The reason for not attaining Nibbāna in this very life
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Rājagaha, on the Vulture’s Peak Mountain. And then Sakka, lord of gods, went up to the Buddha, bowed, stood to one side, and said to him:
“What is the cause, sir, what is the reason why some sentient beings aren’t fully quenched in the present life? What is the cause, what is the reason why some sentient beings are fully quenched in the present life?”
“Lord of gods, there are sights known by the eye, which are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, their consciousness has that as support and fuel for grasping. A mendicant with fuel for grasping does not become extinguished.
There are sounds … smells … tastes … touches … ideas known by the mind, which are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant approves, welcomes, and keeps clinging to them, their consciousness has that as support and fuel for grasping. A mendicant with fuel for grasping does not become extinguished. That’s the cause, that’s the reason why some sentient beings aren’t fully quenched in the present life.
There are sights known by the eye, which are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, their consciousness doesn’t have that as support and fuel for grasping. A mendicant free of grasping becomes extinguished.
There are sounds … smells … tastes … touches … ideas known by the mind, which are likable, desirable, agreeable, pleasant, sensual, and arousing. If a mendicant doesn’t approve, welcome, and keep clinging to them, their consciousness doesn’t have that as support and fuel for grasping. A mendicant free of grasping becomes extinguished. That’s the cause, that’s the reason why some sentient beings are fully quenched in the present life.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
On one occasion the Blessed One was dwelling at Rajagaha on Mount Vulture Peak. Then Sakka, lord of the devas, approached the Blessed One, paid homage to him, stood to one side, and said to him:
“Venerable sir, what is the cause and reason why some beings here do not attain Nibbāna in this very life? And what is the cause and reason why some beings here attain Nibbāna in this very life?”
“There are, lord of the devas, forms cognizable by the eye that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu seeks delight in them, welcomes them, and remains holding to them, his consciousness becomes dependent upon them and clings to them. A bhikkhu with clinging does not attain Nibbāna.
“There are, lord of the devas, sounds cognizable by the ear … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu seeks delight in them, welcomes them, and remains holding to them, his consciousness becomes dependent upon them and clings to them. A bhikkhu with clinging does not attain Nibbāna.
“This is the cause and reason, lord of the devas, why some beings here do not attain Nibbāna in this very life.
“There are, lord of the devas, forms cognizable by the eye … mental phenomena cognizable by the mind that are desirable, lovely, agreeable, pleasing, sensually enticing, tantalizing. If a bhikkhu does not seek delight in them, does not welcome them, and does not remain holding to them, his consciousness does not become dependent upon them or cling to them. A bhikkhu without clinging attains Nibbāna.
“This is the cause and reason, lord of the devas, why some beings here attain Nibbāna in this very life.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ในที่สมควร ครั้นแล้วถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ไม่ปรินิพพาในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรม) และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.
พระผู้มีพระภาคตอบว่า จอมเทพ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยรูปนั้น ยึดมั่นรูปนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งเสียงนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งเสียงนั้น วิญญาณอันอาศัยเสียงนั้น ยึดมั่นเสียงนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งกลิ่นนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งกลิ่นนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยกลิ่นนั้น ยึดมั่นกลิ่นนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งรสนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งรสนั้น วิญญาณอันอาศัยรสนั้น ยึดมั่นรสนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งโผฏฐัพพะนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งโผฏฐัพพะนั้น วิญญาณอันอาศัยโผฏฐัพพะนั้น ยึดมั่นโผฏฐัพพะนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งธรรมนั้น เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ติดอกติดใจซึ่งธรรมนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยธรรมนั้น ยึดมั่นธรรมนั้นย่อมมี จอมเทพ ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.
จอมเทพ นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน.
จอมเทพ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยรูปนั้น ยึดมั่นรูปนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งเสียงนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งเสียงนั้น วิญญาณอันอาศัยเสียงนั้น ยึดมั่นเสียงนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งกลิ่นนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งกลิ่นนั้น วิญญาณอันอาศัยกลิ่นนั้น ยึดมั่นกลิ่นนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งรสนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งรสนั้น วิญญาณอันอาศัยรสนั้น ยึดมั่นรสนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งรูปโผฏฐัพพะนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งโผฏฐัพพะนั้น วิญญาณอันอาศัยโผฏฐัพพะนั้น ยึดมั่นโผฏฐัพพะนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่อาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งธรรมนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ติดอกติดใจซึ่งธรรมนั้น วิญญาณอันอาศัยธรรมนั้น ยึดมั่นธรรมนั้นย่อมไม่มี จอมเทพ ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.
จอมเทพ นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.
-บาลี สฬา. สํ. 18/127/177.
https://84000.org/tipitaka/pali/?18//128,
https://etipitaka.com/read/pali/18/128