The five faculties (that refer to feelings), where will each of them cease?
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these five faculties. What five? The faculties of pain, sadness, pleasure, happiness, and equanimity.
While a mendicant is meditating—diligent, keen, and resolute—the faculty of pain arises. They understand: ‘The faculty of pain has arisen in me. And that has a basis, a source, a condition, and a reason. It’s not possible for the faculty of pain to arise without a basis, a source, a condition, or a reason.’ They understand the faculty of pain, its origin, its cessation, and where that faculty of pain that’s arisen ceases without anything left over. And where does that faculty of pain that’s arisen cease without anything left over? It’s when a mendicant, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, enters and remains in the first absorption, which has the rapture and bliss born of seclusion, while placing the mind and keeping it connected. That’s where the faculty of pain that’s arisen ceases without anything left over. They’re called a mendicant who understands the cessation of the faculty of pain, and who applies their mind to that end.
While a mendicant is meditating—diligent, keen, and resolute—the faculty of sadness arises. They understand: ‘The faculty of sadness has arisen in me. And that has a basis, a source, a condition, and a reason. It’s not possible for the faculty of sadness to arise without a basis, a source, a condition, or a reason.’ They understand the faculty of sadness, its origin, its cessation, and where that faculty of sadness that’s arisen ceases without anything left over. And where does that faculty of sadness that’s arisen cease without anything left over? It’s when, as the placing of the mind and keeping it connected are stilled, a mendicant enters and remains in the second absorption, which has the rapture and bliss born of immersion, with internal clarity and mind at one, without placing the mind and keeping it connected. That’s where the faculty of sadness that’s arisen ceases without anything left over. They’re called a mendicant who understands the cessation of the faculty of sadness, and who applies their mind to that end.
While a mendicant is meditating—diligent, keen, and resolute—the faculty of pleasure arises. They understand: ‘The faculty of pleasure has arisen in me. And that has a basis, a source, a condition, and a reason. It’s not possible for the faculty of pleasure to arise without a basis, a source, a condition, or a reason.’ They understand the faculty of pleasure, its origin, its cessation, and where that faculty of pleasure that’s arisen ceases without anything left over. And where does that faculty of pleasure that’s arisen cease without anything left over? It’s when, with the fading away of rapture, a mendicant enters and remains in the third absorption, where they meditate with equanimity, mindful and aware, personally experiencing the bliss of which the noble ones declare, ‘Equanimous and mindful, one meditates in bliss.’ That’s where the faculty of pleasure that’s arisen ceases without anything left over. They’re called a mendicant who understands the cessation of the faculty of pleasure, and who applies their mind to that end.
While a mendicant is meditating—diligent, keen, and resolute—the faculty of happiness arises. They understand: ‘The faculty of happiness has arisen in me. And that has a basis, a source, a condition, and a reason. It’s not possible for the faculty of happiness to arise without a basis, a source, a condition, or a reason.’ They understand the faculty of happiness, its origin, its cessation, and where that faculty of happiness that’s arisen ceases without anything left over. And where does that faculty of happiness that’s arisen cease without anything left over? It’s when, giving up pleasure and pain, and ending former happiness and sadness, a mendicant enters and remains in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness. That’s where the faculty of happiness that’s arisen ceases without anything left over. They’re called a mendicant who understands the cessation of the faculty of happiness, and who applies their mind to that end.
While a mendicant is meditating—diligent, keen, and resolute—the faculty of equanimity arises. They understand: ‘The faculty of equanimity has arisen in me. And that has a basis, a source, a condition, and a reason. It’s not possible for the faculty of equanimity to arise without a basis, a source, a condition, or a reason.’ They understand the faculty of equanimity, its origin, its cessation, and where that faculty of equanimity that’s arisen ceases without anything left over. And where does that faculty of equanimity that’s arisen cease without anything left over? It’s when a mendicant, going totally beyond the dimension of neither perception nor non-perception, enters and remains in the cessation of perception and feeling. That’s where the faculty of equanimity that’s arisen ceases without anything left over. They’re called a mendicant who understands the cessation of the faculty of equanimity, and who applies their mind to that end.”
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุข) ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกข์) โสนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัส) โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัส) และอุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขา).
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ทุกขินทรีย์ได้เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นย่อมมีนิมิต1 มีเหตุ (สนิทานํ) มีความปรุงแต่ง (สสงฺขารํ) มีปัจจัย (สปฺปจฺจยํ) และเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ที่ทุกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่ต้องมีเหตุ ไม่ต้องมีความปรุงแต่ง ไม่ต้องมีปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัด2ทุกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดของทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับของทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปโดยไม่เหลือของทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วและอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ได้รู้แล้วซึ่งความดับของทุกขินทรีย์ และน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ โทมนัสสินทรีย์ได้เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้นย่อมมีนิมิต มีเหตุ มีความปรุงแต่ง มีปัจจัย และเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ที่โทมนัสสินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่ต้องมีเหตุ ไม่ต้องมีความปรุงแต่ง ไม่ต้องมีปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดของโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับของโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปโดยไม่เหลือของโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วและอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ได้รู้แล้วซึ่งความดับของโทมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ สุขินทรีย์ได้เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นย่อมมีนิมิต มีเหตุ มีความปรุงแต่ง มีปัจจัย และเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ที่สุขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่ต้องมีเหตุ ไม่ต้องมีความปรุงแต่ง ไม่ต้องมีปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดของสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับของสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปโดยไม่เหลือของสุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วและอยู่ สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ได้รู้แล้วซึ่งความดับของสุขินทรีย์ และน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ โสมนัสสินทรีย์ได้เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโสมนัสสินทรีย์นั้นย่อมมีนิมิต มีเหตุ มีความปรุงแต่ง มีปัจจัย และเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ที่โสมนัสสินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่ต้องมีเหตุ ไม่ต้องมีความปรุงแต่ง ไม่ต้องมีปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดของโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับของโสมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปโดยไม่เหลือของโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วและอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ได้รู้แล้วซึ่งความดับของโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ อุเปกขินทรีย์ได้เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเปกขินทรีย์นั้นย่อมมีนิมิต มีเหตุ มีความปรุงแต่ง มีปัจจัย และเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ ที่อุเปกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่ต้องมีเหตุ ไม่ต้องมีความปรุงแต่ง ไม่ต้องมีปัจจัย ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดของอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความดับของอุเปกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปโดยไม่เหลือของอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วและอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุนี้ได้รู้แล้วซึ่งความดับของอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/282/956
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//282,
https://etipitaka.com/read/pali/19/282
1 นิมิต = เครื่องหมาย, นิมิต, สิ่งบอกเหตุ, การทำนาย, สัญญาณบอกเหตุ, การเตือน, รูปร่างภายนอก, ตำหนิ (ของร่างกาย), ลักษณะ, คุณสมบัติ, ปรากฏการณ์ , ความสะท้อนทางใจ, เครื่องหมาย, จุดมุ่งหมาย, หลักฐาน, เหตุผล, เงื่อนไข : ภาษาอังกฤษ sign, omen, portent, prognostication, signs preceding an event, portents, warnings, foreshadowing, outward appearance, mark, characteristic, attribute, phenomenon, Mental reflex, mark, aim, ground, reason, condition..
2 คำว่า รู้ชัด ในที่นี้ มาจากศัพท์บาลีว่า ปชานาติ และคำว่า ปชานาติ มีความหมายอย่างอื่นอีก เช่น ค้นพบ, หยั่งรู้, เข้าใจ, เห็นความแตกต่าง รู้, รู้จัก, รู้แตกฉาน : ภาษาอังกฤษ to know, understand, discern, distinguish, find out, come to know มีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า อภิฺ ซึ่งหมายถึง รู้ยิ่ง, มีความรู้, ฉลาด, ชำนาญ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความรู้สูงกว่า หรือเหนือกว่าปกติ (อภิฺา) : ภาษาอังกฤษ knowing, possessed of knowledge, intelligent, higher or supernormal knowledge (abhiññā) / อภิฺา = ความรู้ยิ่ง, รู้ยิ่งแล้ว, รู้เฉพาะแล้ว : ภาษาอังกฤษ having known, become cognisant, to serenity, to special knowledge (abhiññā), to special wisdom / ปญญา = ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด : ภาษาอังกฤษ intelligence, reason, wisdom, insight, knowledge.