Principles of speaking
English translation by Bhikkhu Sujato
When you want to act with speech, you should check on that same deed: ‘Does this act of speech that I want to do lead to hurting myself, hurting others, or hurting both? Is it unskillful, with suffering as its outcome and result?’ If, while checking in this way, you know: ‘This act with speech that I want to do leads to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s unskillful, with suffering as its outcome and result.’ To the best of your ability, Rāhula, you should not do such a deed. But if, while checking in this way, you know: ‘This act with speech that I want to do doesn’t lead to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s skillful, with happiness as its outcome and result.’ Then, Rāhula, you should do such a deed.
While you are acting with speech, you should check on that same act: ‘Does this act with speech that I am doing lead to hurting myself, hurting others, or hurting both? Is it unskillful, with suffering as its outcome and result?’ If, while checking in this way, you know: ‘This act with speech that I am doing leads to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s unskillful, with suffering as its outcome and result.’ Then, Rāhula, you should desist from such a deed. But if, while checking in this way, you know: ‘This act with speech that I am doing doesn’t lead to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s skillful, with happiness as its outcome and result.’ Then, Rāhula, you should continue doing such a deed.
After you have acted with speech, you should check on that same act: ‘Does this act with speech that I have done lead to hurting myself, hurting others, or hurting both? Is it unskillful, with suffering as its outcome and result?’ If, while checking in this way, you know: ‘This act of speech that I have done leads to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s unskillful, with suffering as its outcome and result.’ Then, Rāhula, you should confess, reveal, and clarify such a deed to the Teacher or a sensible spiritual companion. And having revealed it you should restrain yourself in future. But if, while checking in this way, you know: ‘This act of speech that I have done doesn’t lead to hurting myself, hurting others, or hurting both. It’s skillful, with happiness as its outcome and result.’ Then, Rāhula, you should live in rapture and joy because of this, training day and night in skillful qualities.
… ราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา พึงพิจารณากรรมนั้นก่อนว่า วจีกรรมที่เราปรารถนาจะกระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนั้น เธอไม่พึงกระทำวจีกรรมชนิดนั้นโดยส่วนเดียว.
ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เราปรารถนาจะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นฃ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ ราหุล เธอพึงกระทำวจีกรรมชนิดนั้น.
ราหุล เมื่อเธอกำลังกระทำกรรมใดด้วยวาจาอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า วจีกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนั้น เธอพึงเลิกละวจีกรรมชนิดนั้นเสีย.
ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ ราหุล เธอพึงเร่งการกระทำวจีกรรมชนิดนั้น.
ราหุล เมื่อกระทำกรรมใดด้วยวาจาแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า วจีกรรมที่เรากระทำไปแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ดังนี้ ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนั้น เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งวจีกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป.
ราหุล ถ้าเธอพิจารณาอยู่รู้สึกอย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เรากระทำไปแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นวจีกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้ ราหุล เธอพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืนเถิด.
-บาลี ม. ม. 13/128/130.
https://84000.org/tipitaka/pali/?13//128
https://etipitaka.com/read/pali/13/128/