Sentient beings roaming and transmigrating have no known beginning. (1)
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Then a mendicant went up to the Buddha … and asked him, “Sir, how long is an eon?”
“Mendicant, an eon is long. It’s not easy to calculate how many years, how many hundreds or thousands or hundreds of thousands of years it lasts.”
“But sir, is it possible to give a simile?”
“It’s possible,” said the Buddha.
“Suppose there was an iron city, a league long, a league wide, and a league high, full of mustard seeds pressed into balls. And as each century passed someone would remove a single mustard seed. By this means the huge heap of mustard seeds would be used up before the eon comes to an end. That’s how long an eon is. And we’ve transmigrated through many such eons, many hundreds, many thousands, many hundreds of thousands.
Why is that? Transmigration has no known beginning. No first point is found of sentient beings roaming and transmigrating, hindered by ignorance and fettered by craving. For such a long time you have undergone suffering, agony, and disaster, swelling the cemeteries. This is quite enough for you to become disillusioned, dispassionate, and freed regarding all conditions.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ … แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต กัปหนึ่งนานเท่าไหร่หนอ.
ภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.
ภันเต ก็พระองค์สามารถจะอุปมาได้ไหม.
สามารถจะอุปมาได้ ภิกษุ ภิกษุ เปรียบเหมือนนครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดออกจากนครนั้นโดยล่วงไป ๑๐๐ ปีต่อ ๑ เมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปหนึ่งนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ภิกษุ เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยความทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/216/431.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//216
https://etipitaka.com/read/pali/16/216