A “giant” in 3 worlds
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery.
Then the Buddha robed up in the morning and, taking his bowl and robe, entered Sāvatthī for alms. Then, after the meal, on his return from almsround, he addressed Venerable Ānanda, “Come, Ānanda, let’s go to the Eastern Monastery, the stilt longhouse of Migāra’s mother for the day’s meditation.”
“Yes, sir,” Ānanda replied.
So the Buddha went with Ānanda to the Eastern Monastery. In the late afternoon the Buddha came out of retreat and addressed Ānanda, “Come, Ānanda, let’s go to the eastern gate to bathe.”
“Yes, sir,” Ānanda replied. So the Buddha went with Ānanda to the eastern gate to bathe. When he had bathed and emerged from the water he stood in one robe drying himself.
Now, at that time King Pasenadi had a giant bull elephant called “White”. It emerged from the eastern gate to the beating and playing of musical instruments.
When people saw it they said, “The royal giant is so handsome! The royal giant is so good-looking! The royal giant is so lovely! The royal giant has such a huge body!”
When they said this, Venerable Udāyī said to the Buddha, “Sir, is it only when they see elephants with such a huge, formidable body that people say: ‘A giant, such a giant’? Or do they say it when they see any other creatures with huge, formidable bodies?”
“Udāyī, when they see elephants with such a huge, formidable body people say: ‘A giant, such a giant!’
And also when they see a horse with a huge, formidable body …
When they see a bull with a huge, formidable body …
When they see a snake with a huge, formidable body …
When they see a tree with a huge, formidable body …
And when they see a human being with such a huge, formidable body people say: ‘A giant, such a giant!’
But Udāyī, one who does nothing monstrous by way of body, speech, and mind is who I call a ‘giant’ in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.”
“It’s incredible, sir, it’s amazing! How well said this was by the Buddha: ‘But Udāyī, one who does nothing monstrous by way of body, speech, and mind is who I call a “giant” in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.’ …
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี.
ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหารแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า
อานนท์ มาเถิด เราจักเข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา ที่บุพพารามวิหาร เพื่อพักผ่อนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา ที่บุพพารามวิหาร ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ มาเถิด เราจักไปยังท่าน้ำปุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จเข้าไปยังท่าน้ำปุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงแล้ว เสด็จขึ้นมา ทรงนุ่งอันตรวาสก และได้ยืนผึ่งพระกายอยู่.
ก็สมัยนั้น พระเสวตกุญชรของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขึ้นมาจากท่าน้ำปุพพโกฏฐกะตามเสียงดนตรีใหญ่ที่เขาตีประโคม ก็มหาชนเห็นช้างนั้นแล้วกล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช้างของพระราชาช่างงามยิ่งนัก ช้างของพระราชาช่างน่าดูนัก ช้างของพระราชาช่างน่าเลื่อมใสนัก ช้างของพระราชาช่างมีอวัยวะสมบูรณ์.
เมื่อมหาชนกล่าวชื่นชมอย่างนี้แล้ว ท่านพระกาฬุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต มหาชนเห็นช้างที่สูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์เท่านั้นหรือ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นช้างที่ประเสริฐหนอ หรือว่ามหาชนเห็นสัตว์อื่นบางอย่างที่สูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ สัตว์นั้นช่างประเสริฐหนอ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาฬุทายี มหาชนเห็นช้างที่สูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นช้างที่ประเสริฐหนอ กาฬุทายี มหาชนเห็นม้าที่สูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นม้าที่ประเสริฐหนอ กาฬุทายี มหาชนเห็นโคที่สูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นโคที่ประเสริฐหนอ กาฬุทายี มหาชนเห็นงูที่ยาวใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นงูที่ประเสริฐหนอ กาฬุทายี มหาชนเห็นต้นไม้ที่สูงใหญ่บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ช่างเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐหนอ กาฬุทายี มหาชนเห็นมนุษย์ที่มีร่างกายสูงใหญ่ มีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชื่นชมอย่างนี้ว่า ช่างเป็นคนที่ประเสริฐหนอ.
กาฬุทายี อนึ่ง บุคคลใดไม่ทำความชั่วด้วยกาย ไม่ทำความชั่วด้วยวาจา ไม่ทำความชั่วด้วยใจ เราเรียกบุคคลนั้นว่าผู้ประเสริฐ ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.
ภันเต ข้อน่าอัศจรรย์ ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน คือ พระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยดีดังนี้ว่า กาฬุทายี อนึ่ง บุคคลใดไม่ทำความชั่วด้วยกาย ไม่ทำความชั่วด้วยวาจา ไม่ทำความชั่วด้วยใจ เราเรียกบุคคลนั้นว่าผู้ประเสริฐ ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. …
-บาลี ฉกฺก. อํ. 22/385/314.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//385
https://etipitaka.com/read/pali/22/385