If you behave correctly, whether expecting results or not, you will inevitably receive consequences.
English translation by Bhikkhu Sujato
…Then after the meal, on his return from almsround, Bhūmija went to the Buddha, bowed, sat down to one side, and told him all that had happened, adding: “Answering this way, I trust that I repeated what the Buddha has said, and didn’t misrepresent him with an untruth. I trust my explanation was in line with the teaching, and that there are no legitimate grounds for rebuke or criticism.”
“Indeed, Bhūmija, in answering this way you repeated what I’ve said, and didn’t misrepresent me with an untruth. Your explanation was in line with the teaching, and there are no legitimate grounds for rebuke or criticism.
There are some ascetics and brahmins who have wrong view, wrong thought, wrong speech, wrong action, wrong livelihood, wrong effort, wrong mindfulness, and wrong immersion. If they lead the spiritual life, they can’t win the fruit, regardless of whether they make a wish, they don’t make a wish, they both do and do not make a wish, or they neither do nor don’t make a wish. Why is that? Because that’s an irrational way to win the fruit.
Suppose there was a person in need of oil. While wandering in search of oil, they tried heaping sand in a bucket, sprinkling it thoroughly with water, and pressing it out. But by doing this, they couldn’t extract any oil, regardless of whether they made a wish, didn’t make a wish, both did and did not make a wish, or neither did nor did not make a wish. Why is that? Because that’s an irrational way to extract oil.
And so it is for any ascetics and brahmins who have wrong view, wrong thought, wrong speech, wrong action, wrong livelihood, wrong effort, wrong mindfulness, and wrong immersion. If they lead the spiritual life, they can’t win the fruit, regardless of whether or not they make a wish. Why is that? Because that’s an irrational way to win the fruit …
…There are some ascetics and brahmins who have right view, right thought, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, and right immersion. If they lead the spiritual life, they can win the fruit, regardless of whether they make a wish, they don’t make a wish, they both do and do not make a wish, or they neither do nor do not make a wish. Why is that? Because that’s a rational way to win the fruit.
Suppose there was a person in need of oil. While wandering in search of oil, they tried heaping sesame flour in a bucket, sprinkling it thoroughly with water, and pressing it out. By doing this, they could extract oil, regardless of whether they made a wish, didn’t make a wish, both did and did not make a wish, or neither did nor did not make a wish. Why is that? Because that’s a rational way to extract oil.
And so it is for any ascetics and brahmins who have right view … Because that’s a rational way to win the fruit.
Suppose there was a person in need of milk. While wandering in search of milk, they tried pulling the udder of a newly-calved cow. By doing this, they could get milk, regardless of whether they made a wish, didn’t make a wish, both did and did not make a wish, or neither did nor did not make a wish. Why is that? Because that’s a rational way to get milk.
And so it is for any ascetics and brahmins who have right view … Because that’s a rational way to win the fruit.
Suppose there was a person in need of butter. While wandering in search of butter, they tried pouring curds into a pot and churning them with a stick. By doing this, they could produce butter, regardless of whether they made a wish, didn’t make a wish, both did and did not make a wish, or neither did nor did not make a wish. Why is that? Because that’s a rational way to produce butter.
And so it is for any ascetics and brahmins who have right view … Because that’s a rational way to win the fruit…
… ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ภันเต ข้าพระองค์ขอกราบทูลให้ทราบ เมื่อเช้านี้ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของพระราชกุมารชยเสนะ แล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้เข้ามาหาข้าพระองค์แล้ว ได้ตรัสทักทายปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่งกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า.
ข้าแต่ท่านภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีคำกล่าวอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ในเรื่องนี้ ศาสดาของท่านภูมิชะมีคำกล่าวอย่างไร มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร.
ภันเต เมื่อพระราชกุมารรับสั่งแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ราชกุมาร เรื่องนี้เราไม่ได้ฟังมา ไม่ได้รับมาต่อหน้าพระผู้มีพระภาคเลย แต่ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้เป็นได้ คือ พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็ไม่ใช่ ความไม่หวังก็ไม่ใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล แต่ถ้าแม้เขาทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาจะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้เ่ขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็ไม่ใช่ความไม่หวังก็ไม่ใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ราชกุมาร เรื่องนี้เราไม่ได้ฟังมา ไม่ได้รับมาต่อหน้าพระผู้มีพระภาคเลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.
พระราชกุมารชยเสนะรับสั่งว่า ถ้าศาสดาของท่านภูมิชะมีคำกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ บอกไว้อย่างนี้ ศาสดาของท่านภูมิชะ ชะรอยจะดำรงอยู่เหนือหัวของสมณพราหมณ์จำนวนมากทั้งมวลโดยแท้.
ภันเต ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อตอบอย่างนี้ จะเป็นผู้กล่าวตามถ้อยคำของพระผู้มีพระภาค ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยถ้อยคำที่ไม่จริง เป็นการตอบปัญหาธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่กลายเป็นผู้ควรถูกตำหนิไปด้วยหรือ.
เหมาะแล้ว ภูมิชะ เมื่อเธอถูกถามอย่างนั้น แล้วตอบอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้กล่าวตามถ้อยคำของเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ไม่จริง เป็นการตอบปัญหาธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่กลายเป็นผู้ควรถูกตำหนิไปด้วย
ภูมิชะ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ถ้าแม้เขาทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็ไม่ใช่ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเขาจะไม่สามารถบรรลุผลได้โดยอุบายที่ไม่แยบคาย.
ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยวเสาะหาน้ำมันอยู่ เขาเกลี่ยทรายลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป ถ้าแม้เขาทำความหวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ไม่ได้น้ำมัน ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ไม่ได้น้ำมัน ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วเกลี่ยทรายลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ไม่ได้น้ำมัน ถ้าทำความหวังก็ไม่ใช่ ทำความไม่หวังก็ไม่ใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ไม่ได้น้ำมัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเขาจะไม่สามารถได้น้ำมันโดยวิธีการที่ไม่แยบคาย.
ภูมิชะ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ถ้าแม้เขาทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็ไม่ใช่ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถบรรลุผล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเขาจะไม่สามารถบรรลุผลได้โดยอุบายที่ไม่แยบคาย. …
(ทรงให้อุปมาโดยทำนองนี้อีก ๓ ข้อ คือ บุรุษผู้ต้องการน้ำนม แต่รีดเอาจากเขาของแม่โคลูกอ่อน บุรุษผู้ต้องการเนยข้น แต่กวนจากน้ำ บุรุษผู้ต้องการไฟ แต่สีไฟจากไม้สดชุ่มด้วยยาง ก็ย่อมไม่ได้ผลตามที่ตนต้องการ แม้จะทำความหวังหรือความไม่หวังก็ตาม ผลนั้นๆ ก็ย่อมมีไม่ได้ เพราะมีการกระทำที่ไม่ถูกต้อง).
… ภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ถ้าแม้เขาทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายที่แยบคาย.
ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยวเสาะหาน้ำมันอยู่ เขาเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป แม้เขาทำความหวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ต้องได้น้ำมัน ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ต้องได้น้ำมัน ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ต้องได้น้ำมัน ถ้าแม้เขาทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป เขาก็ต้องได้น้ำมัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเหตุแห่งการได้น้ำมันนั้น เป็นสิ่งที่บุรุษนั้นได้ทำแล้วโดยวิธีการที่แยบคาย.
ภูมิชะ ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ถ้าแม้เขาทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้เขาทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายที่แยบคาย.
(ทรงให้อุปมาโดยทำนองนี้อีก ๓ ข้อ คือบุรุษผู้ต้องการน้ำนม รีดน้ำนมจากแม่โคลูกอ่อน บุรุษผู้ต้องการเนยข้น กวนเนยจากนมที่หมักเป็นเยื่อแล้ว บุรุษผู้ต้องการไฟ สีไฟจากไม้แห้ง ก็ย่อมได้ผลตามที่ตนต้องการ แม้จะทำความหวังหรือความไม่หวังก็ตาม ผลนั้นๆ ก็ย่อมมีให้เอง เพราะมีการกระทำที่ถูกต้องไปแล้ว).
-บาลี อุปริ. ม. 14/279/414.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14//279
https://etipitaka.com/read/pali/14/279/