A teaching visible in this very life. (2)
English translation by Bhikkhu Sujato
Then a brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. Seated to one side he said to the Buddha:
“Master Gotama, they speak of ‘a teaching visible in this very life’. In what way is the teaching visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves?”
“A greedy person, overcome and overwhelmed by greed, intends to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They experience mental pain and sadness. When greed has been given up, they don’t intend to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They don’t experience mental pain and sadness. This is how the teaching is visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.
A hateful person, overcome by hate, intends to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They experience mental pain and sadness. When hate has been given up, they don’t intend to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They don’t experience mental pain and sadness. This, too, is how the teaching is visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.
A deluded person, overcome by delusion, intends to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They experience mental pain and sadness. When delusion has been given up, they don’t intend to hurt themselves, hurt others, and hurt both. They don’t experience mental pain and sadness. This, too, is how the teaching is visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.”
“Excellent, Master Gotama! Excellent! As if he were righting the overturned, or revealing the hidden, or pointing out the path to the lost, or lighting a lamp in the dark so people with good eyes can see what’s there, Master Gotama has made the teaching clear in many ways. I go for refuge to Master Gotama, to the teaching, and to the mendicant Saṅgha. From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
Then a certain brahmin approached the Blessed One … and said to him:
“Master Gotama, it is said: ‘A directly visible Dhamma, a directly visible Dhamma.’ In what way is the Dhamma directly visible, immediate, inviting one to come and see, applicable, to be personally experienced by the wise?”
(1) “Brahmin, one excited by lust, overcome by lust, with mind obsessed by it, intends for his own affliction, for the affliction of others, and for the affliction of both, and he experiences mental suffering and dejection. But when lust is abandoned, he does not intend for his own affliction, for the affliction of others, or for the affliction of both, and he does not experience mental suffering and dejection. It is in this way that the Dhamma is directly visible….
(2) “One full of hate, overcome by hatred, with mind obsessed by it, intends for his own affliction, for the affliction of others, and for the affliction of both, and he experiences mental suffering and dejection. But when hatred is abandoned, he does not intend for his own affliction, for the affliction of others, or for the affliction of both, and he does not experience mental suffering and dejection. It is in this way, too, that the Dhamma is directly visible….
(3) “One who is deluded, overcome by delusion, with mind obsessed by it, intends for his own affliction, for the affliction of others, and for the affliction of both, and he experiences mental suffering and dejection. But when delusion is abandoned, he does not intend for his own affliction, for the affliction of others, or for the affliction of both, and he does not experience mental suffering and dejection. It is in this way, too, that the Dhamma is directly visible, immediate, inviting one to come and see, applicable, to be personally experienced by the wise.”
“Excellent, Master Gotama! Excellent, Master Gotama! Master Gotama has made the Dhamma clear in many ways, as though he were turning upright what had been overthrown, revealing what was hidden, showing the way to one who was lost, or holding up a lamp in the darkness so those with good eyesight can see forms. I now go for refuge to Master Gotama, to the Dhamma, and to the Saṅgha of bhikkhus. Let Master Gotama consider me a lay follower who from today has gone for refuge for life.”
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ดังนี้ พระโคดมผู้เจริญ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไหร่หนอ.
พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่ได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตด้วย พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง พราหมณ์ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
พราหมณ์ บุคคลผู้มีโทสะแล้ว ถูกโทสะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่ได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตด้วย พราหมณ์ บุคคลผู้มีโทสะแล้ว ถูกโทสะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ พราหมณ์ บุคคลผู้มีโทสะแล้ว ถูกโทสะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง เมื่อละโทสะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง พราหมณ์ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
พราหมณ์ บุคคลผู้มีโมหะแล้ว ถูกโมหะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย และย่อมไม่ได้รับทุกข์และโทมนัสที่เป็นไปทางจิตด้วย พราหมณ์ บุคคลผู้มีโมหะแล้ว ถูกโมหะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ พราหมณ์ บุคคลผู้มีโมหะแล้ว ถูกโมหะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง ย่อมรู้ชัดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง พราหมณ์ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงได้เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
พราหมณ์ปริพาชกนั้นทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี ติก. อํ. 20/200/494.
https://84000.org/tipitaka/pali/?20//200,
https://etipitaka.com/read/pali/20/200