Mindfulness as the guardian of the mind helps giving up the five kinds of sensual stimulation
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, before my awakening—when I was still unawakened but intent on awakening—I thought: ‘My mind might often stray towards the five kinds of sensual stimulation that I formerly experienced—which have passed, ceased, and perished—or to those in the present, or in the future a little.’
Then it occurred to me: ‘In my own way I should practice diligence, mindfulness, and protecting the mind regarding the five kinds of sensual stimulation that I formerly experienced—which have passed, ceased, and perished.’
So, mendicants, your minds might also often stray towards the five kinds of sensual stimulation that you formerly experienced—which have passed, ceased, and perished—or to those in the present, or in the future a little. So in your own way you should practice diligence, mindfulness, and protecting the mind regarding the five kinds of sensual stimulation that you formerly experienced—which have passed, ceased, and perished.
So you should understand that dimension where the eye ceases and perception of sights fades away. You should understand that dimension where the ear … nose … tongue … body … mind ceases and perception of thoughts fades away.”
When he had spoken, the Blessed One got up from his seat and entered his dwelling.
Soon after the Buddha left, those mendicants considered, “The Buddha gave this brief summary, then entered his dwelling without explaining the meaning in detail. … Who can explain in detail the meaning of this brief summary given by the Buddha?”
Then those mendicants thought, “This Venerable Ānanda is praised by the Buddha and esteemed by his sensible spiritual companions. He is capable of explaining in detail the meaning of this brief summary given by the Buddha. Let’s go to him, and ask him about this matter.”
Then those mendicants went to Ānanda, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, they sat down to one side. They told him what had happened, and said, “May Venerable Ānanda please explain this.”
“Reverends, suppose there was a person in need of heartwood. …”
“Please explain this, if it’s no trouble.”
“Then listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, reverend,” they replied. Ānanda said this:
“Reverends, the Buddha gave this brief summary, then entered his dwelling without explaining the meaning in detail:
‘So you should understand that dimension where the eye ceases and perception of sights fades away. You should understand that dimension where the ear … nose … tongue … body … mind ceases and perception of thoughts fades away.’
And this is how I understand the detailed meaning of this summary.
The Buddha was referring to the cessation of the six sense fields when he said: ‘So you should understand that dimension where the eye ceases and perception of sights fades away. You should understand that dimension where the ear … nose … tongue … body … mind ceases and perception of thoughts fades away.’
The Buddha gave this brief summary, then entered his dwelling without explaining the meaning in detail. And this is how I understand the detailed meaning of this summary.
If you wish, you may go to the Buddha and ask him about this. You should remember it in line with the Buddha’s answer.”
“Yes, reverend,” replied those mendicants. Then they rose from their seats and went to the Buddha, bowed, sat down to one side, and told him what had happened.
Then they said, “And Ānanda explained the meaning to us in this manner, with these words and phrases.”
“Mendicants, Ānanda is astute, he has great wisdom. If you came to me and asked this question, I would answer it in exactly the same way as Ānanda. That is what it means, and that’s how you should remember it.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, before my enlightenment, while I was still a bodhisatta, not yet fully enlightened, the thought occurred to me: ‘My mind may often stray towards those five cords of sensual pleasure that have already left their impression on the heart but which have passed, ceased, and changed, or towards those that are present, or slightly towards those in the future.’ Then it occurred to me: ‘Being set on my own welfare, I should practise diligence, mindfulness, and guarding of the mind in regard to those five cords of sensual pleasure that have already left their impression on the heart, which have passed, ceased, and changed.’
“Therefore, bhikkhus, in your case too your minds may often stray towards those five cords of sensual pleasure that have already left their impression on the heart but which have passed, ceased, and changed, or towards those that are present, or slightly towards those in the future. Therefore, bhikkhus, being set on your own welfare, you should practise diligence, mindfulness, and guarding of the mind in regard to those five cords of sensual pleasure that have already left their impression on the heart but which have passed, ceased, and changed.
“Therefore, bhikkhus, that base should be understood, where the eye ceases and perception of forms fades away. That base should be understood, where the ear ceases and perception of sounds fades away.… That base should be understood, where the mind ceases and perception of mental phenomena fades away. That base should be understood.”
Having said this, the Blessed One rose from his seat and entered his dwelling. Then, soon after the Blessed One had left, the bhikkhus considered … all as in preceding sutta down to: [99–100] … The Venerable Ānanda said this:
“Friends, when the Blessed One rose from his seat and entered his dwelling after reciting a synopsis in brief without expounding the meaning in detail—that is: ‘Therefore, bhikkhus, that base should be understood, where the eye ceases and perception of forms fades away…. That base should be understood, where the mind ceases and perception of mental phenomena fades away. That base should be understood’—I understand the detailed meaning of this synopsis as follows: This was stated by the Blessed One, friends, with reference to the cessation of the six sense bases.
“Friends, when the Blessed One rose from his seat and entered his dwelling after reciting a synopsis in brief without expounding the meaning in detail … I understand the meaning of this synopsis in detail to be thus. Now, friends, if you wish, go to the Blessed One and ask him about the meaning of this. As the Blessed One explains it to you, so you should remember it.”
“Yes, friends,” those bhikkhus replied, and having risen from their seats, they went to the Blessed One. After paying homage to him, they sat down to one side and told the Blessed One all that had taken place after he had left, adding: “Then, venerable sir, we approached the Venerable Ānanda and asked him about the meaning. The Venerable Ānanda expounded the meaning to us in these ways, with these terms, with these phrases.”
“Ānanda is wise, bhikkhus, Ānanda has great wisdom. If you had asked me the meaning of this, I would have explained it to you in the same way that it has been explained by Ānanda. Such is the meaning of this, and so you should remember it.”
ภิกษุทั้งหลาย ก่อนการตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ อันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้วในกาลก่อน ได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเรา เมื่อจะแล่น ก็จะแล่นไปสู่กามคุณอันเป็นอดีต น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณอันเป็นปัจจุบันหรืออนาคต ภิกษุทั้งหลาย เราได้ทำการคิดต่อไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งที่เราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณ ๕ อันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้วในกาลก่อน และได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ โดยมากแม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็ย่อมแล่นไปสู่กามคุณ ๕ อันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้วในกาลก่อน และได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เช่นเดียวกัน) น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณอันเป็นปัจจุบันหรืออนาคต ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตนเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณ ๕ อันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้วในกาลก่อน และได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น.
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ท่านอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นผู้รู้ทั้งหลายยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ถ้าอย่างไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกับท่านเถิด.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่พวกผมโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระองค์เสด็จไปแล้วไม่นาน พวกผมจึงคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่พวกผมโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ พวกผมจึงคิดกันว่า ท่านอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นผู้รู้ทั้งหลายยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ถ้าอย่างไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกับท่านเถิด ขอท่านอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อพบต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่เฉพาะหน้า กลับมองข้ามโคนและลำต้นเสีย เข้าใจไปว่าจะหาแก่นได้ที่กิ่งและใบ ผู้มีอายุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงอยู่ต่อหน้าท่านทั้งหลาย แต่ท่านทั้งหลายกลับมองข้ามพระองค์ไปเสีย แล้วมาเข้าใจว่าเนื้อความนี้จะสอบถามได้ที่ผม อาวุโสทั้งหลาย แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตะ เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต1 เวลานี้เป็นกาลอันสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกับพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตอบปัญหาแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า อาวุโสอานนท์ ข้อที่ท่านกล่าวนั้นเป็นการถูกต้องแล้วว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตะ เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต เวลานี้เป็นกาลอันสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกับพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตอบปัญหาแก่พวกผมอย่างใด พวกผมก็จะทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่า ท่านอานนท์เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นผู้รู้ทั้งหลายยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านอานนท์เองก็สามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ขอท่านอานนท์อย่าได้หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด.
ถ้าอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร.
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมเข้าใจเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ว่า ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงหมายถึงความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง.
อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร อาวุโสทั้งหลาย ผมเข้าใจเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายหวังอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด พระองค์ทรงตอบปัญหาแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้นอาวุโส ดังนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์มีความคิดว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ตาดับลงในที่ใด รูปสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า หูดับลงในที่ใด สัททสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า จมูกดับลงในที่ใด คันธสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ลิ้นดับลงในที่ใด รสสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า กายดับลงในที่ใด โผฏฐัพพสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น อายตนะเป็นสิ่งที่พึงทราบว่า ใจดับลงในที่ใด ธัมมสัญญาย่อมสิ้นไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ภันเต พวกข้าพระองค์คิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นผู้รู้ทั้งหลายยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ถ้าอย่างไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกับท่านเถิด ครั้นแล้ว พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกับท่าน ท่านอานนท์ก็ได้จำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากเธอทั้งหลายพึงถามเนื้อความข้อนั้นกับเรา แม้เราก็พึงตอบปัญหานั้นเหมือนอย่างที่อานนท์ตอบแล้วนั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น เธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด.
-บาลี สฬา. สํ. 18/121/173.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//121,
https://etipitaka.com/read/pali/18/121
1 ศัพท์บาลีของประโยคนี้ เป็นดังนี้ โส หาวุโส ภควา ชานํ ชานาติ ปสฺสํ ปสฺสติ จกฺขุภูโต ญาณภูโต ธมฺมภูโต พฺรหฺมภูโต วตฺตา ปวตฺตา อตฺถสฺส นินฺเนตา อมตสฺส ทาตา ธมฺมสามี ตถาคโต.