Blind men touch an elephant.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. Now at that time several ascetics, brahmins, and wanderers who followed various other religions were residing in Sāvatthī, holding different views and opinions, relying on different views.
There were some ascetics and brahmins who had this doctrine and view: “The self and the cosmos are eternal. This is the only truth, other ideas are silly.”
Others held views such as the following, each regarding their own view as true and others as silly. “The self and the cosmos are not eternal.”
“The self and the cosmos are both eternal and not eternal.”
“The self and the cosmos are neither eternal nor not eternal.”
“The self and the cosmos are made by oneself.”
“The self and the cosmos are made by another.”
“The self and the cosmos are made by both oneself and another.”
“The self and the cosmos have arisen by chance, not made by oneself or another.”
“Pleasure and pain are eternal, and the self and the cosmos.”7
“Pleasure and pain are not eternal, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain are both eternal and not eternal, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain are neither eternal nor not eternal, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain are made by oneself, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain are made by another, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain are made by both oneself and another, and the self and the cosmos.”
“Pleasure and pain have arisen by chance, not made by oneself or another, and the self and the cosmos.”
They were arguing, quarreling, and disputing, continually wounding each other with barbed words: “Such is Truth, such is not Truth! Such is not Truth, such is Truth!”
Then several mendicants robed up in the morning and, taking their bowls and robes, entered Sāvatthī for alms. Then, after the meal, when they returned from almsround, they went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and told him what was happening.
Then, understanding this matter, on that occasion the Buddha expressed this heartfelt sentiment:
“Some ascetics and brahmins, it seems,
cling to these things.
They flounder in mid-stream,
without reaching a firm footing.”
English translation by Bhikkhu Ānandajoti
Thus I heard: At one time the Gracious One was dwelling near Sāvatthī, in Jeta’s Wood, at Anāthapiṇḍika’s monastery. Then at that time many and various sectarians, ascetics, brāhmaṇas, and wanderers were living at Sāvatthī, having various views, various likings, various tendencies, subject to dependence on various views, such as
—
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are eternal and not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are neither eternal nor not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are made by oneself—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are made by another—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are made by oneself and by another—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “The self and the world are neither made by oneself nor by another, but have arisen fortuitously—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are eternal and not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are neither eternal nor not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are made by oneself—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are made by another—this alone is the truth, all else is foolish.”
There were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are made by oneself and by another—this alone is the truth, all else is foolish.”
But there were some ascetics and brāhmaṇas who were of this argument, this view: “Pleasure and pain, the self and the world are neither made by oneself nor by another, but have arisen fortuitously—this alone is the truth, all else is foolish.”
They lived contending, quarelling, disputing, attacking each other with sharp tongues, saying: “Such is Dhamma, such is not Dhamma; such is not Dhamma, such is Dhamma.”
Then many monks, having dressed in the morning time, after picking up their bowls and robes, entered Sāvatthī for alms. And after walking for alms in Sāvatthī, while returning from the alms-round after the meal, they went to the Gracious One, and after going and worshipping the Gracious One, they sat down on one side.
While sat on one side those monks said this to the Gracious One: “Here, reverend Sir, many and various sectarians, ascetics, brāhmaṇas, and wanderers are living at Sāvatthī, having various views, various likings, various tendencies, subject to dependence on various views, such as:
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are eternal and not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are neither eternal nor not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are made by oneself—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are made by another—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are made by oneself and by another—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘The self and the world are neither made by oneself nor by another, but have arisen fortuitously—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are eternal and not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are neither eternal nor not eternal—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are made by oneself—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are made by another—this alone is the truth, all else is foolish.’
There are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are made by oneself and by another—this alone is the truth, all else is foolish.’
But there are some ascetics and brāhmaṇas who are of this argument, this view: ‘Pleasure and pain, the self and the world are neither made by oneself nor by another, but have arisen fortuitously—this alone is the truth, all else is foolish.’
They live contending, quarelling, disputing, attacking each other with sharp tongues, saying: ‘Such is Dhamma, such is not Dhamma; such is not Dhamma, such is Dhamma.’
“Wanderers from other sects, monks, are blind, without vision, they do not know what is good, they do not know what is not good, they do not know what is Dhamma, they do not know what is not Dhamma. They, not knowing what is good, not knowing what is not good, not knowing what is Dhamma, not knowing what is not Dhamma, live contending, quarelling, disputing, attacking each other with sharp tongues, saying: ‘Such is Dhamma, such is not Dhamma; such is not Dhamma, such is Dhamma.’
Then the Gracious One, having understood the significance of it, on that occasion uttered this exalted utterance:
“Some ascetics and brāhmaṇas, it seems, are attached to these views,
Mid-term they sink back depressed, not having attained a firm footing.”
7 Attā ca loko ca here and following is missing from the parallel passage in DN 29:36.9. I assume it has been inserted in error and translate accordingly.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตนครสาวัตถี สมัยนั้น มีสมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก อาศัยอยู่ในนครสาวัตถี ซึ่งเป็นผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิ (ความเห็น) แตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจแตกต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสสัยแตกต่างกัน คือ
๑) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๒) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง อันนี้เท่านั้นความจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๓) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๔) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๕) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน1 อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๖) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน2 อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๗) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต3ย่อมเกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๘) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตย่อมไม่เกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๙) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตย่อมเกิดอีก และไม่เกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๑๐) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่ว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้.
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถี ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร และได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต มีสมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก อาศัยอยู่ในนครสาวัตถีนี้ ซึ่งเป็นผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจแตกต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสสัยแตกต่างกัน คือ
๑) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๒) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง อันนี้เท่านั้นความจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๓) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๔) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่มีที่สุด อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๕) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๖) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๗) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต ย่อมเกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๘) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตย่อมไม่เกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๙) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตย่อมเกิดอีก และไม่เกิดอีก อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
๑๐) มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ อันนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่เป็นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นธรรม จึงเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในนครสาวัตถีนี้เอง มีพระราชาองค์หนึ่ง ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า บุรุษผู้เจริญ คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดในนครสาวัตถีนี้ มีอยู่ประมาณเท่าใด ท่านจงให้คนทั้งหมดนั้น มาประชุมกันในที่แห่งหนึ่ง บุรุษนั้นได้ทำตามรับสั่ง พาคนตาบอดตั้งแต่กำเนิดในนครสาวัตถีทั้งหมดมา แล้วเข้าไปเฝ้าพระราชายังที่ประทับ และได้ทูลพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดในนครสาวัตถีทั้งหมดมาประชุมกันแล้ว พระราชานั้น ได้รับสั่งกับบุรุษนั้นว่า พนาย4 ถ้าอย่างนั้น ท่านจงแสดงช้างแก่คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดทั้งหลายเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้ทำตามรับสั่ง แล้วแสดงช้างแก่คนตาบอดตั้งแต่กำเนิด โดยที่ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งศีรษะช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งหูช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งงาช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งงวงช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งกายช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งเท้าช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งหลังช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งโคนหางช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ให้คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดพวกหนึ่ง คลำซึ่งพวงหางช้าง พร้อมกับบอกว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นบุรุษนั้นแสดงซึ่งช้างแก่พวกคนตาบอดตั้งแต่กำเนิดดังนั้นแล้ว ได้เข้าไปทูลพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ พวกคนตาบอดตั้งแต่กำเนิดเหล่านั้นได้เห็นช้างแล้ว ขอพระองค์โปรดทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ได้เสด็จไปสู่ที่ประชุมแห่งคนตาบอดตั้งแต่กำเนิด แล้วตรัสถามว่า พ่อบอดทั้งหลาย พวกท่านเห็นช้างแล้วหรือ.
คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นแล้ว.
พระราชาตรัสถามว่า ถ้าเห็นแล้ว พ่อบอดทั้งหลายจงบอกทีว่า ช้างนั้นเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย คนตาบอดพวกใด ได้คลำศีรษะช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนหม้อ คนตาบอดพวกใด ได้คลำหูช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนกระด้ง คนตาบอดพวกใด ได้คลำงาช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนผาล5 คนตาบอดพวกใด ได้คลำงวงช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนงอนไถ คนตาบอดพวกใด ได้คลำกายช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนยุ้งข้าว คนตาบอดพวกใด ได้คลำเท้าช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนเสา คนตาบอดพวกใด ได้คลำหลังช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนครกกระเดื่อง6 คนตาบอดพวกใด ได้คลำโคนหางช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนสากตำข้าว คนตาบอดพวกใด ได้คลำพวงหางช้าง ก็กล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ช้างเหมือนไม้กวาด.
ภิกษุทั้งหลาย คนตาบอดตั้งแต่กำเนิดทั้งหลายเหล่านั้น ต่างก็ทุ่มเถียงกันและกันอยู่ว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ช้างไม่เป็นอย่างนี้บ้าง ช้างไม่ใช่เป็นอย่างนี้ ช้างเป็นอย่างนี้ต่างหาก ดังนี้บ้าง ต่างก็ได้ทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยหมัด ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ได้มีความพอพระทัยเป็นอันมากด้วยเหตุนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่เป็นธรรม จึงเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมติดข้องอยู่ในทิฏฐิหนึ่งๆ
แห่งทิฏฐิทั้งหลายเหล่านี้ จึงกล่าวโต้แย้งวิวาทกัน
เหมือนคนตาบอดที่คลำช้างแต่ละส่วน ฉันนั้น.
-บาลี อุ. ขุ 25/179/136.
https://84000.org/tipitaka/pali/?25//179, https://etipitaka.com/read/pali/25/179
1 บางสำนวนแปลใช้ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น.
2 บางสำนวนแปลใช้ว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น.
3 ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า.
4 พนาย = เป็นคำที่เป็นกันเองอันพระราชาใช้กับราษฎรที่อยู่ในบังคับ, เป็นคำสำหรับคนสูงกว่า พูดกับคนผู้ดีที่อยู่ในบังคับตน เช่นพระเจ้าแผ่นดินรับสั่งแก่ข้าราชการ
5 บาลีฉบับมอญ เป็นคำว่า ชีโล หมายถึง หลัก, ตอ
6 บางสำนวนแปลใช้ว่า ครก, ครกตำข้าว