The establishment of the mind when giving a gift.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Campā on the banks of the Gaggarā Lotus Pond.
Then several lay followers of Campā went to Venerable Sāriputta, bowed, sat down to one side, and said to him, “Sir, it’s been a long time since we’ve heard a Dhamma talk from the Buddha. It would be good if we got to hear a Dhamma talk from the Buddha.”
“Well then, reverends, come on the next sabbath day. Hopefully you’ll get to hear a Dhamma talk from the Buddha.”
“Yes, sir” they replied. Then they rose from their seats, bowed to Sāriputta, and respectfully circled him before leaving.
Then on the next sabbath the lay followers of Campā went to Venerable Sāriputta, bowed, and stood to one side. Then they went together with Sāriputta to the Buddha, bowed, and sat down to one side. Sāriputta said to the Buddha:
“Sir, could it be that someone gives a gift and it is not very fruitful or beneficial, while someone else gives exactly the same gift and it is very fruitful and beneficial?”
“Indeed it could, Sāriputta.”
“Sir, what is the cause, what is the reason for this?”
“Sāriputta, take the case of a someone who gives a gift as an investment, their mind tied to it, expecting to keep it, thinking ‘I’ll enjoy this in my next life’. They give to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, fragrance, and makeup; and bed, house, and lighting. What do you think, Sāriputta, don’t some people give gifts in this way?”
“Yes, sir.”
“Sāriputta, someone who gives a gift as an investment, when their body breaks up, after death, is reborn in the company of the gods of the Four Great Kings. When that deed, success, fame, and sovereignty is spent they return to this state of existence.
Next, take the case of a someone who gives a gift not as an investment, their mind not tied to it, not expecting to keep it, and not thinking, ‘I’ll enjoy this in my next life’. But they give a gift thinking, ‘It’s good to give’ …
They give a gift thinking, ‘Giving was practiced by my father and my father’s father. It would not be right for me to abandon this family tradition.’ …
They give a gift thinking, ‘I cook, they don’t. It wouldn’t be right for me to not give to them.’ …
They give a gift thinking, ‘The ancient brahmin hermits were Aṭṭhaka, Vāmaka, Vāmadeva, Vessāmitta, Yamadaggi, Aṅgīrasa, Bhāradvāja, Vāseṭṭha, Kassapa, and Bhagu. Just as they performed great sacrifices, I will share a gift.’ …
They give a gift thinking, ‘When giving this gift my mind becomes clear, and I become happy and joyful.’ …
They don’t give a gift thinking, ‘When giving this gift my mind becomes clear, and I become happy and joyful.’ But they give a gift thinking, ‘This is an adornment and requisite for the mind.’ They give to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, fragrance, and makeup; and bed, house, and lighting. What do you think, Sāriputta, don’t some people give gifts in this way?”
“Yes, sir.”
“Sāriputta, someone who gives gifts, not for any other reason, but thinking, ‘This is an adornment and requisite for the mind’, when their body breaks up, after death, is reborn among the gods of Brahmā’s Host. When that deed, success, fame, and sovereignty is spent they are a non-returner; they do not return to this state of existence.
This is the cause, this is the reason why someone gives a gift and it is not very fruitful or beneficial, while someone else gives exactly the same gift and it is very fruitful and beneficial.”
English translation by Bhikkhu Ṭhānissaro
I have heard that on one occasion the Blessed One was staying near Campā on the shore of Gaggarā Lake. Then a large number of lay followers from Campā went to Ven. Sāriputta and, on arrival, having bowed down to him, sat to one side. As they were sitting there they said to Ven. Sāriputta: “It has been a long time, venerable sir, since we have had a chance to hear a Dhamma talk in the Blessed One’s presence. It would be good if we could get to hear a Dhamma talk in the Blessed One’s presence.”
“Then in that case, my friends, come again on the next uposatha day, and perhaps you’ll get to hear a Dhamma talk in the Blessed One’s presence.”
“As you say, venerable sir,” the lay followers from Campā said to Ven. Sāriputta. Rising from their seats, bowing down to him, and then circling him—keeping him on their right—they left.
Then, on the following uposatha day, the lay followers from Campā went to Ven. Sāriputta and, on arrival, having bowed down to him, stood to one side. Then Ven. Sāriputta, together with the lay followers from Campā, went to the Blessed One and on arrival, having bowed down to him, sat to one side. As he was sitting there, he said to the Blessed One: “Might there be the case where a person gives a gift of a certain sort and it does not bear great fruit or great benefit, whereas another person gives a gift of the same sort and it bears great fruit and great benefit?”
“Yes, Sāriputta, there would be the case where a person gives a gift of a certain sort and it does not bear great fruit or great benefit, whereas another person gives a gift of the same sort and it bears great fruit and great benefit.”
“Lord, what is the cause, what is the reason, why a person gives a gift of a certain sort and it does not bear great fruit or great benefit, whereas another person gives a gift of the same sort and it bears great fruit and great benefit?”
“Sāriputta, there is the case where a person gives a gift seeking his own profit, with a mind attached (to the reward), seeking to store up for himself (with the thought), ‘I’ll enjoy this after death.’ He gives his gift—food, drink, clothing, a vehicle; a garland, perfume, & ointment; bedding, shelter, & a lamp—to a contemplative or a brahman. What do you think, Sāriputta? Might a person give such a gift as this?”
“Yes, lord.”
“Having given this gift seeking his own profit—with a mind attached (to the reward), seeking to store up for himself, (with the thought), ‘I’ll enjoy this after death’—on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Four Great Kings. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Then there is the case of a person who gives a gift not seeking his own profit, not with a mind attached (to the reward), not seeking to store up for himself, nor (with the thought), ‘I’ll enjoy this after death.’ Instead, he gives a gift with the thought, ‘Giving is good.’ He gives his gift—food, drink, clothing, a vehicle; a garland, perfume, & ointment; bedding, shelter, & a lamp—to a contemplative or a brahman. What do you think, Sāriputta? Might a person give such a gift as this?”
“Yes, lord.”
“Having given this gift with the thought, ‘Giving is good,’ on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Devas of the Thirty-three. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Or, instead of thinking, ‘Giving is good,’ he gives a gift with the thought, ‘This was given in the past, done in the past, by my father & grandfather. It would not be right for me to let this old family custom be discontinued’… on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Devas of the Hours. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Or, instead… he gives a gift with the thought, ‘I am well-off. These are not well-off. It would not be right for me, being well-off, not to give a gift to those who are not well-off’ … on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Contented Devas. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Or, instead… he gives a gift with the thought, ‘Just as there were the great sacrifices of the sages of the past—Aṭṭhaka, Vāmaka, Vāmadeva, Vessāmitta, Yamadaggi, Aṇgīrasa, Bhāradvāja, Vāseṭṭha, Kassapa, & Bhagu—in the same way will this be my distribution of gifts’ … on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Devas who Delight in Creation. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Or, instead… he gives a gift with the thought, ‘When this gift of mine is given, it makes the mind serene. Gratification & joy arise’ … on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of the Devas Wielding power over the creations of others. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a returner, coming back to this world.
“Or, instead of thinking, ‘When this gift of mine is given, it makes the mind serene. Gratification & joy arise,’ he gives a gift with the thought, ‘This is an ornament for the mind, a support for the mind.’ He gives his gift—food, drink, clothing, a vehicle; a garland, perfume, & ointment; bedding, shelter, & a lamp—to a contemplative or a brahman. What do you think, Sāriputta? Might a person give such a gift as this?”
“Yes, lord.”
“Having given this, not seeking his own profit, not with a mind attached (to the reward), not seeking to store up for himself, nor (with the thought), ‘I’ll enjoy this after death,’
—nor with the thought, ‘Giving is good,’
—nor with the thought, ‘This was given in the past, done in the past, by my father & grandfather. It would not be right for me to let this old family custom be discontinued,’
—nor with the thought, ‘I am well-off. These are not well-off. It would not be right for me, being well-off, not to give a gift to those who are not well-off,’
—nor with the thought, ‘Just as there were the great sacrifices of the sages of the past—Aṭṭhaka, Vāmaka, Vāmadeva, Vessāmitta, Yamadaggi, Aṇgīrasa, Bhāradvāja, Vāseṭṭha, Kassapa, & Bhagu—in the same way this will be my distribution of gifts,’
—nor with the thought, ‘When this gift of mine is given, it makes the mind serene. Gratification & joy arise,’
—but with the thought, ‘This is an ornament for the mind, a support for the mind’—on the break-up of the body, after death, he reappears in the company of Brahmā’s Retinue. Then, having exhausted that action, that power, that status, that sovereignty, he is a non-returner. He does not come back to this world.
“This, Sāriputta, is the cause, this is the reason, why a person gives a gift of a certain sort and it does not bear great fruit or great benefit, whereas another person gives a gift of the same sort and it bears great fruit and great benefit.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตจัมปานคร ครั้งนั้น อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ภันเต ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้ฟังเมื่อนานมาแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมขอได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ต่อมาถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต มีไหมหนอ ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และมีไหมหนอ ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก.
สารีบุตร ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก มีอยู่และทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก และมีอานิสงส์มากก็มีอยู่.
ภันเต อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยที่ทำให้ ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยที่ทำให้ ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในกรณีนี้ พึงให้ทานอย่างนี้ใช่ไหม.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
สารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ให้ทานโดยมีความหวังผล ให้ทานโดยมีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยมุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ เขาให้ทานอย่างนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ แต่เขาให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) … ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี แต่เขาให้ทานโดยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) … ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ให้ทานโดยไม่คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่เขาให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) … ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ให้ทานโดยไม่คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร แต่เขาให้ทานโดยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) … ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ให้ทานโดยไม่คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คืออัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี ภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว แต่เขาให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ … เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ให้ทานโดยไม่คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คืออัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี ภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว ให้ทานโดยไม่คิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่เขาให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต เป็นบริขารของจิต (จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ) เขาจึงให้ทาน คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในกรณีนี้ พึงให้ทานอย่างนี้ใช่ไหม.
เป็นอย่างนั้น ภันเต.
สารีบุตร ในการให้ทานนั้น ให้ทานโดยไม่มีความหวังผล ให้ทานโดยไม่มีจิตผูกพันในผล ให้ทานโดยไม่มุ่งการสั่งสม (บุญ) ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลของทานนี้ ให้ทานโดยไม่คิดว่า การให้ทานเป็นการดี ให้ทานโดยไม่คิดว่า บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราหุงหากิน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหา ไม่สมควร ให้ทานโดยไม่คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คืออัฏฐกฤาษี … ภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว ให้ทานโดยไม่คิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่เขาให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต เป็นบริขารของจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว ภายหลังจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมกายิกา ครั้นเขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.
สารีบุตร นี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และนี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้ทานที่บุคคลบางคนในกรณีนี้ ให้แล้วเช่นนั้น มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๖๐/๔๙.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//60
https://etipitaka.com/read/pali/23/60/