The five faculties that refer to feelings, arise and cease due to contact.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these five faculties. What five? The faculties of pleasure, pain, happiness, sadness, and equanimity.
The faculty of pleasure arises dependent on a contact to be experienced as pleasant. When in a state of pleasure, you understand: ‘I’m in a state of pleasure.’ With the cessation of that contact to be experienced as pleasant, you understand that the corresponding faculty of pleasure ceases and stops.
The faculty of pain arises dependent on a contact to be experienced as painful. When in a state of pain, you understand: ‘I’m in a state of pain.’ With the cessation of that contact to be experienced as painful, you understand that the corresponding faculty of pain ceases and stops.
The faculty of happiness arises dependent on a contact to be experienced as happiness. When in a state of happiness, you understand: ‘I’m in a state of happiness.’ With the cessation of that contact to be experienced as happiness, you understand that the corresponding faculty of happiness ceases and stops.
The faculty of sadness arises dependent on a contact to be experienced as sadness. When in a state of sadness, you understand: ‘I’m in a state of sadness.’ With the cessation of that contact to be experienced as sadness, you understand that the corresponding faculty of sadness ceases and stops.
The faculty of equanimity arises dependent on a contact to be experienced as equanimous. When in a state of equanimity, you understand: ‘I’m in a state of equanimity.’ With the cessation of that contact to be experienced as equanimous, you understand that the corresponding faculty of equanimity ceases and stops.
When you rub two sticks together, heat is generated and fire is produced. But when you part the sticks and lay them aside, any corresponding heat ceases and stops.
In the same way, the faculty of pleasure arises dependent on a contact to be experienced as pleasant. When in a state of pleasure, you understand: ‘I’m in a state of pleasure.’ With the cessation of that contact to be experienced as pleasant, you understand that the corresponding faculty of pleasure ceases and stops.
The faculty of pain … happiness … sadness … equanimity arises dependent on a contact to be experienced as equanimous. When in a state of equanimity, you understand: ‘I’m in a state of equanimity.’ With the cessation of that contact to be experienced as equanimous, you understand that the corresponding faculty of equanimity ceases and stops.”
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุข) ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกข์) โสนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัส) โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัส) และอุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขา).
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขิินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความสุข (กาย) ก็รู้ชัด1ว่าเรามีความสุข (กาย) เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละ สุขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นมีความทุกข์ (กาย) ก็รู้ชัดว่าเรามีความทุกข์ (กาย) เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละ ทุกขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนา โสมนัสสินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความสุขใจ ก็รู้ชัดว่าเรามีความสุขใจ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนานั้นนั่นแหละ โสมนัสสินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนา โสมนัสสินทรรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนา โทมนัสสินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความทุกข์ใจ ก็รู้ชัดว่าเรามีความทุกข์ใจ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนานั้นนั่นแหละ โทมนัสสินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนา โทมนัสสินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา อุเปกขิินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่าเรารู้สึกเฉยๆ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นนั่นแหละ อุเปกขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา อุเปกขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน จึงเกิดไฟ เมื่อแยกไม้ ๒ อันนั้นแหละออกจากกัน ความร้อนที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้น จึงดับจึงสงบไป ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขิินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความสุข (กาย) ก็รู้ชัดว่าเรามีความสุข (กาย) เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละ สุขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นมีความทุกข์ (กาย) ก็รู้ชัดว่าเรามีความทุกข์ (กาย) เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละ ทุกขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนา โสมนัสสินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความสุขใจ ก็รู้ชัดว่าเรามีความสุขใจ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนานั้นนั่นแหละ โสมนัสสินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนา โสมนัสสินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนา โทมนัสสินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นมีความทุกข์ใจ ก็รู้ชัดว่าเรามีความทุกข์ใจ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนานั้นนั่นแหละ โทมนัสสินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนา โทมนัสสินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา อุเปกขิินทรีย์ย่อมขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่าเรารู้สึกเฉยๆ เธอย่อมรู้ชัดว่า เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นนั่นแหละ อุเปกขินทรีย์ใดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา อุเปกขินทรีย์นั้น ย่อมดับ ย่อมสงบไป.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/2281/949.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//281,
https://etipitaka.com/read/pali/19/281
1 คำว่า รู้ชัด ในที่นี้ มาจากศัพท์บาลีว่า ปชานาติ และคำว่า ปชานาติ มีความหมายอย่างอื่นอีก เช่น ค้นพบ, หยั่งรู้, เข้าใจ, เห็นความแตกต่าง รู้, รู้จัก, รู้แตกฉาน : ภาษาอังกฤษ to know, understand, discern, distinguish, find out, come to know มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า อภิฺ ซึ่งหมายถึง รู้ยิ่ง, มีความรู้, ฉลาด, ชำนาญ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความรู้สูงกว่า หรือเหนือกว่าปกติ (อภิฺา) : ภาษาอังกฤษ knowing, possessed of knowledge, intelligent, higher or supernormal knowledge (abhiññā) / อภิฺา = ความรู้ยิ่ง, รู้ยิ่งแล้ว, รู้เฉพาะแล้ว : ภาษาอังกฤษ having known, become cognisant, to serenity, to special knowledge (abhiññā), to special wisdom / ปญญา = ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด : ภาษาอังกฤษ intelligence, reason, wisdom, insight, knowledge.