A conversion magic.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Vesālī, at the Great Wood, in the hall with the peaked roof. Then Bhaddiya the Licchavi went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
“Sir, I have heard this: ‘The ascetic Gotama is a magician. He knows a conversion magic, and uses it to convert the disciples of those who follow other paths.’ I trust that those who say this repeat what the Buddha has said, and do not misrepresent him with an untruth? Is their explanation in line with the teaching? Are there any legitimate grounds for rebuke and criticism?”
“Please, Bhaddiya, don’t go by oral transmission, don’t go by lineage, don’t go by testament, don’t go by canonical authority, don’t rely on logic, don’t rely on inference, don’t go by reasoned contemplation, don’t go by the acceptance of a view after consideration, don’t go by the appearance of competence, and don’t think ‘The ascetic is our respected teacher.’ But when you know for yourselves: ‘These things are unskillful, blameworthy, criticized by sensible people, and when you undertake them, they lead to harm and suffering’, then you should give them up.
What do you think, Bhaddiya? Does greed come up in a person for their welfare or harm?”
“Harm, sir.”
“A greedy individual—overcome by greed—kills living creatures, steals, commits adultery, lies, and encourages others to do the same. Is that for their lasting harm and suffering?”
“Yes, sir.”
“What do you think, Bhaddiya? Does hate … or delusion … or aggression come up in a person for their welfare or harm?”
“Harm, sir.”
“An aggressive individual kills living creatures, steals, commits adultery, lies, and encourages others to do the same. Is that for their lasting harm and suffering?”
“Yes, sir.”
“What do you think, Bhaddiya, are these things skillful or unskillful?”
“Unskillful, sir.”
“Blameworthy or blameless?”
“Blameworthy, sir.”
“Criticized or praised by sensible people?”
“Criticized by sensible people, sir.”
“When you undertake them, do they lead to harm and suffering, or not? Or how do you see this?”
“When you undertake them, they lead to harm and suffering. That’s how we see it.”
“So, Bhaddiya, when we said: ‘Please, Bhaddiya, don’t go by oral transmission, don’t go by lineage, don’t go by testament, don’t go by canonical authority, don’t rely on logic, don’t rely on inference, don’t go by reasoned contemplation, don’t go by the acceptance of a view after consideration, don’t go by the appearance of competence, and don’t think “The ascetic is our respected teacher.” But when you know for yourselves: “These things are unskillful, blameworthy, criticized by sensible people, and when you undertake them, they lead to harm and suffering”, then you should give them up.’ That’s what I said, and this is why I said it.
Please, Bhaddiya, don’t rely on oral transmission … But when you know for yourselves: ‘These things are skillful, blameless, praised by sensible people, and when you undertake them, they lead to welfare and happiness’, then you should acquire them and keep them.
What do you think, Bhaddiya? Does contentment … love … understanding … benevolence come up in a person for their welfare or harm?”
“Welfare, sir.”
“An individual who is benevolent—not overcome by aggression—doesn’t kill living creatures, steal, commit adultery, lie, or encourage others to do the same. Is that for their lasting welfare and happiness?”
“Yes, sir.”
“What do you think, Bhaddiya, are these things skillful or unskillful?”
“Skillful, sir.”
“Blameworthy or blameless?”
“Blameless, sir.”
“Criticized or praised by sensible people?”
“Praised by sensible people, sir.”
“When you undertake them, do they lead to welfare and happiness, or not? Or how do you see this?”
“When you undertake them, they lead to welfare and happiness. That’s how we see it.”
“So, Bhaddiya, when we said: ‘Please, Bhaddiya, don’t go by oral transmission, don’t go by lineage, don’t go by testament, don’t go by canonical authority, don’t rely on logic, don’t rely on inference, don’t go by reasoned contemplation, don’t go by the acceptance of a view after consideration, don’t go by the appearance of competence, and don’t think “The ascetic is our respected teacher.” But when you know for yourselves: “These things are skillful, blameless, praised by sensible people, and when you undertake them, they lead to welfare and happiness”, then you should acquire them and keep them.’ That’s what I said, and this is why I said it.
The good people in the world encourage their disciples: ‘Please, mister, live rid of greed. Then you won’t act out of greed by way of body, speech, or mind. Live rid of hate … delusion … aggression. Then you won’t act out of hate … delusion … aggression by way of body, speech, or mind.”
When he said this, Bhaddiya the Licchavi said to the Buddha, “Excellent, sir! … From this day forth, may the Buddha remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
“Well, Bhaddiya, did I say to you: ‘Please, Bhaddiya, be my disciple, and I will be your teacher’?”
“No, sir.”
“Though I speak and explain like this, certain ascetics and brahmins misrepresent me with the false, hollow, lying, untruthful claim: ‘The ascetic Gotama is a magician. He knows a conversion magic, and uses it to convert the disciples of those who follow other paths.’”
“Sir, this conversion magic is excellent. This conversion magic is lovely! If my loved ones—relatives and kin—were to be converted by this, it would be for their lasting welfare and happiness. If all the aristocrats, brahmins, merchants, and workers were to be converted by this, it would be for their lasting welfare and happiness.”
“That’s so true, Bhaddiya! That’s so true, Bhaddiya! If all the aristocrats, brahmins, merchants, and workers were to be converted by this, it would be for their lasting welfare and happiness. If the whole world—with its gods, Māras and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, gods and humans—were to be converted by this, for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities, it would be for their lasting welfare and happiness. If these great sal trees were to be converted by this, for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities, it would be for their lasting welfare and happiness—if they were sentient. How much more then a human being!”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น ภัททิยลิจฉวีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ให้มานับถือ (ตนเอง) สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ให้มานับถือ ภันเต คนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่เป็นจริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และการคล้อยตามวาทะอันชอบแก่เหตุใดๆ ย่อมไม่มาถึงฐานะอันควรติเตียนหรือ แท้จริง ข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาเถิด ภัททิยะ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการฟังตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการกระทำตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการเล่าลือกันอยู่
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการนึกเดาเอาเอง
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการคาดคะเน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรึกตามอาการ
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรงกับความเห็นของตน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
อย่าได้เชื่อถือ เพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
ภัททิยะ เมื่อใด เธอพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้อันผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทาน (ประพฤติ) ให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น เธอทั้งหลายพึงละธรรมเหล่านั้นเสียเถิด.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ความโลภเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ย่อมลักทรัพย์ก็ได้ ย่อมคบชู้ก็ได้ ย่อมพูดเท็จก็ได้ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร โทสะเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ย่อมลักทรัพย์ก็ได้ ย่อมคบชู้ก็ได้ ย่อมพูดเท็จก็ได้ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร โมหะเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ย่อมลักทรัพย์ก็ได้ ย่อมคบชู้ก็ได้ ย่อมพูดเท็จก็ได้ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ความแข่งดีเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้แข่งดี ถูกความแข่งดีครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ย่อมลักทรัพย์ก็ได้ ย่อมคบชู้ก็ได้ ย่อมพูดเท็จก็ได้ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล.
เป็นอกุศล ภันเต.
มีโทษหรือไม่มีโทษ.
มีโทษ ภันเต.
ผู้รู้ทั้งหลายติเตียน หรือผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ.
ผู้รู้ทั้งหลายติเตียน ภันเต.
ภัททิยะ ธรรมเหล่านี้ อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ใช่หรือไม่ หรือว่าเธอมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ภันเต ธรรมเหล่านี้ อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะเธอว่า มาเถิด ภัททิยะ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการฟังตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการกระทำตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการเล่าลือกันอยู่
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการนึกเดาเอาเอง
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการคาดคะเน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรึกตามอาการ
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรงกับความเห็นของตน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
อย่าได้เชื่อถือ เพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
ภัททิยะ เมื่อใด เธอพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้อันผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น เธอทั้งหลายพึงละธรรมเหล่านั้นเสียเถิด ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
มาเถิด ภัททิยะ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการฟังตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการกระทำตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการเล่าลือกันอยู่
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการนึกเดาเอาเอง
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการคาดคะเน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรึกตามอาการ
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรงกับความเห็นของตน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
อย่าได้เชื่อถือ เพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
ภัททิยะ เมื่อใด เธอพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้อันผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่เถิด.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร อโลภะเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ลักทรัพย์ ย่อมไม่คบชู้ ย่อมไม่พูดเท็จ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร อโทสะเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้มีไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ลักทรัพย์ ย่อมไม่คบชู้ ย่อมไม่พูดเท็จ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร อโมหะเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ลักทรัพย์ ย่อมไม่คบชู้ ย่อมไม่พูดเท็จ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ความแข่งดีเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ภันเต.
ภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่แข่งดี ไม่ถูกความแข่งดีครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ลักทรัพย์ ย่อมไม่คบชู้ ย่อมไม่พูดเท็จ และย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานใช่ไหม.
จริงอย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล.
เป็นกุศล ภันเต.
มีโทษหรือไม่มีโทษ.
ไม่มีโทษ ภันเต.
ผู้รู้ทั้งหลายติเตียน หรือผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ.
ผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ ภันเต.
ภัททิยะ ธรรมเหล่านี้ อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขใช่หรือไม่ หรือว่าเธอมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ภันเต ธรรมเหล่านี้ อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะเธอว่า มาเถิด ภัททิยะ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการฟังตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการกระทำตามๆ กันมา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการเล่าลือกันอยู่
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการอ้างตำรา
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการนึกเดาเอาเอง
อย่าได้เชื่อถือ เพราะการคาดคะเน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรึกตามอาการ
อย่าได้เชื่อถือ เพราะตรงกับความเห็นของตน
อย่าได้เชื่อถือ เพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นคนควรเชื่อได้
อย่าได้เชื่อถือ เพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
ภัททิยะ เมื่อใด เธอพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้อันผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่เถิด ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
ภัททิยะ คนเหล่าใดเป็นคนสงบ เป็นสัปบุรุษ คนเหล่านั้นย่อมชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ท่านจงปราบปรามความโลภเสียเถิด เมื่อปราบปรามความโลภได้แล้ว ท่านจักไม่กระทำกรรมอันเกิดจากความโลภด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ท่านจงปราบปรามโทสะเสียเถิด เมื่อปราบปรามโทสะได้แล้ว ท่านจักไม่กระทำกรรมอันเกิดจากโทสะด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ท่านจงปราบปรามโมหะเสียเถิด เมื่อปราบปรามโมหะได้แล้ว ท่านจักไม่กระทำกรรมอันเกิดจากโมหะด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ท่านจงปราบปรามความแข่งดีเสียเถิด เมื่อปราบปรามความแข่งดีได้แล้ว ท่านจักไม่กระทำกรรมอันเกิดจากความแข่งดีด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภัททิยลิจฉวีได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภันเต ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ภัททิยะ ก็เราได้กล่าวชักชวนเธออย่างนี้ว่า ภัททิยะ ขอเธอจงมาเป็นสาวกของเราเถิด เราจักเป็นศาสดาของเธอ ดังนี้หรือ.
ไม่ใช่อย่างนั้น ภันเต.
ภัททิยะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เรา ผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติบอกอย่างนี้ ด้วยคำอันไม่แน่นอน เป็นคำเปล่า เป็นคำเท็จ เป็นคำไม่จริง ว่าพระสมณโคดมมีมายา รู้จักมายาเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ให้มานับถือ.
ภันเต มายาเครื่องกลับใจนี้ดีนัก มายาเครื่องกลับใจนี้งามนัก ถ้าญาติสาโลหิตอันเป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่บรรดาญาติสาโลหิตอันเป็นที่รักของข้าพระองค์ตลอดกาลนาน ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวง พึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กษัตริย์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง พึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พราหมณ์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้เวสส์ทั้งปวง จะพึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เวสส์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้ศูทร์ทั้งปวงจะพึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ศูทร์ทั้งปวงตลอดกาลนาน.
ภัททิยะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภัททิยะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงพึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กษัตริย์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง พึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พราหมณ์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้เวสส์ทั้งปวง พึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เวสส์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้ศูทร์ทั้งปวงพึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ศูทร์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน.
ภัททิยะ ถ้าแม้ผู้มั่งคั่งเหล่านี้ จะพึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ผู้มั่งคั่งเหล่านี้ตลอดกาลนาน ถ้าผู้มั่งคั่งเหล่านี้ตั้งใจ จะกล่าวไปใยถึงผู้ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาเล่า.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/259/193.
https://84000.org/tipitaka/pali/?2//259
https://etipitaka.com/read/pali/21/259