The result of concentrating on the gratifications and the drawbacks in things that are prone to being fettered.
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“There are things that are prone to being fettered. When you concentrate on the gratification provided by these things, your craving grows. Craving is a condition for grasping. Grasping is a condition for continued existence. Continued existence is a condition for rebirth. Rebirth is a condition for old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress to come to be. That is how this entire mass of suffering originates.
Suppose an oil lamp depended on oil and a wick to burn. And from time to time someone would pour oil in and adjust the wick. Fueled and sustained by that, the oil lamp would burn for a long time.
In the same way, there are things that are prone to being fettered. When you concentrate on the gratification provided by these things, your craving grows. Craving is a condition for grasping. Grasping is a condition for continued existence. Continued existence is a condition for rebirth. Rebirth is a condition for old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress to come to be. That is how this entire mass of suffering originates.
There are things that are prone to being fettered. When you concentrate on the drawbacks of these things, your craving ceases. When craving ceases, grasping ceases. When grasping ceases, continued existence ceases. When continued existence ceases, rebirth ceases. When rebirth ceases, old age and death, sorrow, lamentation, pain, sadness, and distress cease. That is how this entire mass of suffering ceases.
Suppose an oil lamp depended on oil and a wick to burn. And no-one would pour oil in and adjust the wick from time to time. As the original fuel is used up and no more is added, the oil lamp would be extinguished due to lack of fuel.
In the same way, there are things that are prone to being fettered. When you concentrate on the drawbacks of these things, your craving ceases. When craving ceases, grasping ceases. … That is how this entire mass of suffering ceases.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthī. “Bhikkhus, when one dwells contemplating gratification in things that can fetter, craving increases. With craving as condition, clinging comes to be; with clinging as condition, existence; with existence as condition, birth; with birth as condition, aging-and-death, sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair come to be. Such is the origin of this whole mass of suffering.
“Suppose, bhikkhus, an oil lamp was burning in dependence on oil and a wick, and a man would pour oil into it and adjust the wick from time to time. Thus, sustained by that oil, fuelled by it, that oil lamp would burn for a very long time. So too, when one lives contemplating gratification in things that can fetter, craving increases…. Such is the origin of this whole mass of suffering.
“Bhikkhus, when one dwells contemplating danger in things that can fetter, craving ceases. With the cessation of craving comes cessation of clinging; with the cessation of clinging, cessation of existence … cessation of birth … aging-and-death, sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair cease. Such is the cessation of this whole mass of suffering.
“Suppose, bhikkhus, an oil lamp was burning in dependence on oil and a wick, and the man would not pour oil into it or adjust the wick from time to time. Thus, when the former supply of fuel is exhausted, that oil lamp, not being fed with any more fuel, lacking sustenance, would be extinguished. So too, when one lives contemplating danger in things that can fetter, craving ceases…. Such is the cessation of this whole mass of suffering.”
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโดยความเป็นของน่าพอใจ (อัสสาทะ) เนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษพึงเติมน้ำมันและเปลี่ยนไส้ใหม่อยู่ ตลอดเวลาที่ควรเติมควรเปลี่ยนในทุกๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้ประทีปน้ำมัน ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น ก็พึงลุกโพลงอยู่ได้ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเพิจารณาเห็นโดยความเป็นของน่าพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษ (อาทีนวะ) เนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมันและไม่เปลี่ยนไส้ใหม่ ตลอดเวลาที่ควรเติมควรเปลี่ยนในทุกๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น เพราะหมดอาหาร เพราะสิ้นเชื้อเก่า ก็เป็นประทีปน้ำมันที่หมดเชื้อแล้วดับไป ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/103/200.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//103,
https://etipitaka.com/read/pali/16/103/(ใน -บาลี นิทาน. สํ. 16/107/212. ทรงแสดงข้อธรรมอย่างเดียวกัน แต่อุปมาด้วย ต้นไม้ยังอ่อนอยู่ มีผู้คอยพรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำสม่ำเสมอ จึงเจริญเติบโต และอุปมาด้วยต้นไม้ยังอ่อนอยู่ มีผู้ตัดที่โคน ขุดเอารากออก ตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ผ่าให้เป็นชิ้นๆ นำไปตากลม ตากแดด เอาไฟเผาจนเป็นเขม่า แล้วนำเขม่าไปโปรยในลมที่พัดจัด หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว)