Mindfulness of breathing is ‘the meditation of a noble one’, or else ‘the meditation of a Brahmā’, or else ‘the meditation of a realized one’.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying in a forest near Icchānaṅgala. There he addressed the mendicants, “Mendicants, I wish to go on retreat for three months. No-one should approach me, except for the one who brings my almsfood.”
“Yes, sir,” replied those mendicants. And no-one approached him, except for the one who brought the almsfood.
Then after three months had passed, the Buddha came out of retreat and addressed the mendicants:
“Mendicants, if wanderers who follow another path were to ask you: ‘Reverends, what was the ascetic Gotama’s usual meditation during the rainy season residence?’ You should answer them like this. ‘Reverends, the ascetic Gotama’s usual meditation during the rainy season residence was immersion due to mindfulness of breathing.’
In this regard: mindful, I breathe in. Mindful, I breathe out.
When breathing in heavily I know: ‘I’m breathing in heavily.’ When breathing out heavily I know: ‘I’m breathing out heavily.’ When breathing in lightly I know: ‘I’m breathing in lightly.’ When breathing out lightly I know: ‘I’m breathing out lightly.’ I know: ‘I’ll breathe in experiencing the whole body.’ I know: ‘I’ll breathe out experiencing the whole body.’ I know: ‘I’ll breathe in stilling physical processes.’ I know: ‘I’ll breathe out stilling physical processes.’
I know: ‘I’ll breathe in experiencing rapture.’ I know: ‘I’ll breathe out experiencing rapture.’ I know: ‘I’ll breathe in experiencing bliss.’ I know: ‘I’ll breathe out experiencing bliss.’ I know: ‘I’ll breathe in experiencing mental processes.’ I know: ‘I’ll breathe out experiencing mental processes.’ I know: ‘I’ll breathe in stilling mental processes.’ I know: ‘I’ll breathe out stilling mental processes.’
I know: ‘I’ll breathe in experiencing the mind.’ I know: ‘I’ll breathe out experiencing the mind.’ I know: ‘I’ll breathe in gladdening the mind.’ I know: ‘I’ll breathe out gladdening the mind.’ I know: ‘I’ll breathe in immersing the mind in samādhi.’ I know: ‘I’ll breathe out immersing the mind in samādhi.’ I know: ‘I’ll breathe in freeing the mind.’ I know: ‘I’ll breathe out freeing the mind.’ I know: ‘I’ll breathe in observing impermanence.’ I know: ‘I’ll breathe out observing impermanence.’
I know: ‘I’ll breathe in observing fading away.’ I know: ‘I’ll breathe out observing fading away.’ I know: ‘I’ll breathe in observing cessation.’ I know: ‘I’ll breathe out observing cessation.’ I know: ‘I’ll breathe in observing letting go.’ I know: ‘I’ll breathe out observing letting go.’
For if anything should be rightly called ‘the meditation of a noble one’, or else ‘the meditation of a Brahmā’, or else ‘the meditation of a realized one’, it’s immersion due to mindfulness of breathing.
For those mendicants who are trainees—who haven’t achieved their heart’s desire, but live aspiring to the supreme sanctuary—the development and cultivation of immersion due to mindfulness of breathing leads to the ending of defilements.
For those mendicants who are perfected—who have ended the defilements, completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own goal, utterly ended the fetters of rebirth, and are rightly freed through enlightenment—the development and cultivation of immersion due to mindfulness of breathing leads to blissful meditation in the present life, and to mindfulness and awareness.
For if anything should be rightly called ‘the meditation of a noble one’, or else ‘the meditation of a Brahmā’, or else ‘the meditation of a realized one’, it’s immersion due to mindfulness of breathing.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ เขตนครอิจฉานังคละ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สัก ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาต (ไปให้) เพียงรูปเดียว.
ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงไม่มีใครๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตเพียงรูปเดียว ครั้งนั้น เมื่อผ่าน ๓ เดือนนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า อาวุโส โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมไหน ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธิ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งปีติหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งสุขหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งจิตหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักปล่อยจิตหายใจออก.
ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความจางคลายหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความดับหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความดับหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่าเราจักเห็นความสลัดคืนหายใจออก.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวถึงธรรมใดให้ถูกต้อง ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าวอานาปานสติสมาธินี้แหละ ว่าเป็นอริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญ กระทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นไปแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญ กระทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุขวิหารในทิฐธรรมนี้ด้วย ย่อมเป็นไปเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะด้วย.
ภิกษุทั้งหลาย เพราเหตุนั้นในเรื่องนี้ เมื่อจะกล่าวถึงธรรมใดให้ถูกต้อง ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าวอานาปานสติสมาธินี้แหละ ว่าเป็นอริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร ดังนี้.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/412/1363.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//412,
https://etipitaka.com/read/pali/19/412