An explanation of the Dhamma that applies to oneself.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was wandering in the land of the Kosalans together with a large Saṅgha of mendicants when he arrived at a village of the Kosalan brahmins named Bamboo Gate. The brahmins and householders of Bamboo Gate heard:
“It seems the ascetic Gotama—a Sakyan, gone forth from a Sakyan family—has arrived at Bamboo Gate, together with a large Saṅgha of mendicants. He has this good reputation: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’ He has realized with his own insight this world—with its gods, Māras and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, gods and humans—and he makes it known to others. He teaches Dhamma that’s good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased. And he reveals a spiritual practice that’s entirely full and pure. It’s good to see such perfected ones.”
Then the brahmins and householders of Bamboo Gate went up to the Buddha. Before sitting down to one side, some bowed, some exchanged greetings and polite conversation, some held up their joined palms toward the Buddha, some announced their name and clan, while some kept silent. Seated to one side they said to the Buddha:
“Master Gotama, these are our wishes, desires, and hopes. We wish to live at home with our children; to use sandalwood imported from Kāsi; to wear garlands, perfumes, and makeup; and to accept gold and money. And when our body breaks up, after death, we wish to be reborn in a good place, a heavenly realm. Given that we have such wishes, may the Buddha teach us the Dhamma so that we may achieve them.”
“Householders, I will teach you an explanation of the Dhamma that applies to oneself. Listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“And what is the explanation of the Dhamma that applies to oneself?
It’s when a noble disciple reflects: ‘I want to live and don’t want to die; I want to be happy and recoil from pain. Since this is so, if someone were to take my life, I wouldn’t like that. But others also want to live and don’t want to die; they want to be happy and recoil from pain. So if I were to take the life of someone else, they wouldn’t like that either. The thing that is disliked by me is also disliked by others. Since I dislike this thing, how can I inflict it on someone else?’ Reflecting in this way, they give up killing living creatures themselves. And they encourage others to give up killing living creatures, praising the giving up of killing living creatures. So their bodily behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to steal from me, I wouldn’t like that. But if I were to steal from someone else, they wouldn’t like that either. The thing that is disliked by me is also disliked by others. Since I dislike this thing, how can I inflict it on someone else?’ Reflecting in this way, they give up stealing themselves. And they encourage others to give up stealing, praising the giving up of stealing. So their bodily behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to have sexual relations with my wives, I wouldn’t like it. But if I were to have sexual relations with someone else’s wives, he wouldn’t like that either. The thing that is disliked by me is also disliked by others. Since I dislike this thing, how can I inflict it on others?’ Reflecting in this way, they give up sexual misconduct themselves. And they encourage others to give up sexual misconduct, praising the giving up of sexual misconduct. So their bodily behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to distort my meaning by lying, I wouldn’t like it. But if I were to distort someone else’s meaning by lying, they wouldn’t like it either. The thing that is disliked by me is also disliked by someone else. Since I dislike this thing, how can I inflict it on others?’ Reflecting in this way, they give up lying themselves. And they encourage others to give up lying, praising the giving up of lying. So their verbal behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to break me up from my friends by divisive speech, I wouldn’t like it. But if I were to break someone else from their friends by divisive speech, they wouldn’t like it either. …’ So their verbal behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to attack me with harsh speech, I wouldn’t like it. But if I were to attack someone else with harsh speech, they wouldn’t like it either. …’ So their verbal behavior is purified in three points.
Furthermore, a noble disciple reflects: ‘If someone were to annoy me by talking silliness and nonsense, I wouldn’t like it. But if I were to annoy someone else by talking silliness and nonsense, they wouldn’t like it either.’ The thing that is disliked by me is also disliked by another. Since I dislike this thing, how can I inflict it on another?’ Reflecting in this way, they give up talking nonsense themselves. And they encourage others to give up talking nonsense, praising the giving up of talking nonsense. So their verbal behavior is purified in three points.
And they have experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha … And they have the ethical conduct loved by the noble ones … leading to immersion. When a noble disciple has these seven good qualities and these four desirable states they may, if they wish, declare of themselves: ‘I’ve finished with rebirth in hell, the animal realm, and the ghost realm. I’ve finished with all places of loss, bad places, the underworld. I am a stream-enterer! I’m not liable to be reborn in the underworld, and am bound for awakening.’”
When he had spoken, the brahmins and householders of Bamboo Gate said to the Buddha, “Excellent, Master Gotama! … We go for refuge to Master Gotama, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. From this day forth, may Master Gotama remember us as lay followers who have gone for refuge for life.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ.
พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวาระได้ฟังข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก มาถึงเวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระสมณโคดมนั้น ทรงกระทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นความดี ดังนี้.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอให้เป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่งในที่สมควร บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า ขอเราทั้งหลายพึงคับคั่งไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงได้ใช้สอยผงแก่นจันทน์ที่เขานำมาจากแคว้นกาสี พึงได้ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงคับคั่งไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน พึงได้ใช้สอยผงแก่นจันทน์ที่เขานำมาจากแคว้นกาสี พึงได้ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ได้ด้วยประการใด ขอท่านพระโคดมโปรดทรงแสดงธรรมด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร คือ
๑) อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียดความทุกข์ ผู้ใดจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียดความทุกข์ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักความสุข เกลียดความทุกข์ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๒) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๓) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถึงความประพฤติผิดในภรรยาของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๔) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากการพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๕) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการพูดคำส่อเสียดด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากการพูดคำส่อเสียดด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดคำส่อเสียดด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๖) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะผู้อื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการพูดคำหยาบด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดคำหยาบด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๗) พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะผู้อื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.
๑) อริยสาวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้.
๒) อริยสาวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว เป็นสิ่งที่จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
๓) อริยสาวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละคือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
๔) อริยสาวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท (จากตัณหา) เป็นศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการเหล่านี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/443/1459.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//1459, https://etipitaka.com/read/pali/19/443