Things to cultivate – Things not to cultivate. (1)
English translation by Bhikkhu Ṭhānissaro
… “I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. I say that there are two kinds of sound known by the ear … two kinds of smell known by the nose … two kinds of taste known by the tongue … two kinds of touch known by the body … two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.”
When he said this, Venerable Sāriputta said to the Buddha:
“Sir, this is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.
‘I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of sight known by the eye which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of sight known by the eye which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of sight known by the eye: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
‘I say that there are two kinds of sound known by the ear … two kinds of smell known by the nose … two kinds of taste known by the tongue … two kinds of touch known by the body … two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it?
You should not cultivate the kind of thought known by the mind which causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of thought known by the mind which causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of thought known by the mind: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it. Sir, that’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Sāriputta! It’s good that you understand the detailed meaning of my brief statement in this way.”
And the Buddha went on to repeat and endorse Venerable Sāriputta’s explanation in full. Then he went on to explain further:
“I say that there are two kinds of robes: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate. I say that there are two kinds of almsfood … lodging … village … town … city … country … person: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.”
When he said this, Venerable Sāriputta said to the Buddha:
“Sir, this is how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement. ‘I say that there are two kinds of robes … almsfood … lodging … village … town … city … country … person: that which you should cultivate, and that which you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, but why did he say it? You should not cultivate the kind of person who causes unskillful qualities to grow while skillful qualities decline. And you should cultivate the kind of person who causes unskillful qualities to decline while skillful qualities grow. ‘I say that there are two kinds of person: those who you should cultivate, and those who you should not cultivate.’ That’s what the Buddha said, and this is why he said it.
Sir, that’s how I understand the detailed meaning of the Buddha’s brief statement.”
“Good, good, Sāriputta! It’s good that you understand the detailed meaning of my brief statement in this way.”
And the Buddha went on to repeat and endorse Venerable Sāriputta’s explanation in full. Then he added:
“If all the aristocrats, brahmins, merchants, and workers were to understand the detailed meaning of my brief statement in this way, it would be for their lasting welfare and happiness. If the whole world—with its gods, Māras and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, gods and humans—was to understand the detailed meaning of my brief statement in this way, it would be for the whole world’s lasting welfare and happiness.”
สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยตาช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ควรเสพ ภันเต ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รูปที่รู้ได้ด้วยตาช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรูปที่รู้ได้ด้วยตาไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสียงที่รู้ได้ด้วยหูเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่รู้ได้ด้วยหูไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวกลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูกไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง รสที่รู้ได้ด้วยลิ้นเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวรสที่รู้ได้ด้วยลิ้นไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวธรรมที่รู้แจ้งด้วยใจไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ เธอพึงเห็นเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ คือ
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นิคมเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นครเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ภันเต เมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว.
ภันเต ธรรมปริยายนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาธุ สาธุ สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดาร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบิณฑบาตเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพเสนาสนะเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพหมู่บ้านเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนิคมเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นิคมเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนิคมไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพนครเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง นครเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวนครไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพชนบทเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวชนบทไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว สารีบุตร เมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้กล่าวแล้ว.
สารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ที่เรากล่าวไว้โดยย่อ เธอพึงเห็นเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.
ถ้าพราหมณ์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พราหมณ์ทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
ถ้าเวสส์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เวสส์ทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
ถ้าศูทรทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งปวงนั้นตลอดกาลนาน.
สารีบุตร ถ้าแม้โลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมปริรยาย ที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ นั่น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน.
-บาลี อุปริ. ม. 14/158/227.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//158
https://etipitaka.com/read/pali/14/160