สติอธิษฐานการงาน และฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ
English translation by Bhikkhu Sujato
Then the Buddha said to Udāyī, “Udāyī, how many topics for recollection are there?”
When he said this, Udāyī kept silent.
And a second time … and a third time, the Buddha said to him, “Udāyī, how many topics for recollection are there?”
And a second time and a third time Udāyī kept silent.
Then Venerable Ānanda said to Venerable Udāyī, “Reverend Udāyī, the teacher is addressing you.”
“Reverend Ānanda, I hear the Buddha.
It’s when a mendicant recollects many kinds of past lives. That is: one, two, three, four, five, ten, twenty, thirty, forty, fifty, a hundred, a thousand, a hundred thousand rebirths; many eons of the world contracting, many eons of the world expanding, many eons of the world contracting and expanding. They remember: ‘There, I was named this, my clan was that, I looked like this, and that was my food. This was how I felt pleasure and pain, and that was how my life ended. When I passed away from that place I was reborn somewhere else. There, too, I was named this, my clan was that, I looked like this, and that was my food. This was how I felt pleasure and pain, and that was how my life ended. When I passed away from that place I was reborn here.’ And so they recollect their many kinds of past lives, with features and details. This is a topic for recollection.”
Then the Buddha said to Venerable Ānanda: “Ānanda, I know that this silly man Udāyī is not committed to the higher mind. Ānanda, how many topics for recollection are there?”
“Sir, there are five topics for recollection. What five?
Firstly, a mendicant, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, enters and remains in the first absorption … second absorption … third absorption. When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to blissful meditation in this very life.
Furthermore, a mendicant focuses on the perception of light, concentrating on the perception of day regardless of whether it’s night or day. And so, with an open and unenveloped heart, they develop a mind that’s full of radiance. When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to knowledge and vision.
Furthermore, a mendicant examines their own body up from the soles of the feet and down from the tips of the hairs, wrapped in skin and full of many kinds of filth. ‘In this body there is head hair, body hair, nails, teeth, skin, flesh, sinews, bones, bone marrow, kidneys, heart, liver, diaphragm, spleen, lungs, intestines, mesentery, undigested food, feces, bile, phlegm, pus, blood, sweat, fat, tears, grease, saliva, snot, synovial fluid, urine.’ When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to giving up sensual desire.
Furthermore, suppose a mendicant were to see a corpse thrown in a charnel ground. And it had been dead for one, two, or three days, bloated, livid, and festering. They’d compare it with their own body: ‘This body is also of that same nature, that same kind, and cannot go beyond that.’
Or suppose they were to see a corpse thrown in a charnel ground being devoured by crows, hawks, vultures, herons, dogs, tigers, leopards, jackals, and many kinds of little creatures. They’d compare it with their own body: ‘This body is also of that same nature, that same kind, and cannot go beyond that.’
Furthermore, suppose they were to see a corpse thrown in a charnel ground, a skeleton with flesh and blood, held together by sinews … A skeleton without flesh but smeared with blood, and held together by sinews … A skeleton rid of flesh and blood, held together by sinews … Bones rid of sinews scattered in every direction. Here a hand-bone, there a foot-bone, here a shin-bone, there a thigh-bone, here a hip-bone, there a rib-bone, here a back-bone, there an arm-bone, here a neck-bone, there a jaw-bone, here a tooth, there the skull … White bones, the color of shells … Decrepit bones, heaped in a pile … Bones rotted and crumbled to powder. They’d compare it with their own body: ‘This body is also of that same nature, that same kind, and cannot go beyond that.’ When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to uprooting the conceit ‘I am’.
Furthermore, a mendicant, giving up pleasure and pain, and ending former happiness and sadness, enters and remains in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness. When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to the penetration of many elements. These are the five topics for recollection.”
“Good, good, Ānanda. Well then, Ānanda, you should also remember this sixth topic for recollection. In this case, a mendicant goes out mindfully, returns mindfully, stands mindfully, sits mindfully, lies down mindfully, and applies themselves to work mindfully. When this topic of recollection is developed and cultivated in this way it leads to mindfulness and situational awareness.”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า
อุทายี ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ1 มีเท่าไร.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
อุทายี ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติมีเท่าไร.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
อุทายี ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติมีเท่าไร.
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่.
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่านอยู่.
ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า ภันเต ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปและวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ภันเต นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า
อานนท์ ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า มี ๕ อย่าง ภันเต ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ภันเต ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่ ภันเต นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
ภันเต ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมกระทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายแสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ตั้งความสำคัญว่าเป็นเวลากลางวัน) คือ กลางวันอย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น เธอมีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ภันเต นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ.
ภันเต ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ) ดังนี้ ภันเต นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการละกามราคะ.
ภันเต ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุพึงเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ซึ่งตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นอืด เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้ ย่อมเหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ หรือว่า ภิกษุพึงเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงสุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง ฝูงสุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยนานาชนิดกัดกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้ ย่อมเหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ หรือว่า ภิกษุพึงเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นโครงกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นผูกรัดไว้, เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ มีเส้นเอ็นผูกรัดไว้, เป็นโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดไว้, เป็นท่อนกระดูก ไม่มีเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปตามทิศทางต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้ ย่อมเหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ หรือว่า ภิกษุพึงเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก มีสีขาวเปรียบดังสีสังข์, เป็นท่อนกระดูก เรี่ยรายเป็นกองๆ มีอายุเกินปีหนึ่งขึ้นไป, เป็นกระดูกผุป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้ ย่อมเหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภันเต นี้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการถอนอัส๎มิมานะ.
ภันเต ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ ภันเต นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก.
ภันเต เหล่านี้แล ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๕ อย่าง.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๖ นี้ไว้ คือ ภิกษุในกรณีนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอนอยู่ มีสติอธิษฐานการงาน อานนท์ นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
-บาลี ฉกฺก. อํ. 22/360/300.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//360,
https://etipitaka.com/read/pali/22/360
1 อนุสสติ หรือ อนุสติ = ความระลึกถึง, ระลึกเนืองๆ, การตามระลึก, ความทรงจำ, ความคิด, ความตั้งใจ