Seven benefits of mindfulness of breathing
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, when mindfulness of breathing is developed and cultivated it’s very fruitful and beneficial. And how is mindfulness of breathing developed and cultivated to be very fruitful and beneficial?
It’s when a mendicant has gone to a wilderness, or to the root of a tree, or to an empty hut. They sit down cross-legged, with their body straight, and establish mindfulness right there.
Just mindful, they breathe in. Mindful, they breathe out. …
When breathing in heavily they know: ‘I’m breathing in heavily.’ When breathing out heavily they know: ‘I’m breathing out heavily.’ When breathing in lightly they know: ‘I’m breathing in lightly.’ When breathing out lightly they know: ‘I’m breathing out lightly.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing the whole body.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing the whole body.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in stilling physical processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out stilling physical processes.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing rapture.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing rapture.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing bliss.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing bliss.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in stilling mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out stilling mental processes.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in gladdening the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out gladdening the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in immersing the mind in samādhi.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out immersing the mind in samādhi.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in freeing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out freeing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing impermanence.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing impermanence.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in observing fading away.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing fading away.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing cessation.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing cessation.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing letting go.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing letting go.’
Mindfulness of breathing, when developed and cultivated in this way, is very fruitful and beneficial. When mindfulness of breathing is developed and cultivated in this way you can expect one of two results: enlightenment in the present life, or if there’s something left over, non-return.”
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง นั่งคู้ขาเข้ามาเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำกายสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งปีติหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งสุขหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตตสังขารหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตตสังขารให้ระงับหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักรู้พร้อมซึ่งจิตหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักปล่อยจิตหายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความจางคลายหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความจางคลายหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความดับไม่เหลือหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความดับไม่เหลือหายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนหายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนหายใจออก.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ
๑) ย่อมสำเร็จในปัจจุบัน
๒) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ย่อมสำเร็จในกาลแห่งมรณะ
๓) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน และไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
๔) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ และไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (เช่นนั้น) ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
๕) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชส์ ๕ สิ้นไป และไม่ได้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชส์ ๕ สิ้นไป (เช่นนั้น) ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
๖) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (เช่นนั้น) ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
๗) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ ไม่ได้เป็นอันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป และไม่ได้เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป (เช่นนั้น) ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่หวังได้.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/397/134.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//397,
https://etipitaka.com/read/pali/19/397/