ธรรม ๑๐ ประการ เพื่อความสามัคคี
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. Now at that time, after the meal, on return from almsround, several mendicants sat together in the assembly hall. They were arguing, quarreling, and disputing, wounding each other with barbed words.
Then in the late afternoon, the Buddha came out of retreat and went to the assembly hall. He sat down on the seat spread out, and addressed the mendicants: “Mendicants, what were you sitting talking about just now? What conversation was unfinished?”
“Sir, after the meal, on return from almsround, we sat together in the assembly hall, arguing, quarreling, and disputing, wounding each other with barbed words.”
“Mendicants, this is not appropriate for you gentlemen who have gone forth in faith from the lay life to homelessness.
There are ten warm-hearted qualities that make for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling. What ten?
Firstly, a mendicant is ethical, restrained in the monastic code, conducting themselves well and seeking alms in suitable places. Seeing danger in the slightest fault, they keep the rules they’ve undertaken. When a mendicant is ethical, this warm-hearted quality
makes for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling.
Furthermore, a mendicant is very learned, remembering and keeping what they’ve learned. These teachings are good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased, describing a spiritual practice that’s entirely full and pure. They are very learned in such teachings, remembering them, reinforcing them by recitation, mentally scrutinizing them, and comprehending them theoretically. …
Furthermore, a mendicant has good friends, companions, and associates. …
Furthermore, a mendicant is easy to admonish, having qualities that make them easy to admonish. They’re patient, and take instruction respectfully. …
Furthermore, a mendicant is deft and tireless in a diverse spectrum of duties for their spiritual companions, understanding how to go about things in order to complete and organize the work. …
Furthermore, a mendicant loves the teachings and is a delight to converse with, being full of joy in the teaching and training. …
Furthermore, a mendicant lives with energy roused up for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities. They are strong, staunchly vigorous, not slacking off when it comes to developing skillful qualities. …
Furthermore, a mendicant is content with any kind of robes, almsfood, lodgings, and medicines and supplies for the sick. …
Furthermore, a mendicant is mindful. They have utmost mindfulness and alertness, and can remember and recall what was said and done long ago. …
Furthermore, a mendicant is wise. They have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. When a mendicant is wise, this warm-hearted quality makes for fondness and respect, helping the Saṅgha to live in harmony and unity, without quarreling.
These ten warm-hearted qualities make for fondness and respect, conducing to inclusion, harmony, and unity, without quarreling.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังอาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างเอาหอกคือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่.
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉันแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรอันเธอทั้งหลายพักค้างไว้ในระหว่าง.
ภันเต ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังอาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างเอาหอกคือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายมีความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ต่างเอาหอกคือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่ นี้เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่พวกเธอ ผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๑๐ ประการนั้นอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฎฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีนี้ เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน มีปกติยอมรับฟังคำสั่งสอนโดยความเคารพ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ในกิจน้อยกิจใหญ่ที่ควรทำของเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกิจที่ควรทำนั้น เป็นผู้สามารถจะทำเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ในกิจน้อยกิจใหญ่ที่ควรทำของเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีความรักใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความรักใคร่ในธรรม …นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกได้ ตามระลึกได้ ถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานแล้วได้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา … นี้เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นเหตุก่อความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
-บาลี ทสก. อํ. 24/93/50.
https://84000.org/tipitaka/pali/?24//93,
https://etipitaka.com/read/pali/24/93