The story of a potter name Ghaṭīkāra who is the Buddha Kassapa’s chief supporter.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was wandering in the land of the Kosalans together with a large Saṅgha of mendicants. Then the Buddha left the road, and at a certain spot he smiled.
Then Venerable Ānanda thought, “What is the cause, what is the reason why the Buddha smiled? Realized Ones do not smile for no reason.”
So Ānanda got up from his seat, arranged his robe over one shoulder, raised his joined palms toward the Buddha, and said, “What is the cause, what is the reason why the Buddha smiled? Realized Ones do not smile for no reason.”
“Once upon a time, Ānanda, there was a market town in this spot named Vebhaliṅga. It was successful and prosperous and full of people. And Kassapa, a blessed one, a perfected one, a fully awakened Buddha, lived supported by Vebhaliṅga. It was here, in fact, that he had his monastery, where he sat and advised the mendicant Saṅgha.”
Then Ānanda spread out his outer robe folded in four and said to the Buddha, “Well then, sir, may the Blessed One sit here! Then this piece of land will have been occupied by two perfected ones, fully awakened Buddhas.” The Buddha sat on the seat spread out. When he was seated he said to Venerable Ānanda:
“Once upon a time, Ānanda, there was a market town in this spot named Vebhaliṅga. It was successful and prosperous and full of people. And Kassapa, a blessed one, a perfected one, a fully awakened Buddha, lived supported by Vebhaliṅga. It was here, in fact, that he had his monastery, where he sat and advised the mendicant Saṅgha.
The Buddha Kassapa had as chief supporter in Vebhaliṅga a potter named Ghaṭīkāra. Ghaṭīkāra had a dear friend named Jotipāla, a brahmin student. Then Ghaṭīkāra addressed Jotipāla, ‘Come, dear Jotipāla, let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
When he said this, Jotipāla said to him, ‘Enough, dear Ghaṭīkāra. What’s the use of seeing that baldy, that fake ascetic?’
For a second time … and a third time, Ghaṭīkāra addressed Jotipāla, ‘Come, dear Jotipāla, let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
For a third time, Jotipāla said to him, ‘Enough, dear Ghaṭīkāra. What’s the use of seeing that baldy, that fake ascetic?’
‘Well then, dear Jotipāla, let’s take some bathing paste of powdered shell and go to the river to bathe.’
‘Yes, dear,’ replied Jotipāla. So that’s what they did.
Then Ghaṭīkāra addressed Jotipāla, ‘Dear Jotipāla, the Buddha Kassapa’s monastery is not far away. Let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
When he said this, Jotipāla said to him, ‘Enough, dear Ghaṭīkāra. What’s the use of seeing that baldy, that fake ascetic?’
For a second time … and a third time, Ghaṭīkāra addressed Jotipāla, ‘Dear Jotipāla, the Buddha Kassapa’s monastery is not far away. Let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
For a third time, Jotipāla said to him, ‘Enough, dear Ghaṭīkāra. What’s the use of seeing that baldy, that fake ascetic?’
Then Ghaṭīkāra grabbed Jotipāla by the belt and said, ‘Dear Jotipāla, the Buddha Kassapa’s monastery is not far away. Let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
So Jotipāla undid his belt and said to Ghaṭīkāra, ‘Enough, dear Ghaṭīkāra. What’s the use of seeing that baldy, that fake ascetic?’
Then Ghaṭīkāra grabbed Jotipāla by the hair of his freshly-washed head and said, ‘Dear Jotipāla, the Buddha Kassapa’s monastery is not far away. Let’s go to see the Blessed One Kassapa, the perfected one, the fully awakened Buddha. For I regard it as holy to see that Blessed One.’
Then Jotipāla thought, ‘It’s incredible, it’s amazing, how this potter Ghaṭikāra, though born in a lower caste, should presume to grab me by the hair of my freshly-washed head! This must be no ordinary matter.’ He said to Ghaṭīkāra, ‘You’d even milk it to this extent, dear Ghaṭīkāra?’
‘I even milk it to this extent, dear Jotipāla. For that is how holy I regard it to see that Blessed One.’
‘Well then, dear Ghaṭīkāra, release me, we shall go.’
Then Ghaṭīkāra the potter and Jotipāla the brahmin student went to the Buddha Kassapa. Ghaṭīkāra bowed and sat down to one side, but Jotipāla exchanged greetings with the Buddha and sat down to one side.
Ghaṭīkāra said to the Buddha Kassapa, ‘Sir, this is my dear friend Jotipāla, a brahmin student. Please teach him the Dhamma.’ Then the Buddha Kassapa educated, encouraged, fired up, and inspired Ghaṭikāra and Jotipāla with a Dhamma talk. Then they got up from their seat, bowed, and respectfully circled the Buddha Kassapa, keeping him on their right, before leaving.
Then Jotipāla said to Ghatīkāra, ‘Dear Ghaṭīkāra, you have heard this teaching, so why don’t you go forth from the lay life to homelessness?’
‘Don’t you know, dear Jotipāla, that I look after my blind old parents?’
‘Well then, dear Ghaṭīkāra, I shall go forth from the lay life to homelessness.’
Then Ghaṭīkāra and Jotipāla went to the Buddha Kassapa, bowed and sat down to one side. Ghaṭīkāra said to the Buddha Kassapa, ‘Sir, this is my dear friend Jotipāla, a brahmin student. Please give him the going forth.’ And Jotipāla the brahmin student received the going forth, the ordination in the Buddha’s presence.
Not long after Jotipāla’s ordination, a fortnight later, the Buddha Kassapa—having stayed in Vebhaliṅga as long as he wished—set out for Benares. Traveling stage by stage, he arrived at Benares, where he stayed near Benares, in the deer park at Isipatana. King Kikī of Kāsi heard that he had arrived. He had the finest carriages harnessed. He then mounted a fine carriage and, along with other fine carriages, set out in full royal pomp from Benares to see the Buddha Kassapa. He went by carriage as far as the terrain allowed, then descended and approached the Buddha Kassapa on foot. He bowed and sat down to one side. The Buddha educated, encouraged, fired up, and inspired him with a Dhamma talk.
Then King Kikī said to the Buddha, ‘Sir, would the Buddha together with the mendicant Saṅgha please accept tomorrow’s meal from me?’ The Buddha Kassapa consented in silence.
Then, knowing that the Buddha had consented, King Kikī got up from his seat, bowed, and respectfully circled the Buddha, keeping him on his right, before leaving. And when the night had passed, King Kikī had a variety of delicious foods prepared in his own home—soft saffron rice with the dark grains picked out, served with many soups and sauces. Then he had the Buddha informed of the time, saying, ‘Sir, it’s time. The meal is ready.’
Then Kassapa Buddha robed up in the morning and, taking his bowl and robe, went to the home of King Kikī, where he sat on the seat spread out, together with the Saṅgha of mendicants. Then King Kikī served and satisfied the mendicant Saṅgha headed by the Buddha with his own hands with a variety of delicious foods.
When the Buddha Kassapa had eaten and washed his hand and bowl, King Kikī took a low seat and sat to one side. There he said to the Buddha Kassapa, ‘Sir, may the Buddha please accept my invitation to reside in Benares for the rainy season. The Saṅgha will be looked after in the same style.’
‘Enough, great king. I have already accepted an invitation for the rains residence.’
For a second time … and a third time King Kikī said to the Buddha Kassapa, ‘Sir, may the Buddha please accept my invitation to reside in Benares for the rainy season. The Saṅgha will be looked after in the same style.’
‘Enough, Great King. I have already accepted an invitation for the rains residence.’
Then King Kikī, thinking, ‘The Buddha does not accept my invitation to reside for the rains in Benares,’ became sad and upset. Then King Kikī said to the Buddha Kassapa, ‘Sir, do you have another supporter better than me?’
‘Great king, there is a market town named Vebhaliṅga, where there’s a potter named Ghaṭīkāra. He is my chief supporter. Now, great king, you thought, “The Buddha does not accept my invitation to reside for the rains in Benares,” and you became sad and upset. But Ghaṭīkāra doesn’t get upset, nor will he.
Ghaṭīkāra has gone for refuge to the Buddha, the teaching, and the Saṅgha. He doesn’t kill living creatures, steal, commit sexual misconduct, lie, or take alcoholic drinks that cause negligence. He has experiential confidence in the Buddha, the teaching, and the Saṅgha, and has the ethics loved by the noble ones. He is free of doubt regarding suffering, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation. He eats in one part of the day; he’s celibate, ethical, and of good character. He has set aside gems and gold, and rejected gold and money. He’s put down the shovel and doesn’t dig the earth with his own hands. He takes what has crumbled off by a riverbank or been dug up by mice, and brings it back in a carrier. When he has made a pot, he says, “Anyone may leave bagged sesame, mung beans, or chickpeas here and take what they wish.” He looks after his blind old parents. And since he has ended the five lower fetters, Ghaṭīkāra will be reborn spontaneously and will become extinguished there, not liable to return from that world.
This one time, great king, I was staying near the market town of Vebhaliṅga. Then I robed up in the morning and, taking my bowl and robe, went to the home of Ghaṭīkāra’s parents, where I said to them, “Excuse me, where has Bhaggava gone?”
“Your supporter has gone out, sir. But take rice from the pot and sauce from the pan and eat.” So that’s what I did. And after eating I got up from my seat and left.
Then Ghaṭīkāra went up to his parents and said, “Who took rice from the pot and sauce from the pan, ate it, and left?”
“It was the Buddha Kassapa, my dear.”
Then Ghaṭīkāra thought, “I’m so fortunate, so very fortunate, in that the Buddha Kassapa trusts me so much!” Then joy and happiness did not leave him for a fortnight, or his parents for a week.
Another time, great king, I was staying near that same market town of Vebhaliṅga. Then I robed up in the morning and, taking my bowl and robe, went to the home of Ghaṭīkāra’s parents, where I said to them, “Excuse me, where has Bhaggava gone?”
“Your supporter has gone out, sir. But take porridge from the pot and sauce from the pan and eat.” So that’s what I did. And after eating I got up from my seat and left.
Then Ghaṭīkāra went up to his parents and said, “Who took porridge from the pot and sauce from the pan, ate it, and left?”
“It was the Buddha Kassapa, my dear.”
Then Ghaṭīkāra thought, “I’m so fortunate, so very fortunate, to be trusted so much by the Buddha Kassapa!” Then joy and happiness did not leave him for a fortnight, or his parents for a week.
Another time, great king, I was staying near that same market town of Vebhaliṅga. Now at that time my hut leaked. So I addressed the mendicants,
“Mendicants, go to Ghaṭikāra’s home and find some grass.”
When I said this, those mendicants said to me, “Sir, there’s no grass there, but his workshop has a grass roof.”
“Then go to the workshop and strip the grass.” So that’s what they did.
Then Ghaṭīkāra’s parents said to those mendicants, “Who’s stripping the grass from the workshop?”
“It’s the mendicants, sister. The Buddha’s hut is leaking.”
“Take it, sirs! Take it, my dears!”
Then Ghaṭīkāra went up to his parents and said, “Who stripped the grass from the workshop?”
“It was the mendicants, dear. It seems the Buddha’s hut is leaking.”
Then Ghaṭīkāra thought, “I’m so fortunate, so very fortunate, to be trusted so much by the Buddha Kassapa!” Then joy and happiness did not leave him for a fortnight, or his parents for a week.
Then the workshop remained with the sky for a roof for the whole three months, but no rain fell on it. And that, great king, is what Ghaṭīkāra the potter is like.’
‘Ghaṭīkāra the potter is fortunate, very fortunate, to be so trusted by the Buddha Kassapa.’
Then King Kikī sent around five hundred cartloads of rice, soft saffron rice, and suitable sauce to Ghaṭīkāra. Then one of the king’s men approached Ghaṭīkāra and said, ‘Sir, these five hundred cartloads of rice, soft saffron rice, and suitable sauce have been sent to you by King Kikī of Kāsī. Please accept them.’
‘The king has many duties, and much to do. I have enough. Let this be for the king himself.’
Ānanda, you might think: ‘Surely the brahmin student Jotipāla must have been someone else at that time?’ But you should not see it like this. I myself was the student Jotipāla at that time.”
That is what the Buddha said. Satisfied, Venerable Ānanda was happy with what the Buddha said.
English translation by I.B. Horner
Thus have I heard: At one time the Lord was walking on tour among the Kosalans together with a large Order of monks. Then the Lord, turning aside from the road, smiled (when he came to a) certain place. Then it occurred to the venerable Ānanda: “What is the cause, what the reason that the Lord is smiling? Not without motive do Tathāgatas smile.” Then the venerable Ānanda, having arranged his robe over one shoulder, having saluted the Lord with joined palms, spoke thus to the Lord: “Now, revered sir, what is the cause, what the reason that the Lord is smiling? Not without motive do Tathāgatas smile.”
“Once upon a time, Ānanda, in this district there was a village township called Vebhaḷiṅga, prosperous and wealthy and crowded with people. And, Ānanda, the Lord Kassapa, perfected one, fully Self-Awakened One, lived depending on the village township of Vebhaḷiṅga. At that time, Ānanda, the monastery of the Lord Kassapa … was here. At that time, Ānanda, the Lord Kassapa … instructed an Order of monks while he was seated here.”
Then the venerable Ānanda, having laid down an outer cloak folded into four, spoke thus to the Lord: “Well then, revered sir, let the Lord sit down. This self-same piece of ground will (then) have been made use of by two perfected ones, fully Self-Awakened Ones.” Then the Lord sat down on an appointed seat. As he was seated the Lord spoke thus to the venerable Ānanda:
“Once upon a time, Ānanda, in this district (as above) … the Lord Kassapa … instructed an Order of monks while he was seated here. And, Ānanda, in the village township of Vebhaḷiṅga the potter name Ghaṭīkāra was a supporter—the chief supporter—of the Lord Kassapa … And, Ānanda, a brahman youth named Jotipāla was a friend—a dear friend—of the potter Ghaṭīkāra. Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra addressed the brahman youth Jotipāla, saying: ‘Let us go, dear Jotipāla, we will approach the Lord Kassapa … so as to see him. A sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’ When this had been said, Ānanda, the brahman youth Jotipāla spoke thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘Yes, dear Ghaṭīkāra, but of what use is it to see this little shaveling recluse?’
And a second time … And a third time, Ānanda, did Ghaṭīkāra the potter speak thus to the brahman youth Jotipāla: ‘Let us go, dear Jotipāla, we will approach the Lord Kassapa …’ … ‘Yes, dear Ghaṭīkāra, but of what use is it to see this little shaveling recluse?’
‘Well then, dear Jotipāla, taking a back-scratcher and bath-powder, we will go to the river to bathe.’ Ānanda, the brahman youth Jotipāla answered the potter Ghaṭīkāra in assent, saying: ‘Yes, dear.’
Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra and the brahman youth Jotipāla, taking a back-scratcher and bath-powder, went to the river to bathe. Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra spoke thus to the brahman youth Jotipāla: ‘This, dear Jotipāla, is near the monastery of the Lord Kassapa … Let us go, dear Jotipāla, we will approach the Lord Kassapa … so as to see him. A sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’ When this had been said, Ānanda, the brahman youth Jotipāla spoke thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘Yes, dear Ghaṭīkāra, but of what use is it to see this little shaveling recluse?’
And a second time … And a third time, Ānanda, did Ghaṭīkāra the potter spoke thus to the brahman youth Jotipāla: ‘This, dear Jotipāla, is near the monastery of the Lord Kassapa … A sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’ And a third time, Ānanda, did the brahman youth Jotipāla speak thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘Yes, dear Ghaṭīkāra, but of what use is it to see this little shaveling recluse?’
Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra, having laid hold of the brahman youth Jotipāla by the waist-band, spoke thus: ‘This, dear Jotipāla, is near the monastery of the Lord Kassapa … Let us go, dear Jotipāla, we will approach the Lord Kassapa so as to see him. A sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’ Then, Ānanda, the brahman youth Jotipāla, having disengaged his waist-band, spoke thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘Yes, dear Ghaṭīkāra, but of what use is it to see this little shaveling recluse?’ Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra, having laid hold of the brahman youth Jotipāla by the hair—he had just performed an ablution of his head—spoke thus: ‘This, dear Jotipāla, is near the monastery of the Lord Kassapa … Let us go … A sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’
Then, Ānanda, it occurred to the brahman youth Jotipāla: ‘Indeed it is wonderful, indeed it is marvellous, that this potter Ghaṭīkāra, being of lowly birth, should lay hold of my hair although I have performed an ablution of my head,’ and should think: ‘Indeed this surely cannot be insignificant.’ He spoke thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘Is it really necessary, dear Ghaṭīkāra?’ ‘It is really necessary, dear Jotipāla, most surely a sight of this Lord, perfected one, fully Self-Awakened One, would be greatly prized by me.’
‘Well then, dear Ghaṭīkāra, let go (of my hair); we will get along.’
Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra and the brahman youth Jotipāla approached the Lord Kassapa … When they had approached, Ghaṭīkāra the potter greeted the Lord Kassapa … and sat down at a respectful distance. But the brahman youth Jotipāla exchanged greetings with the Lord Kassapa … and having conversed in a friendly and courteous way, he sat down at a respectful distance. And Ānanda, as the potter Ghaṭīkāra was sitting down at a respectful distance, he spoke thus to the Lord Kassapa … : ‘Revered sir, this brahman youth Jotipāla is my friend—my dear friend. Let the Lord teach him dhamma.’ Then, Ānanda, the Lord Kassapa … gladdened, roused, incited, delighted the potter Ghaṭīkāra and the brahman youth Jotipāla, with talk on dhamma. Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra and the brahman youth Jotipāla, gladdened, roused, incited, delighted by the Lord Kassapa’s … talk on dhamma, having rejoiced in what the Lord Kassapa … had said, having given thanks and risen from their seats, greeting the Lord Kassapa … they departed keeping their right sides towards him.
Then, Ānanda, the brahman youth Jotipāla spoke thus to the potter Ghaṭīkāra: ‘How is it that you, dear Ghaṭīkāra, on hearing this dhamma, do not go forth from home into homelessness?’”
‘But, dear Jotipāla, do you not know that I look after my blind and ageing parents?’
‘Well then, dear Ghaṭīkāra, I will go forth from home into homelessness.’
Then, Ānanda, the potter Ghaṭīkāra and the brahman youth Jotipāla approached the Lord Kassapa …; having approached and having greeted the Lord Kassapa … they sat down at a respectful distance. And, Ānanda, as Ghaṭīkāra the potter was sitting down at a respectful distance, he spoke thus to the Lord Kassapa …: ‘Revered sir, this brahman youth Jotipāla is my friend—my dear friend. May the Lord let him go forth.’ Ānanda, Jotipāla the brahman youth received the going forth in the presence of the Lord Kassapa …, he received the ordination. Then, Ānanda, not long after the brahman youth Jotipāla had received ordination—half a month after his ordination—the Lord Kassapa …, having stayed at Vebhaḷiṅga for as long as he found suitable, set out on tour for Benares; walking on tour, in due course he arrived at Benares.
While he was there, Ānanda, the Lord Kassapa … stayed near Benares at Isipatana in the deer-park. Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, heard that the Lord Kassapa … had arrived at Benares and was staying near Benares at Isipatana in the deer-park. Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, having had many lovely vehicles harnessed, having mounted a lovely vehicle, set off for Benares with the many lovely vehicles and with great royal pomp so as to see the Lord Kassapa … For as long as the ground was possible for a vehicle he went in the vehicle, then having dismounted from it, he approached the Lord Kassapa … on foot; having approached and having greeted the Lord Kassapa … he sat down at a respectful distance. Ānanda, as Kikī, the king of Kāsi, was sitting down at a respectful distance, the Lord Kassapa … roused, incited, gladdened and delighted him with talk on dhamma. Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, roused … delighted by the Lord Kassapa … with talk on dhamma, spoke thus to the Lord Kassapa …:
‘Revered sir, may the Lord consent to a meal with me on the morrow together with the Order of monks.’ Ānanda, the Lord Kassapa consented by becoming silent. Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, having understood the Lord Kassapa’s consent, rising from his seat and greeting the Lord Kassapa, departed keeping his right side towards him. Then, Ānanda, towards the end of that night when Kikī, the king of Kāsi, had had sumptuous foods, solid and soft, prepared in his own dwelling: dry yellow rices, various curries, the black grains removed, and various condiments, he had the time announced to the Lord Kassapa, saying: ‘It is time, revered sir, the meal is ready.’
Then, Ānanda, the Lord Kassapa, having dressed in the morning, taking his bowl and robe, approached the dwelling of Kikī, the king of Kāsi, having approached, he sat down on the appointed seat together with the Order of monks. Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, with his own hand served and satisfied with sumptuous foods, solid and soft, the Order of monks with the Awakened One at its head. Then, Ānanda, when the Lord Kassapa had eaten and had withdrawn his hand from the bowl, Kikī, the king of Kāsi, taking a low seat, sat down at a respectful distance. As he was sitting down at a respectful distance, Kikī, the king of Kāsi spoke thus to the Lord Kassapa: ‘Revered sir, may the Lord consent to (accept) my rains-residence in Benares; there will be suitable support for the Order.’
‘No, sire, I have (already) consented to (accept) a rains-residence.’ And a second time … And a third time, Ānanda, did Kikī, the king of Kāsi, speak thus to the Lord Kassapa …: ‘Revered sir, may the Lord consent to (accept) my rains-residence in Benares; there will be suitable support for the Order.’
‘No, sire, I have (already) consented to (accept) a rains-residence.’
Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi thought: ‘The Lord Kassapa … does not consent to (accept) my rains-residence in Benares,’ and he was depressed and grieved. Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, spoke thus to the Lord Kassapa …: ‘Then, have you, revered sir, some other supporter than me?’
‘There is, sire, a village township called Vebhaḷiṅga. There is a potter there called Ghaṭīkāra; he is my supporter—the chief supporter. But you, sire, think: The Lord Kassapa … does not consent to (accept) my rains-residence in Benares, and you are depressed and grieved. This is not so with the potter Ghaṭīkāra and nor can it be so. For, sire, the potter Ghaṭīkāra has gone to the Awakened One for refuge, he has gone to dhamma for refuge, he has gone to the Order for refuge. Ghaṭīkāra, the potter, sire, is restrained from onslaught on creatures, restrained from taking what has not been given, restrained from wrong enjoyment of sense-pleasures, restrained from lying speech, restrained from occasions of sloth engendered by strong drink and spirits. Ghaṭīkāra the potter, sire, is possessed of unwavering confidence in the Awakened One … in dhamma … the Order, he is possessed of moral habits that are dear to the ariyans. Ghaṭīkāra the potter, sire, doubts not about anguish … the uprising of anguish … the stopping of anguish, he doubts not about the course leading to the stopping of anguish. Ghaṭīkāra the potter, sire, is a one-meal-man, a Brahma-farer, virtuous, lovely in character. Ghaṭīkāra the potter, sire, is one who has laid aside jewels and wrought gold, who is without gold and silver. Ghaṭīkāra the potter, sire, does not dig the earth either with a spade or with his own hand; willingly he makes a vessel from the soil of a bank that is crumbling or scratched out by rats and dogs, and he speaks thus: “He that likes, if he lays down fragments of husked rice here, fragments of kidney-beans, fragments of chick-peas, may take whatever he likes.” Ghaṭīkāra the potter, sire, looks after his blind ageing parents. Ghaṭīkāra the potter, sire, by the destruction of the five fetters binding to this lower (shore), is of spontaneous uprising, he attains final nibbāna there, he is not liable to return from that world.
At one time I, sire, was staying in a village township of Vebhaḷiṅga. Then I, sire, having dressed in the morning, taking my bowl and robe, approached the parents of the potter Ghaṭīkāra; having approached, I spoke thus to the parents of the potter Ghaṭīkāra: “Now, where has this potter gone?” “Revered sir, your supporter has gone out, saying: Now, having taken conjey from the pot, having taken curry from the cauldron, enjoy them.” Then I, sire, having taken conjey from the pot, having taken curry from the cauldron, enjoyed them, and rising up from my seat I departed. Then, sire, Ghaṭīkāra the potter approached his parents; having approached, he spoke thus to his parents: “Who is it that, having taken conjey from the pot, having taken curry from the cauldron and having enjoyed them, is going away?” “It is the Lord Kassapa …, dear, that, having taken conjey … is going away.” Then, sire, it occurred to Ghaṭīkāra the potter: “Indeed it is a gain for me, indeed it is well gotten by me that the Lord Kassapa … has such trust in me.” Then, sire, joy and happiness did not leave Ghaṭīkāra the potter for half a month or his parents for seven days.
At one time I, sire, was staying in this very village township of Vebhaḷiṅga. Then I, sire, having dressed in the morning … (as above) … spoke thus to the parents of the potter Ghaṭīkāra: “Now, where has this potter gone?” “Revered sir, your supporter has gone out, saying: Now, having taken boiled rice from the pan, having taken curry from the cauldron, enjoy them.” Then I, sire, having taken boiled rice from the pan, having taken curry from the cauldron, enjoyed them, and rising up from my seat I departed. Then, sire, the potter Ghaṭīkāra approached his parents … (as above, reading; having taken boiled rice from the pan, having taken curry from the cauldron) … Then, sire, joy and happiness did not leave the potter Ghaṭīkāra for half a month or his parents for seven days.
At one time I, sire, was staying in this very village township of Vebhaḷiṅga. At that time the hut leaked. So I, sire, addressed the monks, saying: “Go, monks, and find out if there is grass in the dwelling of Ghaṭīkāra the potter.” When this had been said, sire, the monks spoke thus to me: “There is no grass, revered sir, in the dwelling of Ghaṭīkāra the potter, but his house has a grass roof.” “Go, monks, and strip the grass from the house of Ghaṭīkāra the potter.” Then, sire, these monks stripped the grass from the house of Ghaṭīkāra the potter. Then, sire, the parents of Ghaṭīkāra the potter spoke thus to the monks: “Who are they that are stripping the grass from the house?” “Sister,” the monks said, “the Lord Kassapa,’s hut is leaking.” “Take it, revered sirs, take it, my honourable friends.” Then, sire, Ghaṭīkāra the potter approached his parents; having approached, he spoke thus to his parents: “Who are they that have stripped the grass from the house?” “Monks, dear; the hut of the Lord Kassapa … is leaking.” Then, sire, it occurred to Ghaṭīkāra the potter: “Indeed it is a gain for me, indeed it is well gotten by me that the Lord Kassapa … has such trust in me.” Then, sire, joy and happiness did not leave the potter Ghaṭīkāra for half a month or his parents for seven days. Then, sire, for a whole three months that house stood with its roof open to the sky, but it did not rain into it. Such a one, sire, is Ghaṭīkāra the potter.’
‘It is a gain, revered sir, it is well gotten, revered sir, by Ghaṭīkāra the potter in whom the Lord has such trust.’
Then, Ānanda, Kikī, the king of Kāsi, sent as many as five hundred cartloads of husked rice to Ghaṭīkāra the potter, dry yellow rices and suitable curries. Then, Ānanda, these kings’ men, having approached Ghaṭīkāra the potter, spoke thus: ‘These five hundred cartloads of husked rice, revered sir, have been sent to you by Kikī, the king of Kāsi, with dry yellow rices and suitable curries. Accept them, revered sir.’ ‘The king is very busy, there is much to be done. I am quite satisfied since this is for me from the king.’
It may be, Ānanda, that this will occur to you: ‘Now, at that time the brahman youth Jotipāla was someone else.’ But this, Ānanda, should not be thought of in this way. I, at that time, was Jotipāla the brahman youth.”
Thus spoke the Lord. Delighted, the venerable Ānanda rejoiced in what the Lord had said.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะพักริมทาง แล้วได้แย้ม (พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ ณ ที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรงกระทำการแย้ม (พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ พระตถาคตย่อมไม่ทรงกระทำการแย้ม (พระโอษฐ์) ให้ปรากฏหากไม่มีเหตุ.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรงกระทำการแย้ม (พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ พระตถาคตย่อมไม่ทรงทำการแย้ม (พระโอษฐ์) ให้ปรากฏหากไม่มีเหตุ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่ นี้เคยมีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมที่มั่งคั่งและเจริญ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น อานนท์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงอาศัยอยู่ในเวภฬิคนิคม อานนท์ ได้ยินว่า ที่นี่เป็นอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ อานนท์ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ประทับนั่งสั่งสอนภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ถ้าอย่างนั้นขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทับนั่ง ณ ที่นี้เถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ภูมิประเทศนี้จักได้เป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ๒ พระองค์ทรงใช้สอย.
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวายแล้ว จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่นี้ เคยมีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมที่มั่งคั่งและเจริญ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น อานนท์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงอาศัยอยู่ในเวภฬิคนิคม อานนท์ ได้ยินว่า ที่นี่เป็นอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ อานนท์ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ประทับนั่งสั่งสอนภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้.
อานนท์ ในเวภฬิคนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ซึ่งเป็นอุปัฏฐากอันเลิศ อานนท์ มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ซึ่งเป็นสหายรักกัน.
อานนท์ ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะ เรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
อานนท์ เมื่อช่างหม้อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ การได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
อานนท์ แม้ครั้งที่สอง ช่างหม้อฆฏิการะก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
อานนท์ แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ การได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
อานนท์ แม้ครั้งที่สาม ช่างหม้อฆฏิการะก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
อานนท์ แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ การได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะจึงกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เรามาถือเอาเครื่องสำหรับถูกตัวเมื่อเวลาอาบน้ำ (จุรณ) ไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด โชติปาลมาณพรับคำช่างหม้อฆฏิการะแล้ว.
อานนท์ ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะและโชติปาลมาณพ ได้ถือเอาเครื่องสำหรับถูกตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ อานนท์ ครั้งนั้นแล ช่างหม้อฆฏิการะได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ที่นี่ก็ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
อานนท์ เมื่อช่างหม้อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวกะช่างหม้อฆฏิการะว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ การได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
แม้ครั้งที่สอง ช่างหม้อฆฏิการะก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ที่นี่ก็ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะช่างหม้อฆฏิการะว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะการได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
แม้ครั้งที่สาม ช่างหม้อฆฏิการะก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ที่นี่ก็ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะช่างหม้อฆฏิการะว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะการได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
อานนท์ ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะได้จับโชติปาลมาณพที่ชายพกแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ที่นี่ก็ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
ลำดับนั้น โชติปาลมาณพให้ช่างหม้อฆฏิการะปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ การได้เห็นสมณะหัวโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า.
อานนท์ ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะจับที่ผมของโชติปาลมาณพ ผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ ที่นี่ก็ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
ครั้งนั้น โชติปาลมาณพมีความคิดว่า ข้อนี้น่าอัศจรรย์หนอท่าน ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อนหนอท่าน ที่ช่างหม้อฆฏิการะผู้มีชาติกำเนิดที่ต่ำ จะมาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่เราจะไปด้วยนี้ เห็นจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยหนอ ดังนี้แล้ว ได้กล่าวกะช่างหม้อฆฏิการะว่า เพื่อนฆฏิการะ การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่พูดชักชวน (แล้วเปลี่ยนมา) จับที่ชายพก จนล่วงเลยถึงมาจับที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้ไปในสำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เท่านั้นเองหรือ.
เท่านั้นเอง เพื่อนโชติปาละ จริงอย่างนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ถือกันว่าเป็นความดี.
เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเราเถิด พวกเราจักไปด้วยกัน.
อานนท์ ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะยังที่ประทับแล้ว ช่างหม้อฆฏิการะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะแล้วจึงนั่งในที่สมควร ส่วนโชติปาลมาณพได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่งในที่สมควร ครั้นนั่งกันเรียบร้อยแล้ว ช่างหม้อฆฏิการะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะว่า ภันเต นี้คือโชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรักของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่โชติปาลมาณพนี้เถิด.
อานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงชี้แจงช่างหม้อฆฏิการะ และโชติปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะ และโชติปาลมาณพอันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทำให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
อานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามช่างหม้อฆฏิการะว่า เพื่อนฆฏิการะ ท่านเมื่อฟังธรรมนี้ หลังจากนี้จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือไม่.
เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่มิใช่หรือว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดและแก่ชราแล้ว.
เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
อานนท์ ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะแล้วจึงนั่งในที่สมควร ช่างหม้อฆฏิการะได้ทูลว่า ภันเต นี้คือโชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรักของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดให้โชติปาลมาณพนี้บวชด้วยเถิด ดังนี้ โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ.
อานนท์ ครั้นเมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทแล้วไม่นานประมาณ ๑ ปักษ์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ประทับอยู่ในเวภฬิคนิคมตามควรแก่อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครพาราณสี เสด็จจาริกไปแล้วโดยลำดับ จนถึงพระนครพาราณสีแล้ว.
อานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตพระนครพาราณสี1 อานนท์ ครั้งนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีได้ทรงสดับข่าวว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะเสด็จถึงพระนครพาราณสี ได้ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อานนท์ ครั้งนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี รับสั่งให้จัดยานพาหนะที่ดีๆ แล้วทรงขึ้นยานพาหนะอย่างดี เสด็จออกจากพระนครพาราณสีด้วยยานพาหนะอย่างดี ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ เสด็จไปจนสุดทางเท่าที่ยานพาหนะจะไปได้แล้ว จึงลงจากยานพาหนะ ทรงเดินด้วยเท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่งในที่สมควร.
อานนท์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงชี้แจงพระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา อานนท์ ลำดับนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีอันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทำให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ทูลว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด อานนท์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ อานนท์ ครั้นพระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ รับนิมนต์แล้ว ได้ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป.
อานนท์ พอผ่านราตรีนั้นไป พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี รับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวและของฉันประณีต ล้วนแต่เป็นข้าวสาลีอันขาวและอ่อนละมุน เก็บกากออกหมดแล้ว มีแกงและกับเป็นอันมาก ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษไปทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะว่า ภันเต ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.
อานนท์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของพระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้นพระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี ทรงถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีต แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยมือของตนเอง ครั้นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะเสวยเสร็จ วางมือจากบาตรแล้ว พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี ทรงถืออาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จักได้บำรุงสงฆ์เห็นปานนี้.
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะตรัสว่า อย่าเลย มหาราช เรารับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว.
แม้ครั้งที่สอง พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีได้ทูลว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จักได้บำรุงสงฆ์เห็นปานนี้.
แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะก็ตรัสว่า อย่าเลย มหาราช เรารับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว.
แม้ครั้งที่สาม พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีได้ทูลว่า ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จักได้บำรุงสงฆ์เห็นปานนี้.
แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะก็ตรัสว่า อย่าเลย มหาราช เรารับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว.
ครั้งนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกีทรงเสียพระทัย มีความโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ดังนี้ แล้วได้ทูลถามว่า ภันเต มีใครอื่นที่เป็นอุปัฏฐากที่ยิ่งกว่าข้าพระองค์หรือ.
มีอยู่ มหาราช นิคมชื่อเวภฬิคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะอยู่ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐากของเรา นับเป็นอุปัฏฐากอันเลิศ ท่านทรงเสียใจ มีความโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษาในเมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มี และจักไม่มีในช่างหม้อฆฏิการะ.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะรักใคร่.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขสมุทัย เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ทานอาหารวันหนึ่งแม้เพียงหนเดียว เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ ไม่ใช้แก้วมณีและทองคำ (เป็นเครื่องประดับ) ปราศจากการใช้ทองและเงิน.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ ไม่ขุดแผ่นดินด้วยพลั่ว และไม่ขุดด้วยมือของตน หาบแต่ดินริมตลิ่งที่พัง หรือขุยหนูมาทำเป็นภาชนะ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ในภาชนะเหล่านี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว หรือถุงใส่ถั่วดำไว้ แล้วนำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้ตาบอดและแก่ชรา.
มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นโอปปาติกะ ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป.
มหาราช ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะนั้นเอง เวลาเช้าเรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของช่างหม้อฆฏิการะยังที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า มารดาบิดาของช่างหม้อฆฏิการะตอบว่า ภันเต อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด.
มหาราช ครั้งนั้น เราได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป มารดาบิดาบอกว่า ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
มหาราช ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะมีความคิดอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา มหาราช ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อฆฏิการะตลอด ๑ ปักษ์ ไม่จากหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน.
มหาราช ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง ครั้งนั้นเวลาเช้าเรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของช่างหม้อฆฏิการะยังที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า มารดาบิดาของช่างหม้อฆฏิการะตอบว่า ภันเต อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมกุมมาสจากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด.
มหาราช ครั้งนั้น เราได้เอาขนมกุมมาสจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ลำดับนั้น ช่างหม้อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาขนมกุมมาสจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงบริโภค แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป มารดาบิดาบอกว่า ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงเอาขนมกุมมาสจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
มหาราช ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะมีความคิดอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา มหาราช ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อฆฏิการะตลอด ๑ ปักษ์ ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน.
มหาราช ครั้งหนึ่ง เราอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง ก็สมัยนั้น กุฏิรั่ว เราจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญ้าที่นิเวศน์ของช่างหม้อฆฏิการะว่ามีหรือไม่ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของช่างหม้อฆฏิการะไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนของเขาอยู่เท่านั้น เราได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อฆฏิการะมาเถิด.
มหาราช ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อฆฏิการะมาแล้ว ลำดับนั้น มารดาบิดาของช่างหม้อฆฏิการะได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเล่า ภิกษุทั้งหลายตอบว่า น้องหญิง กุฎีของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะรั่ว มารดาบิดาช่างหม้อฆฏิการะได้กล่าวว่า เอาไปเถิด ภันเต เอาไปตามสะดวกเถิด ภันเต.
มหาราช ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะ เข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า มารดาบิดาตอบว่า ลูกเอ๋ย ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฎีของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะรั่ว.
มหาราช ครั้งนั้น ช่างหม้อฆฏิการะมีความคิดอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะพระนามว่ากัสสปะ ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา มหาราช ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อฆฏิการะตลอด ๑ ปักษ์ ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน.
มหาราช และครั้งนั้น เรือนที่ช่างหม้อฆฏิการะอยู่หลังนั้น มีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอด ๓ เดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว มหาราช ช่างหม้อฆฏิการะมีคุณเห็นปานนี้.
ภันเต เป็นลาภของช่างหม้อฆฏิการะแล้วหนอ ช่างหม้อฆฏิการะได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา.
อานนท์ ครั้งนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี ได้ส่งเกวียนบรรทุกข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีประมาณ ๕๐๐ เล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ไปพระราชทานแก่ช่างหม้อฆฏิการะ อานนท์ ครั้งนั้น ราชบุรุษทั้งหลายเข้าไปหาช่างหม้อฆฏิการะแล้ว ได้กล่าวว่า ภันเต นี่ข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลี บรรทุกใส่เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น พระราชาแคว้นกาสีนามว่ากิกี ส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว ขอภันเตโปรดรับของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด.
ช่างหม้อฆฏิการะได้ตอบว่า พระราชามีกิจมาก มีกรณียะมาก ของที่พระราชทานมานี้ อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด.
อานนท์ เธออาจจะมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น โชติปาลมาณพคงเป็นคนอื่นเป็นแน่ แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเราได้เป็นโชติปาลมาณพ.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล.
-บาลี ม. ม. 13/374/403.
https://84000.org/tipitaka/pali/?13//374, https://etipitaka.com/read/pali/13/374
1 แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อ พาราณสี