Seven good qualities are likened to a city wall
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, when a king’s frontier citadel is well provided with seven essentials and gets four kinds of sustenance when needed, without trouble or difficulty, it is then called a king’s frontier citadel that cannot be overrun by external foes and enemies.
With what seven essentials is a citadel well provided?
Firstly, a citadel has a pillar with deep foundations, firmly embedded, imperturbable and unshakable. This is the first essential with which a king’s frontier citadel is well provided, to defend those within and repel those outside.
Furthermore, a citadel has a moat that is deep and wide. This is the second essential …
Furthermore, a citadel has a patrol path that is high and wide. This is the third essential …
Furthermore, a citadel has stores of many weapons, both projectile and hand-held. This is the fourth essential …
Furthermore, many kinds of armed forces reside in a citadel, such as elephant riders, cavalry, charioteers, archers, bannermen, adjutants, food servers, warrior-chiefs, princes, chargers, great warriors, heroes, leather-clad soldiers, and sons of bondservants. This is the fifth essential …
Furthermore, a citadel has a gatekeeper who is astute, competent, and intelligent. He keeps strangers out and lets known people in. This is the sixth essential …
Furthermore, a citadel has a wall that’s high and wide, covered with plaster. This is the seventh essential with which a king’s frontier citadel is well provided, to defend those within and repel those outside.
With these seven essentials a citadel is well provided.
What are the four kinds of sustenance it gets when needed, without trouble or difficulty?
Firstly, a king’s frontier citadel has much hay, wood, and water stored up for the enjoyment, relief, and comfort of those within and to repel those outside.
Furthermore, a king’s frontier citadel has much rice and barley stored up for those within.
Furthermore, a king’s frontier citadel has much food such as sesame, green gram, and black gram stored up for those within.
Furthermore, a king’s frontier citadel has much medicine—ghee, butter, oil, honey, molasses, and salt—stored up for the enjoyment, relief, and comfort of those within and to repel those outside.
These are the four kinds of sustenance it gets when needed, without trouble or difficulty.
When a king’s frontier citadel is well provided with seven essentials and gets four kinds of sustenance when needed, without trouble or difficulty, it is then called a king’s frontier citadel that cannot be overrun by external foes and enemies. In the same way, when a noble disciple has seven good qualities, and they get the four absorptions—blissful meditations in the present life that belong to the higher mind—when they want, without trouble or difficulty, they are then called a noble disciple who cannot be overrun by Māra, who cannot be overrun by the Wicked One. What are the seven good qualities that they have?
Just as a king’s frontier citadel has a pillar with deep foundations, firmly embedded, imperturbable and unshakable, to defend those within and repel those outside, in the same way a noble disciple has faith in the Realized One’s awakening: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’ A noble disciple with faith as their pillar gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the first good quality they have.
Just as a citadel has a moat that is deep and wide, in the same way a noble disciple has a conscience. They’re conscientious about bad conduct by way of body, speech, and mind, and conscientious about having any bad, unskillful qualities. A noble disciple with a conscience as their moat gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the second good quality they have.
Just as a citadel has a patrol path that is high and wide, in the same way a noble disciple is prudent. They’re prudent when it comes to bad conduct by way of body, speech, and mind, and prudent when it comes to acquiring any bad, unskillful qualities. A noble disciple with prudence as their patrol path gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the third good quality they have.
Just as a citadel has stores of many weapons, both projectile and hand-held, in the same way a noble disciple is very learned. They remember and keep what they’ve learned. These teachings are good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased, describing a spiritual practice that’s entirely full and pure. They are very learned in such teachings, remembering them, reciting them, mentally scrutinizing them, and comprehending them theoretically. A noble disciple with learning as their weapon gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the fourth good quality they have.
Just as many kinds of armed forces reside in a citadel … in the same way a noble disciple is energetic. They live with energy roused up for giving up unskillful qualities and embracing skillful qualities. They are strong, staunchly vigorous, not slacking off when it comes to developing skillful qualities. A noble disciple with energy as their armed forces gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the fifth good quality they have.
Just as a citadel has a gatekeeper who is astute, competent, and intelligent, who keeps strangers out and lets known people in, in the same way a noble disciple is mindful. They have utmost mindfulness and alertness, and can remember and recall what was said and done long ago. A noble disciple with mindfulness as their gatekeeper gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the sixth good quality they have.
Just as a citadel has a wall that’s high and wide, covered with plaster, to defend those within and repel those outside, in the same way a noble disciple is wise. They have the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. A noble disciple with wisdom as their wall gives up the unskillful and develops the skillful, they give up the blameworthy and develop the blameless, and they keep themselves pure. This is the seventh good quality they have. These are the seven good qualities that they have.
And what are the four absorptions—blissful meditations in the present life that belong to the higher mind—that they get when they want, without trouble or difficulty? Just as a king’s frontier citadel has much hay, wood, and water stored up for the enjoyment, relief, and comfort of those within and to repel those outside, in the same way a noble disciple, quite secluded from sensual pleasures, secluded from unskillful qualities, enters and remains in the first absorption, which has the rapture and bliss born of seclusion, while placing the mind and keeping it connected. This is for their own enjoyment, relief, and comfort, and for alighting upon extinguishment.
Just as a king’s frontier citadel has much rice and barley stored up, in the same way, as the placing of the mind and keeping it connected are stilled, a noble disciple enters and remains in the second absorption, which has the rapture and bliss born of immersion, with internal clarity and confidence, and unified mind, without placing the mind and keeping it connected. This is for their own enjoyment, relief, and comfort, and for alighting upon extinguishment.
Just as a king’s frontier citadel has much food such as sesame, green gram, and black gram stored up, in the same way with the fading away of rapture, a noble disciple enters and remains in the third absorption, where they meditate with equanimity, mindful and aware, personally experiencing the bliss of which the noble ones declare, ‘Equanimous and mindful, one meditates in bliss.’ This is for their own enjoyment, relief, and comfort, and for alighting upon extinguishment.
Just as a king’s frontier citadel has much medicine—ghee, butter, oil, honey, molasses, and salt—stored up for the enjoyment, relief, and comfort of those within and to repel those outside, in the same way, giving up pleasure and pain, and ending former happiness and sadness, a noble disciple enters and remains in the fourth absorption, without pleasure or pain, with pure equanimity and mindfulness. This is for their own enjoyment, relief, and comfort, and for alighting upon extinguishment. These are the four absorptions—blissful meditations in the present life that belong to the higher mind—which they get when they want, without trouble or difficulty.
When a noble disciple has seven good qualities, and they get the four absorptions—blissful meditations in the present life that belong to the higher mind—when they want, without trouble or difficulty, they are then called a noble disciple who cannot be overrun by Māra, who cannot be overrun by the Wicked One.”
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา มีการป้องกันไว้ดีแล้วด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และสามารถหาอาหาร ๔ อย่างได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เรากล่าวว่า หมู่ศัตรู (ปัจจามิตร) ภายนอก จักทำอันตรายปัจจันตนครของพระราชานี้ไม่ได้ เครื่องป้องกัน ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจันตนครของพระราชาในกรณีนี้ มีเสาระเนียดฝังไว้ลึกอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีคูล้อมรอบทั้งลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งอาวุธที่ใช้ในระยะไกลตัว และใช้ในระยะประชิดตัว นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔ สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีการตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองพลาธิการ กองเสนาธิการ กองจู่โจมเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กองทหารกล้า กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีทหารรักษาประตูที่มีปัญญา ฉลาดเฉียบแหลม ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก อนุญาตเข้าแก่คนที่รู้จัก นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณฺ์ด้วยการก่อและฉาบอย่างดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ปัจจันตนครของพระราชา มีการป้องกันดีแล้วด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ เป็นอย่างนี้.
ปัจจันตนครของพระราชา สามารถหาอาหาร ๔ อย่าง ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจันตนครของพระราชาในกรณีนี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก.
ปัจจันตนครของพระราชา สามารถหาอาหาร ๔ อย่าง ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา มีการป้องกันไว้ดีแล้วด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และสามารถหาอาหาร ๔ อย่างได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เรากล่าวว่า หมู่ศัตรู (ปัจจามิตร) ภายนอก จักทำอันตรายปัจจันตนครของพระราชานี้ไม่ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในกาลใด อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เรากล่าวว่า อริยสาวกนี้มารผู้มีบาปจะทำอะไรไม่ได้
อริยสาวก ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดฝังไว้ลึกอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๑.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีคูล้อมรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือนคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๒.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเปรียบเหมือนเชิงเทินเดินได้รอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๓.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้พหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมามาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งอาวุธที่ใช้ในระยะไกลตัวและใช้ในระยะประชิดตัว สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๔.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีการตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองพลาธิการ กองเสนาธิการ กองจู่โจมเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กองทหารกล้า กองเกราะหนัง กองทหารทาส สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีความเพียรเปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๕.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกได้ ตามระลึกได้ ถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานแล้วได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีทหารรักษาประตูที่มีปัญญา ฉลาดเฉียบแหลม ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก อนุญาตเข้าแก่คนที่รู้จัก สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีสติ เปรียบเหมือนนายประตู ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๖.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและฉาบอย่างดี สำหรับคุ้มกันภัยภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนกำแพงที่สมบูรณ์ด้วยการก่อและฉาบอย่างดี ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมอันมีโทษ เจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๗.
อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเพราะวิตกวิจารระงับไป จึงบรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย จึงบรรลุตติยฌาน อันพระอริยะกล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่เป็นสุขภายใน และป้องกันอันตรายจากภายนอก ฉันใดก็ฉันนั้น.
อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เรากล่าวว่า อริยสาวกนี้มารผู้มีบาปจะทำอะไรไม่ได้.
-บาลี สตฺตก. อํ. 23/107/67.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//107,
https://etipitaka.com/read/pali/23/107