No-one in the world escapes blame.
English translation by Bhikkhu Sujato
It’s always been like this, it’s not just today. They blame you when you’re silent, they blame you when you speak a lot, and even when you speak just right: no-one in the world escapes blame.
There never was, nor will be, nor is there today, someone who is wholly praised or wholly blamed.
If, after watching them day in day out, discerning people praise that sage of impeccable conduct, endowed with ethics and wisdom;
like a pendant of river gold, who is worthy to criticize them? Even the gods praise them, and by Brahmā, too, they’re praised.
Guard against ill-tempered deeds, be restrained in body. Giving up bad bodily conduct, conduct yourself well in body.
Guard against ill-tempered words, be restrained in speech. Giving up bad verbal conduct, conduct yourself well in speech.
Guard against ill-tempered thoughts, be restrained in mind. Giving up bad mental conduct, conduct yourself well in mind.
A sage is restrained in body restrained also in speech, in thought, too, they are restrained: they are restrained in every way.
อตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่โบราณมิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง ย่อมนินทาแม้ผู้พูดมาก ย่อมนินทาแม้ผู้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว (ในอดีต) จักไม่มี (ในอนาคต) และไม่มีอยู่ในบัดนี้.
ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้วทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครเล่าย่อมควรเพื่อจะนินทาบุคคลนั้น ผู้เป็นเหมือนดังแท่งทองชมพูนุช แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็สรรเสริญบุคคลนั้น แม้พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น.
บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติกายสุจริต.
พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วยวาจา ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติวจีสุจริต.
พึงรักษาความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติมโนสุจริต.
นักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้สำรวมแล้วด้วยกาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้นชื่อว่า สำรวมดีแท้.
-บาลี ธ. ขุ. 25/45/27.
https://84000.org/tipitaka/pali/?25//45,
https://etipitaka.com/read/pali/25/45