Principled and moral conduct (1)
English translation by Bhikkhu Sujato
Then a certain brahmin went up to the Buddha and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“What is the cause, Master Gotama, what is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell?”
“Unprincipled and immoral conduct is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.”
“But what is the cause, Master Gotama, what is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a good place, a heavenly realm?”
“Principled and moral conduct is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a good place, a heavenly realm.”
“I don’t understand the detailed meaning of what Master Gotama has said in brief. Please, Master Gotama, teach me this matter so I can understand the detailed meaning.”
“Well then, brahmin, listen and pay close attention, I will speak.”
“Yes, sir,” the brahmin replied. The Buddha said this:
“Brahmin, unprincipled and immoral conduct is threefold by way of body, fourfold by way of speech, and threefold by way of mind.
And how is unprincipled and immoral conduct threefold by way of body? … That’s how unprincipled and immoral conduct is threefold by way of body.
And how is unprincipled and immoral conduct fourfold by way of speech? … That’s how unprincipled and immoral conduct is fourfold by way of speech.
And how is unprincipled and immoral conduct threefold by way of mind? … That’s how unprincipled and immoral conduct is threefold by way of mind. That’s how unprincipled and immoral conduct is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a place of loss, a bad place, the underworld, hell.
Principled and moral conduct is threefold by way of body, fourfold by way of speech, and threefold by way of mind.
And how is principled and moral conduct threefold by way of body? … That’s how principled and moral conduct is threefold by way of body.
And how is principled and moral conduct fourfold by way of speech? … That’s how principled and moral conduct is fourfold by way of speech.
And how is principled and moral conduct threefold by way of mind? … That’s how principled and moral conduct is threefold by way of mind. That’s how principled and moral conduct is the reason why some sentient beings, when their body breaks up, after death, are reborn in a good place, a heavenly realm.”
“Excellent, Master Gotama! Excellent! … From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
พราหมณ์ เพราะการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พราหมณ์ เพราะการประพฤติธรรม และการประพฤติสงบเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้ ข้าพเจ้ายังไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความโดยพิสดาร สาธุ พระโคดมผู้เจริญ โปรดแสดงธรรมโดยประการที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารเถิด.
พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
พราหมณ์ การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางกายมี ๓ อย่าง การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางวาจามี ๔ อย่าง การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางใจมี ๓ อย่าง.
พราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางกายมี ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ปกติฆ่าสัตว์มีชีวิต หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต.
๒) เป็นผู้ปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตาม ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย.
๓) เป็นผู้ปกติประพฤติผิดในกาม คือ ประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางกาย ๓ อย่าง.
พราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางวาจามี ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ปกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น เพราะเหตุแห่งตนเอง เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.
๒) เป็นผู้ปกติพูดส่อเสียด คือ ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกันให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความแตกแยกกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้แตกแยกกัน.
๓) เป็นผู้ปกติพูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคาย กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจามีรูปลักษณะเช่นนั้น.
๔) เป็นผู้ปกติพูดเพ้อเจ้อ คือ เป็นผู้พูดไม่ถูกกาล พูดคำที่ไม่เป็นจริง พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย คำพูดที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางวาจา ๔ อย่าง.
พราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางใจมี ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งทรัพย์) คือ เป็นผู้เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้.
๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันเป็นไปในทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีชีวิตอยู่เลย ดังนี้.
๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่มี ดังนี้.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบทางใจ ๓ อย่าง.
พราหมณ์ เพราะการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สงบเป็นเหตุอย่างนี้แล สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
พราหมณ์ การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางกายมี ๓ อย่าง การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางวาจามี ๔ อย่าง การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางใจมี ๓ อย่าง.
พราหมณ์ ก็การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางกายมี ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต คือ วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู มีความกรุณา หวังความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่.
๒) เป็นผู้ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือ ไม่ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตามที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย.
๓) เป็นผู้ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจากการประพฤติผิดในหญิงที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา หรือธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงที่เขาหมั้นไว้ด้วยการคล้องพวงมาลัย ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางกาย ๓ อย่าง.
พราหมณ์ การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางวาจามี ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภาก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี อยู่ในท่ามกลางหมู่ชนก็ดี อยู่ในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าเห็น เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยใดๆ ก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่.
๒) เป็นผู้ละการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่นำไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้วไม่นำมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับสามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันอยู่ให้สามัคคีกันยิ่งขึ้น เป็นผู้พอใจ ยินดี เพลิดเพลินในความสามัคคีกัน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน.
๓) เป็นผู้ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่รักใคร่ที่พอใจของมหาชน เป็นผู้กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.
๔) เป็นผู้ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางวาจา ๔ อย่าง.
พราหมณ์ ก็การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางใจมี ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ พราหมณ์ บุคคลบางคนในกรณีนี้
๑) เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา คือ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่นว่า โอหนอ สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา ดังนี้.
๒) เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริแห่งใจอันไม่ไปทางประทุษร้ายว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด ดังนี้.
๓) เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล) ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามก็มี ดังนี้.
พราหมณ์ เหล่านี้แล การประพฤติธรรม และการประพฤติสงบทางใจ ๓ อย่าง
พราหมณ์ เพราะการประพฤติธรรม และประพฤติสงบเป็นเหตุอย่างนี้แล สัตว์บางพวกในกรณีนี้ ภายหลังจากการตายเพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
-บาลี เอกาทสก. อํ. 24/323/197.
https://84000.org/tipitaka/pali/?24//323
https://etipitaka.com/read/pali/24/323/