Spreading a heartful of love, compassion, rejoicing, and equanimity leads to the cessation of action.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, I don’t say that intentional deeds that have been performed and accumulated are eliminated without being experienced. And that may be in the present life, or in the next life, or in some subsequent period. And I don’t say that suffering is ended without experiencing intentional deeds that have been performed and accumulated.
That noble disciple is rid of desire, rid of ill will, unconfused, aware, and mindful. They meditate spreading a heart full of love to one direction, and to the second, and to the third, and to the fourth. In the same way above, below, across, everywhere, all around, they spread a heart full of love to the whole world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.
They understand: ‘Formerly my mind was limited and undeveloped. Now it’s limitless and well developed. Whatever limited deeds I’ve done don’t remain or persist there.’
What do you think, mendicants? Suppose a child had developed the heart’s release by love from their childhood on. Would they still do any bad deed?”
“No, sir.”
“Not doing any bad deed, would they still experience any suffering?”
“No, sir. For if they don’t do any bad deed, from where would suffering afflict them?”
“This heart’s release by love should be developed by women or men. For neither women nor men take this body with them when they go. The mind is what’s inside mortal beings. They understand: ‘Whatever bad deeds I have done in the past with this deed-born body I will experience here. It will not follow me to my next life.’ The heart’s release by love developed in this way leads to non-return for a wise mendicant here who has not penetrated to a higher freedom.
They meditate spreading a heart full of compassion … They meditate spreading a heart full of rejoicing … They meditate spreading a heart full of equanimity to one direction, and to the second, and to the third, and to the fourth. In the same way above, below, across, everywhere, all around, they spread a heart full of equanimity to the whole world—abundant, expansive, limitless, free of enmity and ill will.
They understand: ‘Formerly my mind was limited and undeveloped. Now it’s limitless and well developed. Whatever limited deeds I’ve done don’t remain or persist there.’
What do you think, mendicants? Suppose a child had developed the heart’s release by equanimity from their childhood on. Would they still do any bad deed?”
“No, sir.”
“Not doing any bad deed, would they still experience any suffering?”
“No, sir. For if they don’t do any bad deed, from where would suffering afflict them?”
“This heart’s release by equanimity should be developed by women or men. For neither women nor men take this body with them when they go. The mind is what’s inside mortal beings. They understand: ‘Whatever bad deeds I have done in the past with this deed-born body I will experience here. It will not follow me to my next life.’ The heart’s release by equanimity developed in this way leads to non-return for a wise mendicant here who has not penetrated to a higher freedom.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, I do not say that there is a termination of volitional kamma that has been done and accumulated so long as one has not experienced its results, and that may be in this very life, or in the next rebirth, or on some subsequent occasion. But I do not say that there is making an end of suffering so long as one has not experienced the results of volitional kamma that has been done and accumulated.
“This noble disciple, bhikkhus, who is thus devoid of longing, devoid of ill will, unconfused, clearly comprehending, ever mindful, dwells pervading one quarter with a mind imbued with loving-kindness, likewise the second quarter, the third quarter, and the fourth quarter. Thus above, below, across, and everywhere, and to all as to himself, he dwells pervading the entire world with a mind imbued with loving-kindness, vast, exalted, measureless, without enmity, without ill will. He understands thus: ‘Previously, my mind was limited and undeveloped, but now it is measureless and well developed. No measurable kamma remains or persists there.’
“What do you think, bhikkhus, if a youth were to develop the liberation of mind by loving-kindness from his childhood on, would he do a bad deed?”
“No, Bhante.”
“Could suffering affect him if he does no bad deed?” “No, Bhante. For on what account could suffering affect one who does no bad deed?”
“A woman or a man should develop this liberation of mind by loving-kindness. A woman or a man cannot take this body with them when they go. Mortals have mind as their core.
“The noble disciple understands: ‘Whatever bad deed I did here in the past with this deed-born body is all to be experienced here. It will not follow along.’ When the liberation of mind by loving-kindness has been developed in this way, it leads to non-returning for a wise bhikkhu here who does not penetrate to a further liberation.
“This noble disciple, bhikkhus, who is thus devoid of longing, devoid of ill will, unconfused, clearly comprehending, ever mindful, dwells pervading one quarter with a mind imbued with compassion … with a mind imbued with altruistic joy … with a mind imbued with equanimity, likewise the second quarter, the third quarter, and the fourth quarter. Thus above, below, across, and everywhere, and to all as to himself, he dwells pervading the entire world with a mind imbued with equanimity, vast, exalted, measureless, without enmity, without ill will. He understands thus: ‘Previously, my mind was limited and undeveloped, but now it is measureless and well developed. No measurable kamma remains or persists there.’
“What do you think, bhikkhus, if a youth would develop the liberation of mind by equanimity, from his childhood on, would he do a bad deed?”
“No, Bhante.”
“Could suffering affect him if he does no bad deed?”
“No, Bhante. For on what account could suffering affect one who does no bad deed?”
“A woman or a man should develop this liberation of mind by equanimity. A woman or a man cannot take this body with them when they go. Mortals have mind as their core.
“The noble disciple understands: ‘Whatever bad deed I did here in the past with this deed-born body is all to be experienced here. It will not follow along.’ When the liberation of mind by equanimity has been developed in this way, it leads to non-returning for a wise bhikkhu here who does not penetrate to a further liberation.”
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์ผู้ทำพึงได้รับในปัจจุบัน หรือในเวลาถัดไป หรือในเวลาถัดต่อๆ ไปอีก ภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำขึ้น สั่งสมขึ้น.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อน จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ หากเด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ (มีใจเต็มไปด้วยความเมตตา) ตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาจะทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ก็ทุกข์จะถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต ภันเต ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษควรเจริญโดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ได้มีส่วนที่สตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีสภาพจะต้องตายนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า กรรมอันเป็นบาปใดๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ (กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ) ทำแล้วในกาลก่อน กรรมอันเป็นบาปนั้นทั้งหมด จักเป็นกรรมอันเราพึงได้รับในอัตภาพนี้ และจักไม่ติดตามไป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่เจริญแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาในกรณีนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดซึ่งวิมุตติอันยิ่ง.
อริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยกรุณา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อน จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ หากเด็กนี้พึงเจริญกรุณาเจโตวิมุตติ (มีใจเต็มไปด้วยความกรุณา) ตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาจะพึงทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต ภันเต ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษควรเจริญโดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ได้มีส่วนที่สตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีสภาพจะต้องตายนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า กรรมอันเป็นบาปใดๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน กรรมอันเป็นบาปนั้นทั้งหมด จักเป็นกรรมอันเราพึงได้รับในอัตภาพนี้ และจักไม่ติดตามไป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติที่เจริญแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาในกรณีนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดซึ่งวิมุตติอันยิ่ง.
อริยสาวกมีจิตประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยมุทิตา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อน จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ หากเด็กนี้พึงเจริญมุทิตาเจโตวิมุตติ (มีใจเต็มไปด้วยความมุทิตา) ตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาจะพึงทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต ภันเต ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษควรเจริญโดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ได้มีส่วนที่สตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีสภาพจะต้องตายนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า กรรมอันเป็นบาปใดๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน กรรมอันเป็นบาปนั้นทั้งหมด จักเป็นกรรมอันเราพึงได้รับในอัตภาพนี้ และจักไม่ติดตามไป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติที่เจริญแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาในกรณีนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดซึ่งวิมุตติอันยิ่ง.
อริยสาวกมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันอย่างนั้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วหน้าเสมอกัน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทแล้วแลอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อน จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ หากเด็กนี้พึงเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติ (มีใจเต็มไปด้วยความอุเบกขา) ตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาจะพึงทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต.
ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปบ้างไหม.
ไม่เป็นอย่างนั้น ภันเต ภันเต ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำกรรมอันเป็นบาปได้อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษควรเจริญโดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ได้มีส่วนที่สตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีสภาพจะต้องตายนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า กรรมอันเป็นบาปใดๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน กรรมอันเป็นบาปนั้นทั้งหมด จักเป็นกรรมอันเราพึงได้รับในอัตภาพนี้ และจักไม่ติดตามไป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติที่เจริญแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาในกรณีนี้ ผู้ยังไม่แทงตลอดซึ่งวิมุตติอันยิ่ง.
-บาลี ทสก. อํ. 24/321/196.
https://84000.org/tipitaka/pali/?24//321, https://etipitaka.com/read/pali/24/321/