Dependent origination and dependently originated phenomena.
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, I will teach you dependent origination and dependently originated phenomena. Listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“And what is dependent origination? Rebirth is a condition for old age and death. Whether Realized Ones arise or not, this law of nature persists, this regularity of natural principles, this invariance of natural principles, specific conditionality. A Realized One understands this and comprehends it, then he explains, teaches, asserts, establishes, clarifies, analyzes, and reveals it. ‘Look,’ he says, ‘Rebirth is a condition for old age and death.’
Continued existence is a condition for rebirth … Grasping is a condition for continued existence … Craving is a condition for grasping …
Feeling is a condition for craving … Contact is a condition for feeling … The six sense fields are a condition for contact … Name and form are conditions for the six sense fields …
Consciousness is a condition for name and form …
Choices are a condition for consciousness … Ignorance is a condition for choices. Whether Realized Ones arise or not, this law of nature persists, this regularity of natural principles, this invariance of natural principles, specific conditionality. A Realized One understands this and comprehends it, then he explains, teaches, asserts, establishes, clarifies, analyzes, and reveals it. ‘Look,’ he says, ‘Ignorance is a condition for choices.’ So the fact that this is real, not unreal, not otherwise; the specific conditionality of it: this is called dependent origination.
And what are the dependently originated phenomena? Old age and death are impermanent, conditioned, dependently originated, liable to end, vanish, fade away, and cease. Rebirth … Continued existence … Grasping … Craving …
Feeling … Contact … The six sense fields … Name and form …
Consciousness …
Choices … Ignorance is impermanent, conditioned, dependently originated, liable to end, vanish, fade away, and cease. These are called the dependently originated phenomena.
When a noble disciple has clearly seen with right wisdom this dependent origination and these dependently originated phenomena as they are, it’s impossible for them to turn back to the past, thinking: ‘Did I exist in the past? Did I not exist in the past? What was I in the past? How was I in the past? After being what, what did I become in the past?’ Or to turn forward to the future, thinking: ‘Will I exist in the future? Will I not exist in the future? What will I be in the future? How will I be in the future? After being what, what will I become in the future?’ Or to be undecided about the present, thinking: ‘Am I? Am I not? What am I? How am I? This sentient being—where did it come from? And where will it go?’ Why is that? Because that noble disciple has clearly seen with right wisdom this dependent origination and these dependently originated phenomena as they are.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthī. “Bhikkhus, I will teach you dependent origination and dependently arisen phenomena. Listen and attend closely, I will speak.”
“Yes, venerable sir,” those bhikkhus replied. The Blessed One said this:
“And what, bhikkhus, is dependent origination? ‘With birth as condition, aging-and-death comes to be’: whether there is an arising of Tathagatas or no arising of Tathagatas, that element still persists, the stableness of the Dhamma, the fixed course of the Dhamma, specific conditionality. A Tathagata awakens to this and breaks through to it. Having done so, he explains it, teaches it, proclaims it, establishes it, discloses it, analyses it, elucidates it. And he says: ‘See! With birth as condition, bhikkhus, aging-and-death.’
“‘With existence as condition, birth’ … ‘With clinging as condition, existence’ … ‘With craving as condition, clinging’ … ‘With feeling as condition, craving’ … ‘With contact as condition, feeling’ … ‘With the six sense bases as condition, contact’ … ‘With name-and-form as condition, the six sense bases’ … ‘With consciousness as condition, name-and-form’ … ‘With volitional formations as condition, consciousness’ … ‘With ignorance as condition, volitional formations’: whether there is an arising of Tathagatas or no arising of Tathagatas, that element still persists, the stableness of the Dhamma, the fixed course of the Dhamma, specific conditionality. A Tathagata awakens to this and breaks through to it. Having done so, he explains it, teaches it, proclaims it, establishes it, discloses it, analyses it, elucidates it. And he says: ‘See! With ignorance as condition, bhikkhus, volitional formations.’
“Thus, bhikkhus, the actuality in this, the inerrancy, the nototherwiseness, specific conditionality: this is called dependent origination.
“And what, bhikkhus, are the dependently arisen phenomena? Aging-and-death, bhikkhus, is impermanent, conditioned, dependently arisen, subject to destruction, vanishing, fading away, and cessation. Birth is impermanent … Existence is impermanent … Clinging is impermanent … Craving is impermanent … Feeling is impermanent … Contact is impermanent … The six sense bases are impermanent … Name-and-form is impermanent … Consciousness is impermanent … Volitional formations are impermanent … Ignorance is impermanent, conditioned, dependently arisen, subject to destruction, vanishing, fading away, and cessation. These, bhikkhus, are called the dependently arisen phenomena.
“When, bhikkhus, a noble disciple has clearly seen with correct wisdom as it really is this dependent origination and these dependently arisen phenomena, it is impossible that he will run back into the past, thinking: ‘Did I exist in the past? Did I not exist in the past? What was I in the past? How was I in the past? Having been what, what did I become in the past?’ Or that he will run forward into the future, thinking: ‘Will I exist in the future? Will I not exist in the future? What will I be in the future? How will I be in the future? Having been what, what will I become in the future?’ Or that he will now be inwardly confused about the present thus: ‘Do I exist? Do I not exist? What am I? How am I? This being—where has it come from, and where will it go?’
“For what reason is this impossible? Because, bhikkhus, the noble disciple has clearly seen with correct wisdom as it really is this dependent origination and these dependently arisen phenomena.”
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา) ความเป็นไปตามธรรมดา (ธัมมนิยามตา) ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจตา) ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ตถาคตย่อมรู้พร้อม ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาดูเถิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล ธาตุใดในกรณีนั้น อันเป็นตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น เป็นอวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็นอนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปปันนธรรมเป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย ชาติเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย ภพเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย นามรูปเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันธรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นชัดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ในกาลนั้น การที่อริยสาวกนั้นจักแล่นไปสู่ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีแล้วหรือหนอ ในอดีตกาลเราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ ในอดีตกาลเราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรอีกหนอ หรือว่าอริยสาวกนั้นจักแล่นไปสู่ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาลเราจักมีหรือไม่หนอ ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไรต่อไปหนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยปรารภกาลอันเป็นปัจจุบันในบัดนี้ว่า เรามีอยู่หรือหนอ เราไม่มีอยู่หรือหนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาจากที่ไหนแล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหนอีกหนอ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นชัดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/30/60.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//30
https://etipitaka.com/read/pali/16/30