The Buddha preached Venerable Assaji who was sick, suffering, and gravely ill.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Rājagaha, in the Bamboo Grove, the squirrels’ feeding ground. Now at that time Venerable Assaji was staying in a monastery built by a Kassapa, and he was sick, suffering, gravely ill. Then he addressed his carers:
“Please, reverends, go to the Buddha, and in my name bow with your head to his feet. Say to him: ‘Sir, the mendicant Assaji is sick, suffering, gravely ill. He bows with his head to your feet.’ And then say: ‘Sir, please go to the mendicant Assaji out of compassion.’”
“Yes, reverend,” those monks replied. They did as he asked. The Buddha consented in silence.
Then in the late afternoon, the Buddha came out of retreat and went to Venerable Assaji. Venerable Assaji saw the Buddha coming off in the distance, and tried to rise on his cot.
But the Buddha said to him, “It’s all right, Assaji, don’t get up. There are some seats spread out by others, I will sit there.”
He sat on the seat spread out and said, “I hope you’re keeping well, Assaji; I hope you’re alright. And I hope the pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“Sir, I’m not all right, I’m not getting by. My pain is terrible and growing, not fading, its growing is evident, not its fading.”
“I hope you don’t have any remorse or regret?”
“Indeed, sir, I have no little remorse and regret.”
“I hope you have no reason to blame yourself when it comes to ethical conduct?”
“No sir, I have no reason to blame myself when it comes to ethical conduct.”
“In that case, Assaji, why do you have remorse and regret?”
“Sir, before my time of illness I meditated having completely stilled the physical process. But now I can’t get immersion. Since I can’t get immersion, I think: ‘May I not decline!’”.
“Assaji, there are ascetics and brahmins for whom samādhi is the essence, equating immersion with the ascetic life. They think: ‘May we not decline!’
What do you think, Assaji? Is form permanent or impermanent?”
“Impermanent, sir.” ….
“Is consciousness permanent or impermanent?” ….
“So you should truly see … Seeing this … They understand: ‘… there is no return to any state of existence.’
If they feel a pleasant feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t relish it. If they feel a painful feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t relish it. If they feel a neutral feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t relish it. If they feel a pleasant feeling, they feel it detached. If they feel a painful feeling, they feel it detached. If they feel a neutral feeling, they feel it detached. Feeling the end of the body approaching, they understand: ‘I feel the end of the body approaching.’ Feeling the end of life approaching, they understand: ‘I feel the end of life approaching.’ They understand: ‘When my body breaks up and my life is over, everything that’s felt, being no longer relished, will become cool right here.’
Suppose an oil lamp depended on oil and a wick to burn. As the oil and the wick are used up, it would be extinguished due to lack of fuel.
In the same way, feeling the end of the body approaching, they understand: ‘I feel the end of the body approaching.’ Feeling the end of life approaching, they understand: ‘I feel the end of life approaching.’ They understand: ‘When my body breaks up and my life is over, everything that’s felt, being no longer relished, will become cool right here.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
On one occasion the Blessed One was dwelling at Rajagaha in the Bamboo Grove, the Squirrel Sanctuary. Now on that occasion the Venerable Assaji was dwelling at Kassapaka’s Park, sick, afflicted, gravely ill.
“Then if you have nothing for which to reproach yourself in regard to virtue, Assaji, why are you troubled by remorse and regret?”
“Formerly, venerable sir, when I was ill I kept on tranquillizing the bodily formations, but now I do not obtain concentration. As I do not obtain concentration, it occurs to me: ‘Let me not fall away!’”.
“Those ascetics and brahmins, Assaji, who regard concentration as the essence and identify concentration with asceticism, failing to obtain concentration, might think, ‘Let us not fall away!’
“What do you think, Assaji, is form permanent or impermanent?”—“Impermanent, venerable sir.”… —“Therefore … Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’
“If he feels a pleasant feeling, he understands: ‘It is impermanent’; he understands: ‘It is not held to’; he understands: ‘It is not delighted in.’ If he feels a painful feeling, he understands: ‘It is impermanent’; he understands: ‘It is not held to’; he understands: ‘It is not delighted in.’ If he feels a neither-painful-nor-pleasant feeling, he understands: ‘It is impermanent’; he understands: ‘It is not held to’; he understands: ‘It is not delighted in.’
“If he feels a pleasant feeling, he feels it detached; if he feels a painful feeling, he feels it detached; if he feels a neither-painful-nor-pleasant feeling, he feels it detached.
“When he feels a feeling terminating with the body, he understands: ‘I feel a feeling terminating with the body.’ When he feels a feeling terminating with life, he understands: ‘I feel a feeling terminating with life.’ He understands: ‘With the breakup of the body, following the exhaustion of life, all that is felt, not being delighted in, will become cool right here.’
“Just as, Assaji, an oil lamp burns in dependence on the oil and the wick, and with the exhaustion of the oil and the wick it is extinguished through lack of fuel, so too, Assaji, when a bhikkhu feels a feeling terminating with the body … terminating with life … He understands: ‘With the breakup of the body, following the exhaustion of life, all that is felt, not being delighted in, will become cool right here.’”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระอัสสชิป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่อารามของกัสสปเศรษฐี ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโสทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ จงกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วกล่าวว่า ภันเต อัสสชิภิกษุป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และท่านทั้งหลายจงกล่าวอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุยังที่อยู่เถิด.
ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านอัสสชิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาค ภันเต อัสสชิภิกษุป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาทูลว่า สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิยังที่อยู่ ท่านพระอัสสชิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า
อย่าเลย อัสสชิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ที่ได้จัดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่า อัสสชิ เธอพออดทนได้หรือ เธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการย่อมปรากฏว่าทุเลาลง ไม่ปรากฏความกำเริบขึ้นหรือ.
ท่านพระอัสสชิทูลว่า ภันเต ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แรงกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ลดลงเลย อาการนั้นปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่ปรากฏความทุเลาลงเลย.
อัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนเรื่องอะไรบ้างหรือ.
ภันเต แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.
อัสสชิ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้บ้างหรือไม่.
ภันเต ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย.
อัสสชิ ถ้าหากว่า เธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรำคาญ และความเดือดร้อนเรื่องอะไร.
ภันเต เมื่อก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขารได้อย่างยากลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักเสื่อมหรือไม่หนอ.
อัสสชิ สมณหรือพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ1เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเสื่อมหรือไม่หนอ อัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ภันเต.
เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ภันเต.
เพราะเหตุนั้นแหละ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
อัสสชิ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
อัสสชิ อริยสาวกนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นอทุกขมสุข เธอย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นอทุกขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น.
อริยสาวกนั้น เมื่อได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด เมื่อได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.
อัสสชิ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้แล้วก็ลุกโพลงอยู่ได้ เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมันและไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง อัสสชิ ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกเมื่อได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด เมื่อได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/151/222.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//151, https://etipitaka.com/read/pali/17/151
1 สามัญญะ = สามัญ, ทั่วไป, ปกติ