A person who is in the vicinity of nibbāna.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, a mendicant who has four qualities can’t decline, and has drawn near to extinguishment. What four? A mendicant is accomplished in ethics, guards the sense doors, eats in moderation, and is dedicated to wakefulness.
And how is a mendicant accomplished in ethics? It’s when a mendicant is ethical, restrained in the monastic code, conducting themselves well and seeking alms in suitable places. Seeing danger in the slightest fault, they keep the rules they’ve undertaken. That’s how a mendicant is accomplished in ethics.
And how does a mendicant guard the sense doors? When a mendicant sees a sight with their eyes, they don’t get caught up in the features and details. If the faculty of sight were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, they practice restraint, protecting the faculty of sight, and achieving restraint over it. Hearing a sound with their ears … Smelling an odor with their nose … Tasting a flavor with their tongue … Feeling a touch with their body … Knowing a thought with their mind, they don’t get caught up in the features and details. If the faculty of mind were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, they practice restraint, protecting the faculty of mind, and achieving restraint over it. That’s how a mendicant guards the sense doors.
And how does a mendicant eat in moderation? It’s when a mendicant reflects properly on the food that they eat: ‘Not for fun, indulgence, adornment, or decoration, but only to sustain this body, to avoid harm, and to support spiritual practice. In this way, I shall put an end to old discomfort and not give rise to new discomfort, and I will live blamelessly and at ease.’ That’s how a mendicant eats in moderation.
And how is a mendicant dedicated to wakefulness? It’s when a mendicant practices walking and sitting meditation by day, purifying their mind from obstacles. In the evening, they continue to practice walking and sitting meditation. In the middle of the night, they lie down in the lion’s posture—on the right side, placing one foot on top of the other—mindful and aware, and focused on the time of getting up. In the last part of the night, they get up and continue to practice walking and sitting meditation, purifying their mind from obstacles. This is how a mendicant is dedicated to wakefulness. A mendicant who has these four qualities can’t decline, and has drawn near to extinguishment.
Established in ethics,
restrained in the sense faculties,
eating in moderation,
and dedicated to wakefulness;
a mendicant lives like this, with keen energy,
tireless all night and day,
developing skillful qualities,
for the sake of finding sanctuary.
A mendicant who loves to be diligent,
seeing fear in negligence,
can’t decline,
and has drawn near to extinguishment.”
English translation by Bhikkhu Bodhi
“Bhikkhus, a bhikkhu who possesses four qualities is incapable of decline and is in the vicinity of nibbāna. What four? Here, a bhikkhu is accomplished in virtuous behavior, guards the doors of the sense faculties, observes moderation in eating, and is intent on wakefulness.
(1) “And how is a bhikkhu accomplished in virtuous behavior? Here, a bhikkhu is virtuous; he dwells restrained by the Pātimokkha, possessed of good conduct and resort, seeing danger in minute faults. Having undertaken the training rules, he trains in them. It is in this way that a bhikkhu is accomplished in virtuous behavior.
(2) “And how does a bhikkhu guard the doors of the sense faculties? Here, having seen a form with the eye, a bhikkhu does not grasp its marks and features. Since, if he left the eye faculty unrestrained, bad unwholesome states of longing and dejection might invade him, he practices restraint over it; he guards the eye faculty, he undertakes the restraint of the eye faculty. Having heard a sound with the ear … Having smelled an odor with the nose … Having tasted a taste with the tongue … Having felt a tactile object with the body … Having cognized a mental phenomenon with the mind, a bhikkhu does not grasp its marks and features. Since, if he left the mind faculty unrestrained, bad unwholesome states of longing and dejection might invade him, he practices restraint over it; he guards the mind faculty, he undertakes the restraint of the mind faculty. It is in this way that a bhikkhu guards the doors of the sense faculties.
(3) “And how does a bhikkhu observe moderation in eating? Here, reflecting carefully, a bhikkhu consumes food neither for amusement nor for intoxication nor for the sake of physical beauty and attractiveness, but only for the support and maintenance of this body, for avoiding harm, and for assisting the spiritual life, considering: ‘Thus I shall terminate the old feeling and not arouse a new feeling, and I shall be healthy and blameless and dwell at ease.’ It is in this way that a bhikkhu observes moderation in eating.
(4) “And how is a bhikkhu intent on wakefulness? Here, during the day, while walking back and forth and sitting, a bhikkhu purifies his mind of obstructive qualities. In the first watch of the night, while walking back and forth and sitting, he purifies his mind of obstructive qualities. In the middle watch of the night he lies down on the right side in the lion’s posture, with one foot overlapping the other, mindful and clearly comprehending, after noting in his mind the idea of rising. After rising, in the last watch of the night, while walking back and forth and sitting, he purifies his mind of obstructive qualities. It is in this way that a bhikkhu is intent on wakefulness.
“A bhikkhu who possesses these four qualities is incapable of decline and is in the vicinity of nibbāna.”
Established in virtuous behavior,
restrained in the sense faculties,
moderate in eating,
intent on wakefulness:
a bhikkhu dwells thus ardently,
unwearying by day and night,
developing wholesome qualities
to attain security from bondage.
A bhikkhu who delights in heedfulness,
seeing the danger in heedlessness,
is incapable of decline:
he is close to nibbāna.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ไม่อาจจะเสื่อมเสีย ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้
๑) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
๒) เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๓) เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
๔) เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือตา ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ภิกษุในกรณีนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือหู ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือหู ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือหู ภิกษุในกรณีนี้ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจมูก ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือจมูก ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจมูก ภิกษุในกรณีนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือลิ้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือลิ้น ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือลิ้น ภิกษุในกรณีนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือกาย ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือกาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือกาย ภิกษุในกรณีนี้ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือใจ ถึงความสำรวมอินทรีย์คือใจ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคอาหาร มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อประเทืองผิว มิใช่เพื่อจะตกแต่ง แต่บริโภคเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยหวังว่า จักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ทำเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ ความที่ร่างกายไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจักมีแก่เรา ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ตลอดทั้งวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยาม (ยามต้น) แห่งราตรี ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดมัชฌิมยาม (ยามกลาง) แห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยตะแคงช้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้น ตลอดปัจฉิมยาม (ยามปลาย) แห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ไม่อาจจะเสื่อมเสีย ชื่อว่าย่อมอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว.
ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ และย่อมประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่.
ภิกษุผู้มีปกติทำความเพียรอยู่อย่างนี้
ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อถึงความเกษมจากโยคะ.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่อาจถึงความเสื่อม
ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/50/37.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//50,
https://etipitaka.com/read/pali/21/50