The meaning of ignorance and knowledge. (2)
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Then a mendicant went up to the Buddha and said to him:
“Sir, they speak of this thing called ‘ignorance’. What is ignorance? And how is an ignorant person defined?”
“Mendicant, it’s when an uneducated ordinary person doesn’t understand form, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation. They don’t understand feeling … perception … choices … consciousness, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation.
This is called ignorance. And this is how an ignorant person is defined.”
At Sāvatthī.
Seated to one side, that mendicant said to the Buddha:
“Sir, they speak of this thing called ‘knowledge’. What is knowledge? And how is a knowledgeable person defined?”
“Mendicant, it’s when an educated noble disciple understands form, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation. They understand feeling … perception … choices … consciousness, its origin, its cessation, and the practice that leads to its cessation.
This is called knowledge. And this is how a knowledgeable person is defined.”
เรื่องเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ … ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ภันเต ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา.
ภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งสัญญา ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งสังขาร ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
ภันเต ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ ภันเต ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา.
ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งเวทนา รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญา รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งสัญญา รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา ย่อมรู้ชัดซึ่งสังขาร รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/198/300.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//198,
https://etipitaka.com/read/pali/17/198