Bālapaṇḍitasutta (Suffering of a foolish person, happiness of an astute person.)
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!”
“Venerable sir,” they replied. The Buddha said this:
“These are the three characteristics, signs, and manifestations of a fool. What three? A fool thinks poorly, speaks poorly, and acts poorly. If a fool didn’t think poorly, speak poorly, and act poorly, then how would the astute know of them, ‘This fellow is a fool, a bad person’? But since a fool does think poorly, speak poorly, and act poorly, then the astute do know of them, ‘This fellow is a fool, a bad person’.
A fool experiences three kinds of suffering and sadness in the present life.
Suppose a fool is sitting in a council hall, a street, or a crossroad, where people are discussing what is proper and fitting. And suppose that fool is someone who kills living creatures, steals, commits sexual misconduct, lies, and uses alcoholic drinks that cause negligence. Then that fool thinks, ‘These people are discussing what is proper and fitting. But those bad things are found in me and I am seen in them!’ This is the first kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Furthermore, a fool sees that the kings have arrested a bandit, a criminal, and subjected them to various punishments—whipping, caning, and clubbing; cutting off hands or feet, or both; cutting off ears or nose, or both; the ‘porridge pot’, the ‘shell-shave’, the ‘demon’s mouth’, the ‘garland of fire’, the ‘burning hand’, the ‘grass blades’, the ‘bark dress’, the ‘antelope’, the ‘meat hook’, the ‘coins’, the ‘caustic pickle’, the ‘twisting bar’, the ‘straw mat’; being splashed with hot oil, being fed to the dogs, being impaled alive, and being beheaded. Then that fool thinks, ‘The kinds of deeds for which the kings inflict such punishments—those things are found in me and I am seen in them! If the kings find out about me, they will inflict the same kinds of punishments on me!’ This is the second kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Furthermore, when a fool is resting on a chair or a bed or on the ground, their past bad deeds—misconduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. It is like the shadow of a great mountain peak in the evening as it settles down, rests down, and lays down upon the earth. In the same way, when a fool is resting on a chair or a bed or on the ground, their past bad deeds—misconduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. Then that fool thinks, ‘Well, I haven’t done good and skillful things that keep me safe. And I have done bad, violent, and depraved things. When I depart, I’ll go to the place where people who’ve done such things go.’ They sorrow and wail and lament, beating their breasts and falling into confusion. This is the third kind of suffering and sadness that a fool experiences in the present life.
Having done bad things by way of body, speech, and mind, when their body breaks up, after death, they’re reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.
And if there’s anything of which it may be rightly said that it is utterly unlikable, undesirable, and disagreeable, it is of hell that this should be said. So much so that it’s not easy to give a simile for how painful hell is.”
When he said this, one of the mendicants asked the Buddha, “But sir, is it possible to give a simile?”
“It’s possible,” said the Buddha.
“Suppose they arrest a bandit, a criminal and present him to the king, saying, ‘Your Majesty, this is a bandit, a criminal. Punish him as you will.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the morning with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told. Then at midday the king would say, ‘My men, how is that man?’ ‘He’s still alive, Your Majesty.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the midday with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told. Then late in the afternoon the king would say, ‘My men, how is that man?’ ‘He’s still alive, Your Majesty.’ The king would say, ‘Go, my men, and strike this man in the late afternoon with a hundred spears!’ The king’s men did as they were told.
What do you think, mendicants? Would that man experience pain and distress from being struck with three hundred spears?”
“Sir, that man would experience pain and distress from being struck with one spear, let alone three hundred spears!”
Then the Buddha, picking up a stone the size of his palm, addressed the mendicants, “What do you think, mendicants? Which is bigger: the stone the size of my palm that I’ve picked up, or the Himalayas, the king of mountains?”
“Sir, the stone you’ve picked up is tiny. Compared to the Himalayas, it doesn’t count, it’s not worth a fraction, there’s no comparison.”
“In the same way, compared to the suffering in hell, the pain and distress experienced by that man due to being struck with three hundred spears doesn’t count, it’s not worth a fraction, there’s no comparison.
The wardens of hell punish them with the five-fold crucifixion. They drive red-hot stakes through the hands and feet, and another in the middle of the chest. And there they feel painful, sharp, severe, acute feelings—but they don’t die until that bad deed is eliminated.
The wardens of hell throw them down and hack them with axes. …
They hang them upside-down and hack them with hatchets. …
They harness them to a chariot, and drive them back and forth across burning ground, blazing and glowing. …
They make them climb up and down a huge mountain of burning coals, blazing and glowing. …
The wardens of hell turn them upside down and throw them into a red-hot copper pot, burning, blazing, and glowing. There they’re seared in boiling scum, and they’re swept up and down and round and round. And there they feel painful, sharp, severe, acute feelings—but they don’t die until that bad deed is eliminated.
The wardens of hell toss them in the Great Hell. Now, about that Great Hell:
‘Four are its corners, four its doors,
neatly divided in equal parts.
Surrounded by an iron wall,
of iron is its roof.
The ground is even made of iron,
it burns with fierce fire.
The heat forever radiates
a hundred leagues around.’
I could tell you many different things about hell. So much so that it’s not easy to completely describe the suffering in hell.
There are, mendicants, animals that feed on grass. They eat by cropping fresh or dried grass with their teeth. And what animals feed on grass? Elephants, horses, cattle, donkeys, goats, deer, and various others. A fool who used to be a glutton here and did bad deeds here, when their body breaks up, after death, is reborn in the company of those sentient beings who feed on grass.
There are animals that feed on dung. When they catch a whiff of dung they run to it, thinking, ‘There we’ll eat! There we’ll eat!’ It’s like when brahmins smell a burnt offering, they run to it, thinking, ‘There we’ll eat! There we’ll eat!’ In the same way, there are animals that feed on dung. When they catch a whiff of dung they run to it, thinking, ‘There we’ll eat! There we’ll eat!’ And what animals feed on dung? Chickens, pigs, dogs, jackals, and various others. A fool who used to be a glutton here and did bad deeds here, after death is reborn in the company of those sentient beings who feed on dung.
There are animals who are born, live, and die in darkness. And what animals are born, live, and die in darkness? Moths, maggots, earthworms, and various others. A fool who used to be a glutton here and did bad deeds here, after death is reborn in the company of those sentient beings who are born, live, and die in darkness.
There are animals who are born, live, and die in water. And what animals are born, live, and die in water? Fish, turtles, crocodiles, and various others. A fool who used to be a glutton here and did bad deeds here, after death is reborn in the company of those sentient beings who are born, live, and die in water.
There are animals who are born, live, and die in filth. And what animals are born, live, and die in filth? Those animals that are born, live, and die in a rotten fish, a rotten corpse, rotten porridge, or a sewer. A fool who used to be a glutton here and did bad deeds here, after death is reborn in the company of those sentient beings who are born, live, and die in filth.
I could tell you many different things about the animal realm. So much so that it’s not easy to completely describe the suffering in the animal realm.
Mendicants, suppose a person were to throw a yoke with a single hole into the ocean. The east wind wafts it west; the west wind wafts it east; the north wind wafts it south; and the south wind wafts it north. And there was a one-eyed turtle who popped up once every hundred years.
What do you think, mendicants? Would that one-eyed turtle still poke its neck through the hole in that yoke?”
“No, sir. Only after a very long time, sir, if ever.”
“That one-eyed turtle would poke its neck through the hole in that yoke sooner than a fool who has fallen to the underworld would be reborn as a human being, I say. Why is that? Because in that place there’s no principled or moral conduct, and no doing what is good and skillful. There they just prey on each other, preying on the weak.
And suppose that fool, after a very long time, returned to the human realm. They’d be reborn in a low class family—a family of outcastes, hunters, bamboo-workers, chariot-makers, or waste-collectors. Such families are poor, with little to eat or drink, where life is tough, and food and shelter are hard to find. And they’d be ugly, unsightly, deformed, chronically ill—one-eyed, crippled, lame, or half-paralyzed. They don’t get to have food, drink, clothes, and vehicles; garlands, perfumes, and makeup; or bed, house, and lighting. And they do bad things by way of body, speech, and mind. When their body breaks up, after death, they’re reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.
Suppose a gambler on the first unlucky throw were to lose his wife and child, all his property, and then get thrown in jail. But such an unlucky throw is trivial compared to the unlucky throw whereby a fool, having done bad things by way of body, speech, and mind, when their body breaks up, after death, is reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. This is the total fulfillment of the fool’s level.
There are these three characteristics, signs, and manifestations of an astute person. What three? An astute person thinks well, speaks well, and acts well. If an astute person didn’t think well, speak well, and act well, then how would the astute know of them, ‘This fellow is astute, a good person’?
But since an astute person does think well, speak well, and act well, then the astute do know of them, ‘This fellow is astute, a good person’. An astute person experiences three kinds of pleasure and happiness in the present life. Suppose an astute person is sitting in a council hall, a street, or a crossroad, where people are discussing about what is proper and fitting. And suppose that astute person is someone who refrains from killing living creatures, stealing, committing sexual misconduct, lying, and alcoholic drinks that cause negligence. Then that astute person thinks, ‘These people are discussing what is proper and fitting. And those good things are found in me and I am seen in them.’ This is the first kind of pleasure and happiness that an astute person experiences in the present life.
Furthermore, an astute person sees that the kings have arrested a bandit, a criminal, and subjected them to various punishments—whipping, caning, and clubbing; cutting off hands or feet, or both; cutting off ears or nose, or both; the ‘porridge pot’, the ‘shell-shave’, the ‘demon’s mouth’, the ‘garland of fire’, the ‘burning hand’, the ‘grass blades’, the ‘bark dress’, the ‘antelope’, the ‘meat hook’, the ‘coins’, the ‘caustic pickle’, the ‘twisting bar’, the ‘straw mat’; being splashed with hot oil, being fed to the dogs, being impaled alive, and being beheaded. Then that astute person thinks, ‘The kinds of deeds for which the kings inflict such punishments—those things are not found in me and I am not seen in them!’ This is the second kind of pleasure and happiness that an astute person experiences in the present life.
Furthermore, when an astute person is resting on a chair or a bed or on the ground, their past good deeds—good conduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. It is like the shadow of a great mountain peak in the evening as it settles down, rests down, and lays down upon the earth. In the same way, when an astute person is resting on a chair or a bed or on the ground, their past good deeds—good conduct of body, speech, and mind—settle down upon them, rest down upon them, and lay down upon them. Then that astute person thinks, ‘Well, I haven’t done bad, violent, and depraved things. And I have done good and skillful deeds that keep me safe. When I pass away, I’ll go to the place where people who’ve done such things go.’ So they don’t sorrow and wail and lament, beating their breast and falling into confusion. This is the third kind of pleasure and happiness that an astute person experiences in the present life.
When their body breaks up, after death, they’re reborn in a good place, a heavenly realm.
And if there’s anything of which it may be rightly said that it is utterly likable, desirable, and agreeable, it is of heaven that this should be said. So much so that it’s not easy to give a simile for how pleasurable heaven is.”
When he said this, one of the mendicants asked the Buddha, “But sir, is it possible to give a simile?”
“It’s possible,” said the Buddha.
“Suppose there was a king, a wheel-turning monarch who possessed seven treasures and four blessings, and experienced pleasure and happiness because of them.
What seven? It’s when, on the fifteenth day sabbath, an anointed aristocratic king has bathed his head and gone upstairs in the royal longhouse to observe the sabbath. And the heavenly wheel-treasure appears to him, with a thousand spokes, with rim and hub, complete in every detail. Seeing this, the king thinks, ‘I have heard that when the heavenly wheel-treasure appears to a king in this way, he becomes a wheel-turning monarch. Am I then a wheel-turning monarch?’
Then the anointed aristocratic king, taking a ceremonial vase in his left hand, besprinkled the wheel-treasure with his right hand, saying, ‘Roll forth, O wheel-treasure! Triumph, O wheel-treasure!’ Then the wheel-treasure rolls towards the east. And the king follows it together with his army of four divisions. In whatever place the wheel-treasure stands still, there the king comes to stay together with his army. And any opposing rulers of the eastern quarter come to the wheel-turning monarch and say, ‘Come, great king! Welcome, great king! We are yours, great king, instruct us.’ The wheel-turning monarch says, ‘Do not kill living creatures. Do not steal. Do not commit sexual misconduct. Do not lie. Do not drink alcohol. Maintain the current level of taxation.’ And so the opposing rulers of the eastern quarter become his vassals.
Then the wheel-treasure, having plunged into the eastern ocean and emerged again, rolls towards the south. … Having plunged into the southern ocean and emerged again, it rolls towards the west. … Having plunged into the western ocean and emerged again, it rolls towards the north, followed by the king together with his army of four divisions. In whatever place the wheel-treasure stands still, there the king comes to stay together with his army.
And any opposing rulers of the northern quarter come to the wheel-turning monarch and say, ‘Come, great king! Welcome, great king! We are yours, great king, instruct us.’ The wheel-turning monarch says, ‘Do not kill living creatures. Do not steal. Do not commit sexual misconduct. Do not lie. Do not drink alcohol. Maintain the current level of taxation.’ And so the rulers of the northern quarter become his vassals.
And then the wheel-treasure, having triumphed over this land surrounded by ocean, returns to the royal capital. There it stands still at the gate to the royal compound as if fixed to an axle, illuminating the royal compound. Such is the wheel-treasure that appears to the wheel-turning monarch.
Next, the elephant-treasure appears to the wheel-turning monarch. It was an all-white sky-walker with psychic power, touching the ground in seven places, a king of elephants named Sabbath. Seeing him, the king was impressed, ‘This would truly be a fine elephant vehicle, if he would submit to taming.’ Then the elephant-treasure submitted to taming, as if he were a fine thoroughbred elephant that had been tamed for a long time. Once it so happened that the wheel-turning monarch, testing that same elephant-treasure, mounted him in the morning and traversed the land surrounded by ocean before returning to the royal capital in time for breakfast. Such is the elephant-treasure that appears to the wheel-turning monarch.
Next, the horse-treasure appears to the wheel-turning monarch. It was an all-white sky-walker with psychic power, with head of black and mane like woven reeds, a royal steed named Thundercloud. Seeing him, the king was impressed, ‘This would truly be a fine horse vehicle, if he would submit to taming.’ Then the horse-treasure submitted to taming, as if he were a fine thoroughbred horse that had been tamed for a long time. Once it so happened that the wheel-turning monarch, testing that same horse-treasure, mounted him in the morning and traversed the land surrounded by ocean before returning to the royal capital in time for breakfast. Such is the horse-treasure that appears to the wheel-turning monarch.
Next, the jewel-treasure appears to the wheel-turning monarch. It is a beryl gem that’s naturally beautiful, eight-faceted, well-worked. And the radiance of that jewel spreads all-round for a league. Once it so happened that the wheel-turning monarch, testing that same jewel-treasure, mobilized his army of four divisions and, with the jewel hoisted on his banner, set out in the dark of the night. Then the villagers around them set off to work, thinking that it was day. Such is the jewel-treasure that appears to the wheel-turning monarch.
Next, the woman-treasure appears to the wheel-turning monarch. She is attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty. She’s neither too tall nor too short; neither too thin nor too fat; neither too dark nor too light. She outdoes human beauty without reaching divine beauty. And her touch is like a tuft of cotton-wool or kapok. When it’s cool her limbs are warm, and when it’s warm her limbs are cool. The fragrance of sandal floats from her body, and lotus from her mouth. She gets up before the king and goes to bed after him, and is obliging, behaving nicely and speaking politely. The woman-treasure does not betray the wheel-turning monarch even in thought, still less in deed. Such is the woman-treasure who appears to the wheel-turning monarch.
Next, the householder-treasure appears to the wheel-turning monarch. The power of clairvoyance manifests in him as a result of past deeds, by which he sees hidden treasure, both owned and ownerless. He approaches the wheel-turning monarch and says, ‘Relax, sire. I will take care of the treasury.’ Once it so happened that the wheel-turning monarch, testing that same householder-treasure, boarded a boat and sailed to the middle of the Ganges river. Then he said to the householder-treasure, ‘Householder, I need gold coins and bullion.’ ‘Well then, great king, draw the boat up to one shore.’ ‘It’s right here, householder, that I need gold coins and bullion.’ Then that householder-treasure, immersing both hands in the water, pulled up a pot full of gold coin and bullion, and said to the king, ‘Is this sufficient, great king? Has enough been done, great king, enough offered?’ The wheel-turning monarch said, ‘That is sufficient, householder. Enough has been done, enough offered.’ Such is the householder-treasure that appears to the wheel-turning monarch.
Next, the counselor-treasure appears to the wheel-turning monarch. He is astute, competent, intelligent, and capable of getting the king to appoint who should be appointed, dismiss who should be dismissed, and retain who should be retained. He approaches the wheel-turning monarch and says, ‘Relax, sire. I shall issue instructions.’ Such is the counselor-treasure that appears to the wheel-turning monarch. These are the seven treasures possessed by a wheel-turning monarch.
And what are the four blessings?
A wheel-turning monarch is attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty, more so than other people. This is the first blessing.
Furthermore, he is long-lived, more so than other people. This is the second blessing.
Furthermore, he is rarely ill or unwell, and his stomach digests well, being neither too hot nor too cold, more so than other people. This is the third blessing.
Furthermore, a wheel-turning monarch is as dear and beloved to the brahmins and householders as a father is to his children. And the brahmins and householders are as dear to the wheel-turning monarch as children are to their father.
Once it so happened that a wheel-turning monarch went with his army of four divisions to visit a park. Then the brahmins and householders went up to him and said, ‘Slow down, Your Majesty, so we may see you longer!’ And the king addressed his charioteer, ‘Drive slowly, charioteer, so I can see the brahmins and householders longer!’ This is the fourth blessing.
These are the four blessings possessed by a wheel-turning monarch.
What do you think, mendicants? Would a wheel-turning monarch who possessed these seven treasures and these four blessings experience pleasure and happiness because of them?”
“Sir, a wheel-turning monarch who possessed even a single one of these treasures would experience pleasure and happiness because of that, let alone all seven treasures and four blessings!”
Then the Buddha, picking up a stone the size of his palm, addressed the mendicants, “What do you think, mendicants? Which is bigger: the stone the size of my palm that I’ve picked up, or the Himalayas, the king of mountains?”
“Sir, the stone you’ve picked up is tiny. Compared to the Himalayas, it doesn’t count, it’s not worth a fraction, there’s no comparison.”
“In the same way, compared to the happiness of heaven, the pleasure and happiness experienced by a wheel-turning monarch due to those seven treasures and those four blessings doesn’t even count, it’s not even a fraction, there’s no comparison.
And suppose that astute person, after a very long time, returned to the human realm. They’d be reborn in a well-to-do family of aristocrats, brahmins, or householders—rich, affluent, and wealthy, with lots of gold and silver, lots of property and assets, and lots of money and grain. And they’d be attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty. They’d get to have food, drink, clothes, and vehicles; garlands, perfumes, and makeup; and a bed, house, and lighting. And they do good things by way of body, speech, and mind. When their body breaks up, after death, they’re reborn in a good place, a heavenly realm.
Suppose a gambler on the first lucky throw was to win a big pile of money. But such a lucky throw is trivial compared to the lucky throw whereby an astute person, when their body breaks up, after death, is reborn in a good place, a heavenly realm. This is the total fulfillment of the astute person’s level.”
That is what the Buddha said. Satisfied, the mendicants were happy with what the Buddha said.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว … ได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย คนพาลในกรณีนี้ มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว มักทำการกระทำที่ชั่ว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคำพูดที่ชั่ว และทำการกระทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัปบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว และมักทำการกระทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี่เป็นคนพาล เป็นอสัปบุรุษ.
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมได้รับทุกขโทมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขา ถ้าคนพาลมักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขานั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๑ ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นพระราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด 1 คือ
๑) โบยด้วยแส้บ้าง
๒) โบยด้วยหวายบ้าง
๓) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
๔) ตัดมือบ้าง
๕) ตัดเท้าบ้าง
๖) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
๗) ตัดหูบ้าง
๘) ตัดจมูกบ้าง
๙) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
๑๐) ลงโทษด้วยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง
๑๑) ลงโทษด้วยวิธี ขอดสังข์บ้าง
๑๒) ลงโทษด้วยวิธี ปากราหูบ้าง
๑๓) ลงโทษด้วยวิธี มาลัยไฟบ้าง
๑๔) ลงโทษด้วยวิธี คบมือบ้าง
๑๕) ลงโทษด้วยวิธี ริ้วส่ายบ้าง
๑๖) ลงโทษด้วยวิธี นุ่งเปลือกไม้บ้าง
๑๗) ลงโทษด้วยวิธี ยืนกวางบ้าง
๑๘) ลงโทษด้วยวิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ดบ้าง
๑๙) ลงโทษด้วยวิธี เหรียญกษาปณ์บ้าง
๒๐) ลงโทษด้วยวิธี แปรงแสบบ้าง
๒๑) ลงโทษด้วยวิธี กางเวียนบ้าง
๒๒) ลงโทษด้วยวิธี ตั่งฟางบ้าง
๒๓) ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ บ้าง
๒๔) ให้สุนัขทึ้งบ้าง
๒๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง
๒๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง … ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายรู้จักเรา ก็จะจับเราแล้วสั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง … ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๒ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทำไว้ในกาลก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมอันเป็นบาปที่คนพาลทำไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่ความร้าย ทำแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ความร้าย และความเลว เป็นกำหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ำครวญ ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมได้รับทุกขโทมนัสข้อที่ ๓ แม้ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจโดยส่วนเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้ แม้จะเปรียบอุปมาถึงความทุกข์ในนรก ก็ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย.
ภันเต อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่
ภิกษุทั้งหลาย อาจเปรียบได้.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแด่พระราชาว่า “ข้าแต่เทวะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์โปรดลงอาชญาตามที่พระราชประสงค์แเถิด” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเช้า ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร” พวกราชบุรุษทูลว่า “ข้าแต่เทวะ ยังมีชีวิตอยู่อย่างเดิม” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลากลางวัน” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร” พวกราชบุรุษทูลว่า “ข้าแต่เทวะ ยังมีชีวิตอยู่อย่างเดิม” พระราชาทรงสั่งการอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น” พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเย็น.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม จะได้รับทุกขโทมนัสเพราะการที่ถูกแทงนั้นเป็นเหตุบ้างหรือไม่.
ภันเต บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็ได้รับทุกขโทมนัสเพราะเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวไปไยถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์อย่างไหนขนาดใหญ่กว่ากัน.
ภันเต แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้ มีประมาณน้อยนัก เมื่อเปรียบเทียบกับภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกขโทมนัสที่บุรุษกำลังได้รับเพราะการถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ เมื่อเปรียบเทียบกับทุกข์ของในนรก ก็ยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านิรยบาลจะทำการลงโทษคนพาลนั้น ด้วยวิธีที่ชื่อว่าเครื่องผูก ๕ อย่าง คือ เอาตะปูเหล็กแดงร้อนตอกที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ท่ามกลางอก เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นขึงพืด แล้วเอาผึ่งถาก เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่กรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้หัวห้อยลง แล้วเอามีดเฉือน …
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเทียมรถ แล้วพาแล่นไปมาบนแผ่นดินซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง …
เหล่านิรยบาลจะไล่ต้อนคนพาลนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วงบ้าง …
เหล่านิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบน ให้หัวห้อยลง แล้วโยนลงในหม้อเหล็กแดงซึ่งมีไฟติดทั่วลุกโพลงโชติช่วง เขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น เมื่อเขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองอยู่ จะลอยขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง จมลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง ไปตามขวางครั้งหนึ่งบ้าง เขาได้รับทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่ายนิรยบาลจะโยนคนพาลนั้นเข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั้นมี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งออกเป็นห้องๆ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นล้วนเป็นเหล็ก ซึ่งไฟลุกโชนประกอบด้วยเปลว แผ่ไปไกลร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวถึงความทุกข์ในนรก ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย.
ภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่มีหญ้าเป็นอาหาร สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นย่อมใช้ฟันแทะเล็มกินหญ้าสด ภิกษุทั้งหลาย ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่มีหญ้าเป็นอาหารอะไรบ้าง คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าประเภทใดๆ ที่มีหญ้าเป็นอาหาร ภิกษุทั้งหลาย ในเบื้องต้นคนพาลในกรณีนี้นั้น เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทำกรรมอันเป็นบาปไว้ ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์ประเภทที่มีหญ้าเป็นอาหารเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่มีคูถเป็นอาหาร สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถจากที่ไกลๆ แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ เปรียบเหมือนพวกพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยตั้งใจว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ภิกษุทั้งหลาย ฉันฉันใดก็ฉันนั้น มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่มีคูถเป็นอาหาร สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถจากที่ไกลๆ แล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ภิกษุทั้งหลาย ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่มีคูถเป็นอาหารอะไรบ้าง คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าประเภทใดๆ ที่มีคูถเป็นอาหาร ภิกษุทั้งหลาย ในเบื้องต้นคนพาลในกรณีนี้นั้น เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทำกรรมอันเป็นบาปไว้ ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์ประเภทที่มีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด ภิกษุทั้งหลาย ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด อะไรบ้าง คือ ตั๊กแตน มอด ไส้เดือน หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าประเภทใดๆ ที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด ภิกษุทั้งหลาย ในเบื้องต้นคนพาลในกรณีนี้นั้น เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทำกรรมอันเป็นบาปไว้ ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์ประเภทที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืดเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ ภิกษุทั้งหลาย ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ อะไรบ้าง คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าประเภทใดๆ ที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ ภิกษุทั้งหลาย ในเบื้องต้นคนพาลในกรณีนี้นั้น เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทำกรรมอันเป็นบาปไว้ใน ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์ประเภทที่เกิดใน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ.
ภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในของโสโครก แก่ในของโสโครก ตายในของโสโครก ภิกษุทั้งหลาย ก็เหล่าสัตว์เดรัจฉานประเภทที่เกิดในของโสโครก แก่ในของโสโครก ตายในของโสโครกอะไรบ้าง คือ เหล่าสัตว์ประเภทที่เกิดในปลาเน่า แก่ในปลาเน่า ตายในปลาเน่าก็มี เหล่าสัตว์ประเภทที่เกิดในศพเน่า … ก็มี เหล่าสัตว์ประเภทที่เกิดในขนมกุมมาสเก่า … ก็มี เหล่าสัตว์ประเภทที่เกิดในน้ำครำ … ก็มี เหล่าสัตว์ประเภทที่เกิดในหลุมโสโครก … ก็มี หรือแม้จำพวกอื่นๆ ไม่ว่าประเภทใดๆ ที่เกิดในของโสโครก แก่ในของโสโครก ตายในของโสโครก ภิกษุทั้งหลาย ในเบื้องต้นคนพาลในกรณีนี้นั้น เป็นผู้กินอาหารด้วยความติดใจในรส และทำกรรมอันเป็นบาปไว้ ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์ประเภทที่เกิดในของโสโครก แก่ในของโสโครก ตายในของโสโครก.
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องกำเนิดเดรัจฉานแม้โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวถึงความทุกข์ในกำเนิดเดรัจฉาน ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอกที่มีรูเดียวลงไปในมหาสมุทร แอกนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ มีเต่าตาบอดตัวหนึ่งอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีๆ จึงจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร เต่าตาบอดตัวนั้น จะพึงเอาคอสวมเข้าที่แอกซึ่งมีรูเดียวโน้นได้บ้างไหม.
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ภันเต ภันเต ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอน.
ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่แอกซึ่งมีรูเดียวโน้นได้ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวข้อที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้ว จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ยังยากกว่านี้ นั่นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนี้ไม่มีการประพฤติธรรม ไม่มีการประพฤติสงบ ไม่มีการทำกุศล ไม่มีการทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนผู้อ่อนแอ.
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในตระกูลต่ำเห็นปานนี้ คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลคนจักสาน หรือสกุลคนทำรถ หรือสกุลคนเทขยะ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าวและน้ำน้อย มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาจะมีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนกระจอกบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ เขายังประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะเคราะห์ร้ายประการแรกเท่านั้นจึงต้องเสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่างบ้างยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจำ เคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสียไปดังนั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้เคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์ที่คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริตแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์.
ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในกรณีนี้ มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการกระทำที่ดี ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี พูดคำพูดที่ดี และทำการกระทำที่ดี บัณฑิตทั้งหลายไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัปบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย เพราะบัณฑิตมักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี และมักทำการกระทำที่ดี ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัปบุรุษ.
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี นั่งริมถนนรถก็ดี นั่งริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่เหมาะสมแก่เขานั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่ ๑ ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลาย จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ
๑) โบยด้วยแส้บ้าง
๒) โบยด้วยหวายบ้าง
๓) ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
๔) ตัดมือบ้าง
๕) ตัดเท้าบ้าง
๖) ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
๗) ตัดหูบ้าง
๘) ตัดจมูกบ้าง
๙) ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
๑๐) ลงโทษด้วยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง
๑๑) ลงโทษด้วยวิธี ขอดสังข์บ้าง
๑๒) ลงโทษด้วยวิธี ปากราหูบ้าง
๑๓) ลงโทษด้วยวิธี มาลัยไฟบ้าง
๑๔) ลงโทษด้วยวิธี คบมือบ้าง
๑๕) ลงโทษด้วยวิธี ริ้วส่ายบ้าง
๑๖) ลงโทษด้วยวิธี นุ่งเปลือกไม้บ้าง
๑๗) ลงโทษด้วยวิธี ยืนกวางบ้าง
๑๘) ลงโทษด้วยวิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ดบ้าง
๑๙) ลงโทษด้วยวิธี เหรียญกษาปณ์บ้าง
๒๐) ลงโทษด้วยวิธี แปรงแสบบ้าง
๒๑) ลงโทษด้วยวิธี กางเวียนบ้าง
๒๒) ลงโทษด้วยวิธี ตั่งฟางบ้าง
๒๓) ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ บ้าง
๒๔) ให้สุนัขทึ้งบ้าง
๒๕) ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง
๒๖) ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงโทษด้วยวิธีการลงโทษนานาชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง … ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีอยู่ในเรา และเราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้นด้วย ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่ ๒ ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กัลยาณกรรมที่บัณฑิตทำไว้ในกาลก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ย่อมคุ้มครองบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขา ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น กัลยาณกรรมที่บัณฑิตทำไว้ในกาลก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ย่อมคุ้มครองบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมอง เราทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ เราละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมอง ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ บัณฑิตนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความหลงไหล ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่ ๓ ดังนี้ในปัจจุบัน.
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสวรรค์นั้นนั่นแหละว่า เป็นสถานที่ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจโดยส่วนเดียว ภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาถึงความสุขในสวรรค์ ก็ไม่ใช่จะทำได้โดยง่าย.
ภันเต พระองค์อาจจะเปรียบอุปมาได้หรือไม่.
ภิกษุทั้งหลาย อาจเปรียบได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุได้ ก็แก้ว ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ได้มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร รักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกง และดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้มีดำริดังนี้ว่า ก็เราได้ฟังมาดังนี้ว่า พระราชาพระองค์ใด ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร รักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกง และดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นี่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกระมัง.
ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำด้วยมือซ้าย หลั่งรดจักรแก้วด้วยมือขวา สั่งว่า จงหมุนไปเถิดจักรแก้วอันประเสริฐ จงพิชิตให้ยิ่งใหญ่เถิดจักรแก้วอันประเสริฐ.
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นก็หมุนไปด้านทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วตั้งอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา.
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้วมหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์โปรดจงสั่งการเถิด”.
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันไปตามเดิมเถิด ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ.
ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วนั้นได้หมุนไปจดมหาสมุทรด้านทิศตะวันออก แล้วหมุนไปด้านทิศใต้ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วตั้งอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา.
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศใต้ เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้วมหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์โปรดจงสั่งการเถิด”.
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันไปตามเดิมเถิด ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศใต้เหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ.
ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วนั้นได้หมุนไปจดมหาสมุทรด้านทิศใต้ แล้วหมุนไปด้านทิศตะวันตก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วตั้งอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา.
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันตก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้วมหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์โปรดจงสั่งการเถิด”.
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันไปตามเดิมเถิด ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันตกเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ.
ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วนั้นได้หมุนไปจดมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วหมุนไปด้านทิศเหนือ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วตั้งอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา.
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือ เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้วมหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์โปรดจงสั่งการเถิด”.
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันไปตามเดิมเถิด ภิกษุทั้งหลาย บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานีเดิม ตั้งอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักประตู ภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักรแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๒) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏช้างแก้วอันเป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ เป็นช้างเผือก มีที่ตั้งอวัยวะทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้วย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า “จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด” จากนั้น ช้างแก้วนั้น จึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดสอบช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมาราชธานีเดิมทันเสวยอาหารเช้า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏช้างแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๓) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏม้าแก้วอันเป็นอัสวราชชื่อวลาหก ขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผมสลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า “จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด” จากนั้น ม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญ ที่ถูกฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดสอบม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมาราชธานีเดิมทันเสวยอาหารเช้า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๔) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมณีแก้วอันเป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดสอบมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคเสนา ยกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ พากันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๕) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ผิวพรรณล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพย์ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้นมีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทน์ฟุ้งไปจากกาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปจากปาก นางแก้วนั้นมีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังบรรหารใช้ (ตรัสสั่ง) ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัยเป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักรพรรดิแม้ทางใจ ไฉนเล่า จะมีการประพฤติล่วงทางกายได้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๖) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏคหบดีแก้ว ผู้มีจักษุอันเป็นทิพย์เกิดจากวิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์โปรดจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้” ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดสอบคหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคหบดีแก้วดังนี้ว่า “คหบดี เราต้องการเงินและทอง”.
คหบดีแก้วทูลว่า “มหาราช ถ้าเช่นนั้นโปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด”.
พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า “คหบดี เราต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ”
ทันใดนั้น คหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลงในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า “มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือยังเพียงเท่านี้”.
พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า “คหบดี พอแล้วเพียงเท่านี้ ใช้ได้แล้วเพียงเท่านี้ บูชาได้แล้วเพียงเท่านี้”.
ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคหบดีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
๗) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวายข้อแนะนำให้พระองค์บำรุงบุคคลผู้ที่ควรบำรุง ถอดถอนบุคคลผู้ที่ควรถอดถอน แต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์โปรดจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย” ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้.
ก็ความสัมฤทธิผล ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑) ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในกรณีนี้ ย่อมมีพระสิริโฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงดงามอย่างยิ่งเกินมนุษย์อื่นๆ ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๑ ดังนี้.
๒) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมมีอายุยืน มีชีวิตอยู่นานเกินมนุษย์อื่นๆ ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้.
๓) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ไม่ทรงลำบาก ทรงประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยอาหารได้สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้.
๔) ภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจ ของพราหมณ์และคหบดี เหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปรานพอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดาฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคเสนาออกประพาสพระราชอุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ เถิด” แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า “สารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่เราได้ชมบรรดาพราหมณ์และคหบดีนานๆ เถิด” ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเป็นประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้ พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุใช่หรือไม่
ภันเต พระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ ก็ได้เสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้นเป็นเหตุ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่าง.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้ กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนมากกว่ากัน.
ภันเต แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมได้เสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุ แต่สุขโสมนัสนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับความสุขอันเป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในตระกูลสูงเห็นปานนี้ คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์เแห่งทรัพย์มาก มีทรัพย์และธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขาก็เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ และเขายังประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติมโนสุจริต ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอาชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่แท้ การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติมโนสุจริต ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์.
-บาลี อุปริ. ม. 14/311/467.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//311
https://etipitaka.com/read/pali/14/311/
1 ตัวอย่างวิธีการลงโทษอยู่หน้าท้ายๆ