษเพราะการกล่าวเช่นนั้นย่อมไม่มี
๒) ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่ตนได้ยินว่า ข้าพเจ้าได้ยินมาอย่างนี้ โทษเพราะการกล่าวเช่นนั้นย่อมไม่มี
๓) ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่ตนได้รู้สึกว่า ข้าพเจ้าได้รู้สึกมาอย่างนี้ โทษเพราะการกล่าวเช่นนั้นย่อมไม่มี
๔) ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่ตนได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) ว่า ข้าพเจ้าได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) มาอย่างนี้ โทษเพราะการกล่าวเช่นนั้นย่อมไม่มี.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้เห็น เป็นสิ่งที่ควรกล่าว และเราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้เห็น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ยิน เป็นสิ่งที่ควรกล่าว และเราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้ยิน เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้รู้สึก เป็นสิ่งที่ควรกล่าว และเราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้รู้สึก เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) เป็นสิ่งที่ควรกล่าว และเราไม่กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว.
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้เห็นมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้เห็นมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว พราหมณ์ แต่ว่า เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้เห็นมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้เห็นมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ควรกล่าว.
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ยินมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้ยินมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว พราหมณ์ แต่ว่า เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ยินมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้ยินมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ควรกล่าว.
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งใดที่ได้รู้สึกมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้รู้สึกมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว พราหมณ์ แต่ว่า เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งใดที่ได้รู้สึกมา แล้วทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้รู้สึกมาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ควรกล่าว.
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งใดที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) มา แล้วทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) มาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าว พราหมณ์ แต่ว่า เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งใดที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) มา แล้วทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า สิ่งที่ได้รู้แจ้ง (แก่ใจ) มาอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ควรกล่าว.
ครั้งนั้นแล วัสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/233/183.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//233
https://etipitaka.com/read/pali/21/233