The benefits of hearing the teaching and examining the meaning at the right time.
English translation by Bhikkhu Sujato
Now at that time Venerable Phagguṇa was sick, suffering, gravely ill. Then Venerable Ānanda went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
“Sir, Venerable Phagguṇa is sick. Sir, please go to Venerable Phagguṇa out of compassion.” The Buddha consented in silence.
Then in the late afternoon, the Buddha came out of retreat and went to Venerable Phagguṇa. Venerable Phagguṇa saw the Buddha coming off in the distance and tried to rise on his cot.
The Buddha said to him, “It’s all right, Phagguṇa, don’t get up. There are some seats spread out by others, I will sit there.”
He sat on the seat spread out and said to Venerable Phagguṇa: “I hope you’re keeping well, Phagguṇa; I hope you’re alright. And I hope the pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“Sir, I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading.
The winds piercing my head are so severe, it feels like a strong man drilling into my head with a sharp point. I’m not keeping well.
The pain in my head is so severe, it feels like a strong man tightening a tough leather strap around my head. I’m not keeping well.
The winds piercing my belly are so severe, it feels like a deft butcher or their apprentice is slicing my belly open with a meat cleaver. I’m not keeping well.
The burning in my body is so severe, it feels like two strong men grabbing a weaker man by the arms to burn and scorch him on a pit of glowing coals. I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading.”
Then the Buddha educated, encouraged, fired up, and inspired Venerable Phagguṇa with a Dhamma talk, after which he got up from his seat and left.
Not long after the Buddha left, Venerable Phagguṇa passed away. At the time of his death, his faculties were bright and clear. Then Venerable Ānanda went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him, “Sir, soon after the Buddha left, Venerable Phagguṇa died. At the time of his death, his faculties were bright and clear.”
“And why shouldn’t his faculties be bright and clear? The mendicant Phagguṇa’s mind was not freed from the five lower fetters. But when he heard that teaching his mind was freed from them.
Ānanda, there are these six benefits to hearing the teaching at the right time and examining the meaning at the right time. What six?
Firstly, take the case of a mendicant whose mind is not freed from the five lower fetters. At the time of death they get to see the Realized One. The Realized One teaches them Dhamma that’s good in the beginning, good in the middle, and good in the end, meaningful and well-phrased. And he reveals a spiritual practice that’s entirely full and pure. When they hear that teaching their mind is freed from the five lower fetters. This is the first benefit of listening to the teaching.
Next, take the case of another mendicant whose mind is not freed from the five lower fetters. At the time of death they don’t get to see the Realized One, but they get to see a Realized One’s disciple. The Realized One’s disciple teaches them Dhamma … When they hear that teaching their mind is freed from the five lower fetters. This is the second benefit of listening to the teaching.
Next, take the case of another mendicant whose mind is not freed from the five lower fetters. At the time of death they don’t get to see the Realized One, or to see a Realized One’s disciple. But they think about and consider the teaching in their heart, examining it with the mind as they learned and memorized it. As they do so their mind is freed from the five lower fetters. This is the third benefit of listening to the teaching.
Next, take the case of a mendicant whose mind is freed from the five lower fetters, but not with the supreme ending of attachments. At the time of death they get to see the Realized One. The Realized One teaches them Dhamma … When they hear that teaching their mind is freed with the supreme ending of attachments. This is the fourth benefit of listening to the teaching.
Next, take the case of another mendicant whose mind is freed from the five lower fetters, but not with the supreme ending of attachments. At the time of death they don’t get to see the Realized One, but they get to see a Realized One’s disciple. The Realized One’s disciple teaches them Dhamma … When they hear that teaching their mind is freed with the supreme ending of attachments. This is the fifth benefit of listening to the teaching.
Next, take the case of another mendicant whose mind is freed from the five lower fetters, but not with the supreme ending of attachments. At the time of death they don’t get to see the Realized One, or to see a Realized One’s disciple. But they think about and consider the teaching in their heart, examining it with the mind as they learned and memorized it. As they do so their mind is freed with the supreme ending of attachments. This is the sixth benefit of listening to the teaching.
These are the six benefits to hearing the teaching at the right time and examining the meaning at the right time.”
ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งในที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลว่า ภันเต ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า
อย่าเลย ผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ที่เขาได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า ผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบ หรือปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ.
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย ภันเต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คม ฉันใด ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฆ่าโค หรือลูกมือของเขาซึ่งเป็นคนขยัน พึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง แล้วพึงลน ย่าง บนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงท่านพระผัคคุณะ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้
อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้นผ่องใสยิ่งนัก.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ภันต เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.
อานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควรมี ๖ ประการเหล่านี้ ๖ ประการอะไรบ้าง คือ
อานนท์ จิตของภิกษุในกรณีนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต แต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา เมื่อเธอตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ จิตของภิกษุในกรณีนี้ ได้หลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุได้หลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต แต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุได้หลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา เมื่อเธอตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.
อานนท์ เหล่านี้แล อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยการอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการ.
-บาลี ฉกฺก. อํ. 22/424/327.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//424
https://etipitaka.com/read/pali/22/424