One hundred and eight feelings. (1)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery.
Then the master builder Pañcakaṅga went up to Venerable Udāyī, bowed, sat down to one side, and said to him, “Sir, how many feelings has the Buddha spoken of?”
“Master builder, the Buddha has spoken of three feelings: pleasant, painful, and neutral. The Buddha has spoken of these three feelings.”
When he said this, Pañcakaṅga said to Udāyī, “Sir, Udāyī, the Buddha hasn’t spoken of three feelings. He’s spoken of two feelings: pleasant and painful. The Buddha said that neutral feeling is included as a peaceful and subtle kind of pleasure.”
For a second time, Udāyī said to Pañcakaṅga, “The Buddha hasn’t spoken of two feelings, he’s spoken of three.” For a second time, Pañcakaṅga said to Udāyī, “The Buddha hasn’t spoken of three feelings, he’s spoken of two.”
And for a third time, Udāyī said to Pañcakaṅga, “The Buddha hasn’t spoken of two feelings, he’s spoken of three.”
And for a third time, Pañcakaṅga said to Udāyī, “The Buddha hasn’t spoken of three feelings, he’s spoken of two.”
But neither was able to persuade the other.
Venerable Ānanda heard this discussion between Udāyī and Pañcakaṅga. Then he went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and informed the Buddha of all they had discussed. When he had spoken, the Buddha said to him,
“Ānanda, the explanation by the mendicant Udāyī, which the master builder Pañcakaṅga didn’t agree with, was quite correct. But the explanation by Pañcakaṅga, which Udāyī didn’t agree with, was also quite correct. In one explanation I’ve spoken of two feelings. In another explanation I’ve spoken of three feelings, or five, six, eighteen, thirty-six, or a hundred and eight feelings. I’ve explained the teaching in all these different ways. This being so, you can expect that those who don’t concede, approve, or agree with what has been well spoken will argue, quarrel, and fight, continually wounding each other with barbed words. I’ve explained the teaching in all these different ways. This being so, you can expect that those who do concede, approve, or agree with what has been well spoken will live in harmony, appreciating each other, without quarreling, blending like milk and water, and regarding each other with kindly eyes. …
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เข้าไปหาท่านพระอุทายี อภิวาทท่านพระอุทายีแล้วนั่งในที่สมควร.
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะนั่งในที่สมควรแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า ภันเตอุทายี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไรหนอ.
ท่านพระอุทายีตอบว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการดังนี้แล.
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกล่าวว่า ภันเตอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว.
ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๒ ว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการดังนี้แล.
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวคำเดิมป็นครั้งที่ ๒ ว่า ภันเตอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว.
ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๓ ว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการดังนี้แล.
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๓ ว่าภันเตอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว.
ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะทำให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ และช่างไม้ชื่อปัญจะกังคะก็ไม่สามารถจะทำให้ท่านพระอุทายียินยอมได้.
ท่านพระอานนท์ได้ฟังถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งในที่สมควร ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทูลถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระอานนท์ทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามปริยายอันมีอยู่ของอุทายี และอุทายีก็ไม่ยอมตามปริยายอันมีอยู่ของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ.
อานนท์ แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวโดยปริยาย ถึงเวทนา ๓ เวทนา ๔1 เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ เราก็กล่าวแล้วโดยปริยาย.
อานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลข้อนี้ คือ จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่.
อานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลข้อนี้ คือ จักพร้อมเพรียงกัน บันเทิงต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยสายตาอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่. …
-บาลี ม. ม. 13/94/98.
https://84000.org/tipitaka/pali/?13//94, https://etipitaka.com/read/pali/13/94
1 บาลีฉบับมอญและอักษรโรมัน ไม่มีเวทนา ๔.