Four great references. (1) [What should definitely bear in mind that such things are the teaching, the training, and the Teacher’s instructions.]
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near the city of Bhoga, at the Ānanda Tree-shrine.
There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!”
“Venerable sir,” they replied.
The Buddha said this: “Mendicants, I will teach you the four great references. Listen and apply your mind well, I will speak.”
“Yes, sir,” they replied. The Buddha said this:
“Mendicants, what are the four great references?
Take a mendicant who says: ‘Reverend, I have heard and learned this in the presence of the Buddha: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they do not fit in the discourse and are not exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is not the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been incorrectly memorized by that mendicant.’ And so you should reject it.
Take another mendicant who says: ‘Reverend, I have heard and learned this in the presence of the Buddha: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they fit in the discourse and are exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been correctly memorized by that mendicant.’ You should remember it. This is the first great reference.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery lives a Saṅgha with seniors and leaders. I’ve heard and learned this in the presence of that Saṅgha: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they do not fit in the discourse and are not exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is not the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been incorrectly memorized by that Saṅgha.’ And so you should reject it.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery lives a Saṅgha with seniors and leaders. I’ve heard and learned this in the presence of that Saṅgha: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they fit in the discourse and are exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been correctly memorized by that Saṅgha.’ You should remember it. This is the second great reference.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery there are several senior mendicants who are very learned, inheritors of the heritage, who remember the teachings, the monastic law, and the outlines. I’ve heard and learned this in the presence of those senior mendicants: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they do not fit in the discourse and are not exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is not the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been incorrectly memorized by those senior mendicants.’ And so you should reject it.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery there are several senior mendicants who are very learned, inheritors of the heritage, who remember the teachings, the monastic law, and the outlines. I’ve heard and learned this in the presence of those senior mendicants: this is the teaching, this is the monastic law, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they fit in the discourse and are exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been correctly memorized by those senior mendicants.’ You should remember it. This is the third great reference.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery there is a single senior mendicant who is very learned, an inheritor of the heritage, who has memorized the teachings, the monastic law, and the outlines. I’ve heard and learned this in the presence of that senior mendicant: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they do not fit in the discourse and are not exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is not the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been incorrectly memorized by that senior mendicant.’ And so you should reject it.
Take another mendicant who says: ‘In such-and-such monastery there is a single senior mendicant who is very learned, an inheritor of the heritage, who has memorized the teachings, the monastic law, and the outlines. I’ve heard and learned this in the presence of that senior mendicant: this is the teaching, this is the training, this is the Teacher’s instruction.’ You should neither approve nor dismiss that mendicant’s statement. Instead, having carefully memorized those words and phrases, you should make sure they fit in the discourse and are exhibited in the training. If they fit in the discourse and are exhibited in the training, you should draw the conclusion: ‘Clearly this is the word of the Blessed One, the perfected one, the fully awakened Buddha. It has been correctly memorized by that senior mendicant.’ You should remember it. This is the fourth great reference.
These are the four great references.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ เขตโภคนคร … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส ๔ ประการเหล่านี้1 เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปเทส ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ไม่ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ไม่ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้ไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธแน่นอน และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาปเทสข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของสงฆ์นั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ไม่ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ไม่ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้ไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงนั้นคำนั้นเสีย ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของสงฆ์นั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธแน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาปเทสข้อที่ ๒ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระจำนวนมากอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ไม่ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ไม่ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้ไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมาผิด เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุทั้งหลาย ในกรณี ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระจำนวนมากอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาปเทสข้อที่ ๓ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระรูปหนึ่งอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ไม่ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ไม่ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้ไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาผิด เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ถ้ามีภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย เมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงในพระสูตรก็ได้ สอบสวนในพระวินัยก็ได้ ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธแน่นอน และพระเถระรูปนั้นรับมาดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาปเทสข้อที่ ๔ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล มหาปเทส ๔ ประการ
-บาลี จตุก. อํ. 21/227/180.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//227, https://etipitaka.com/read/pali/21/227
1 เป็นเรื่องเดียวกันที่ปรากฏใน มหาปรินิพพานสูตร -บาลี มหา. ที. 10/144/112. แต่สำนวนแปลอาจจะต่างกันไปบ้างในบางแห่ง เพราะบาลีต่างกัน