The reasons for achieving the four kinds of textual analysis.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, a mendicant with seven qualities will soon realize the four kinds of textual analysis and live having achieved them with their own insight. What seven?
It’s when a mendicant truly understands: ‘This is mental sluggishness’.
They truly understand internally constricted mind as ‘internally constricted mind’.
They truly understand externally scattered mind as ‘externally scattered mind’.
They know feelings as they arise, as they remain, and as they go away.
They know perceptions as they arise, as they remain, and as they go away.
They know thoughts as they arise, as they remain, and as they go away.
The patterns of qualities—suitable or unsuitable, inferior or superior, or those on the side of dark or bright—are properly grasped, attended, borne in mind, and comprehended with wisdom.
A mendicant with these seven qualities will soon realize the four kinds of textual analysis and live having achieved them with their own insight.”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔1 ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ได้ต่อการไม่นานเลย ธรรม ๗ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุในกรณีนี้
๑) เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเรานี้หดหู่.
๒) เมื่อจิตท้อแท้ในภายใน ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราท้อแท้ในภายใน.
๓) เมื่อจิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราฟุ้งซ่านไปในภายนอก.
๔) เวทนาเกิดขึ้น ก็รู้แจ้ง (เวทนา) ตั้งอยู่ก็รู้แจ้ง (เวทนา) ดับไปก็รู้แจ้ง.
๕) สัญญาเกิดขึ้น ก็รู้แจ้ง (สัญญา) ตั้งอยู่ก็รู้แจ้ง (สัญญา) ดับไปก็รู้แจ้ง.
๖) วิตกทั้งหลายเกิดขึ้น ก็รู้แจ้ง (วิตกทั้งหลาย) ตั้งอยู่ก็รู้แจ้ง (วิตกทั้งหลาย) ดับไปก็รู้แจ้ง
๗) ลักษณะของธรรมทั้งหลาย ที่สัปปายะและไม่สัปปายะ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำและส่วนขาว (เสมอกัน) อันภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ได้ต่อกาลไม่นานเลย.
-บาลี สตฺตก. อํ. 23/33/35.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//33
https://etipitaka.com/read/pali/23/33
1 ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร) ธรรมปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้.) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด.) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. **จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หรืออีกความหมาย คือ อตฺถ ํ การวิเคราะห์อรรถหรือความหมาย; ธมฺม ํ การวิเคราะห์เหตุผลหรือความเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน; นิรุตฺติ ํ การวิเคราะห์ความหมายของศัพท์หรือนิยาม; ปฏิภาน ํ ปัญญาอันแตกฉานต่อสิ่งที่รู้ได้ตามกรรมวิธี 3 ประการที่กล่าวข้างต้น