Dhamma speaker and a mendicant who speaks on Dhamma. (2.2)
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Seated to one side, that mendicant said to the Buddha:
“Sir, they speak of a ‘Dhamma speaker’. How is a Dhamma speaker defined? How is a mendicant who practices in line with the teaching defined? And how is a mendicant who has attained extinguishment in this very life defined?”
“Mendicant, if a mendicant teaches Dhamma for disillusionment, dispassion, and cessation regarding form, they’re qualified to be called a ‘mendicant who speaks on Dhamma’.
If they practice for disillusionment, dispassion, and cessation regarding form, they’re qualified to be called a ‘mendicant who practices in line with the teaching’.
If they’re freed by not grasping by disillusionment, dispassion, and cessation regarding form, they’re qualified to be called a ‘mendicant who has attained extinguishment in this very life’.
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment with feeling … perception … choices … consciousness, for its fading away and cessation, they’re qualified to be called a ‘mendicant who speaks on Dhamma’.
If they practice for disillusionment, dispassion, and cessation regarding consciousness, they’re qualified to be called a ‘mendicant who practices in line with the teaching’.
If they’re freed by not grasping by disillusionment, dispassion, and cessation regarding consciousness, they’re qualified to be called a ‘mendicant who has attained extinguishment in this very life’.”
เรื่องเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า ภันเต ที่กล่าวกันว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรธรรม และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นสัญญา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นสังขาร ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นวิญญาณควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/199/303.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//199
https://etipitaka.com/read/pali/11/199