In this world, there is nothing that, when we cling to it, we cannot find fault with
English translation by Bhikkhu Sujato
… There are these two views. Views favoring continued existence and views favoring ending existence. A learned noble disciple reflects on this: ‘Is there anything in the world that I could grasp without fault?’ They understand: ‘There’s nothing in the world that I could grasp without fault. For in grasping I would grasp only at form, feeling, perception, choices, or consciousness. That grasping of mine would be a condition for continued existence. Continued existence is a condition for rebirth. Rebirth is a condition for old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress to come to be. That is how this entire mass of suffering originates.’
What do you think, mendicants? Is form permanent or impermanent?”
“Impermanent, sir.”
“But if it’s impermanent, is it suffering or happiness?”
“Suffering, sir.”
“But if it’s impermanent, suffering, and perishable, is it fit to be regarded thus: ‘This is mine, I am this, this is my self’?”
“No, sir.”
“Is feeling … perception … choices … consciousness permanent or impermanent?” …
“So you should truly see …
Seeing this … They understand: ‘… there is nothing further for this place.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
… “There are, bhikkhus, these two views: the view of existence and the view of extermination. Therein, bhikkhus, the instructed noble disciple reflects thus: ‘Is there anything in the world that I could cling to without being blameworthy?’ He understand thus: ‘There is nothing in the world that I could cling to without being blameworthy. For if I should cling, it is only form that I would be clinging to, only feeling … only perception … only volitional formations … only consciousness that I would be clinging to. With that clinging of mine as condition, there would be existence; with existence as condition, birth; with birth as condition, aging-and-death, sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair would come to be. Such would be the origin of this whole mass of suffering.’
“What do you think, bhikkhus, is form permanent or impermanent? … Is feeling … perception … volitional formations … consciousness permanent or impermanent?”—“Impermanent, venerable sir.”—“Is what is impermanent suffering or happiness?”—“Suffering, venerable sir.”—“Is what is impermanent, suffering, and subject to change fit to be regarded thus: ‘This is mine, this I am, this is my self’?”—“No, venerable sir.”
“Seeing thus … He understands: ‘… there is no more for this state of being.’”
… ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีแห่งทิฏฐิทั้ง ๒ อย่างนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ในโลกนี้ มีสิ่งใดๆ บ้างไหมหนอ ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ ดังนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ ดังนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งรูปนั่นเอง เมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งเวทนานั่นเอง เมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งสัญญานั่นเอง เมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง เมื่อยึดถือ ก็ยึดถือซึ่งวิญญาณนั่นเอง เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ภันเต.
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ ภันเต.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ภันเต.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี สํ. ขนฺธ. 17/114/169.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//114,
https://etipitaka.com/read/pali/17/114