The benefit of immersion.
“Mendicants, when immersion due to mindfulness of breathing is developed and cultivated it’s very fruitful and beneficial. How so?
It’s when a mendicant has gone to a wilderness, or to the root of a tree, or to an empty hut. They sit down cross-legged, with their body straight, and establish mindfulness right there. Just mindful, they breathe in. Mindful, they breathe out. When breathing in heavily they know: ‘I’m breathing in heavily.’ When breathing out heavily they know: ‘I’m breathing out heavily.’ … They practice like this: ‘I’ll breathe in observing letting go.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing letting go.’ That’s how immersion due to mindfulness of breathing, when developed and cultivated, is very fruitful and beneficial.
Before my awakening—when I was still unawakened but intent on awakening—I too usually practiced this kind of meditation. And while I was usually practicing this kind of meditation neither my body nor my eyes became fatigued. And my mind was freed from defilements by not grasping.
Now, a mendicant might wish: ‘May neither my body nor my eyes became fatigued. And may my mind be freed from grasping without defilements.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I give up memories and thoughts of the lay life.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive and the repulsive.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive and the unrepulsive.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘May I meditate staying equanimous, mindful and aware, rejecting both the repulsive and the unrepulsive.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, may I enter and remain in the first absorption, which has the rapture and bliss born of seclusion, while placing the mind and keeping it connected.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘As the placing of the mind and keeping it connected are stilled, may I enter and remain in the second absorption, which has the rapture and bliss born of immersion, with internal clarity and confidence, and unified mind, without placing the mind and keeping it connected.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘With the fading away of rapture, may I enter and remain in the third absorption, where I will meditate with equanimity, mindful and aware, personally experiencing the bliss of which the noble ones declare, “Equanimous and mindful, one meditates in bliss.”’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘With the giving up of pleasure and pain, and the ending of former happiness and sadness, may I enter and remain in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Going totally beyond perceptions of form, with the ending of perceptions of impingement, not focusing on perceptions of diversity, aware that “space is infinite”, may I enter and remain in the dimension of infinite space.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Going totally beyond the dimension of infinite space, aware that “consciousness is infinite”, may I enter and remain in the dimension of infinite consciousness.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Going totally beyond the dimension of infinite consciousness, aware that “there is nothing at all”, may I enter and remain in the dimension of nothingness.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Going totally beyond the dimension of nothingness, may I enter and remain in the dimension of neither perception nor non-perception.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
Now, a mendicant might wish: ‘Going totally beyond the dimension of neither perception nor non-perception, may I enter and remain in the cessation of perception and feeling.’ So let them closely focus on this immersion due to mindfulness of breathing.
When mindfulness of breathing has been developed and cultivated in this way, if they feel a pleasant feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t take pleasure in it. If they feel a painful feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t take pleasure in it. If they feel a neutral feeling, they understand that it’s impermanent, that they’re not attached to it, and that they don’t take pleasure in it.
If they feel a pleasant feeling, they feel it detached. If they feel a painful feeling, they feel it detached. If they feel a neutral feeling, they feel it detached. Feeling the end of the body approaching, they understand: ‘I feel the end of the body approaching.’ Feeling the end of life approaching, they understand: ‘I feel the end of life approaching.’ They understand: ‘When my body breaks up and my life has come to an end, everything that’s felt, since I no longer take pleasure in it, will become cool right here.’
Suppose an oil lamp depended on oil and a wick to burn. As the oil and the wick are used up, it would be extinguished due to lack of fuel. In the same way, feeling the end of the body approaching, they understand: ‘I feel the end of the body approaching.’ Feeling the end of life approaching, they understand: ‘I feel the end of life approaching.’ They understand: ‘When my body breaks up and my life has come to an end, everything that’s felt, since I no longer take pleasure in it, will become cool right here.’”
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความจางคลายหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความจางคลายหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความดับไม่เหลือหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความดับไม่เหลือหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนหายใจออก.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย แม้เราเอง เมื่อยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทาน.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทาน ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า ความระลึกและดำริอันอาศัยเรือนเหล่าใดที่เรามีอยู่ ความระลึกและความดำริเหล่านั้นพึงสิ้นไป ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เราพึงเป็นผู้เว้นขาดจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เราพึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เราพึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุดเถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า อะไร ๆ ไม่มี ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้แล้ว อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้ ภิกษุนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้ ภิกษุนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นอทุกขมสุข เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเวทนานั้นเราไม่เพลิดเพลินแล้ว ดังนี้.
ภิกษุนั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น ถ้าได้รับเวทนาอันเป็นอทุกขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันอยู่กับเวทนานั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด เมื่อได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้แล้วก็ลุกโพลงอยู่ได้ เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมันและไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีกายเป็นที่สุด เมื่อได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราได้รับเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/400/1327.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//400, https://etipitaka.com/read/pali/19/400